ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:สันนิษฐานว่าคนอื่นสุจริตใจ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แทนที่เนื้อหาด้วย "== ดูเพิ่ม"
ป้ายระบุ: ถูกแทน แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Wiki13 (คุย | ส่วนร่วม)
revert (vandalism)
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 1:
{{เว็บย่อวิกิ|WP:AGF}}
== ดูเพิ่ม
{{แนวปฏิบัติ}}
{{กล่องแนวปฏิบัติ}}
'''การสันนิษฐานว่าคนอื่นสุจริตใจ''' เป็นหลักการพื้นฐานสำคัญของ[[วิกิพีเดีย]] มีใจความว่า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าการแก้ไขและความเห็นของผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมนั้นทำไปโดยสุจริตใจ คนส่วนใหญ่พยายามช่วยโครงการ มิใช่ทำลาย เพราะหากความคิดนี้ผิด โครงการอย่างวิกิพีเดียคงชะตาขาดตั้งแต่ต้นแล้ว แนวปฏิบัตินี้ไม่ได้กำหนดให้ผู้เขียนยังเชื่อว่าผู้ใดสุจริตใจ หากมีหลักฐานปรากฏชัดเจนว่าผู้นั้นมีเจตนาตรงกันข้าม (การก่อกวน) การเชื่อว่าผู้อื่นสุจริตใจนั้นไม่ได้ห้ามการอภิปรายและการวิพากษ์วิจารณ์ แต่ผู้เขียนไม่ควรถือเอาว่าพฤติการณ์เช่นว่าเป็นการปองร้าย (malice) เว้นแต่มีหลักฐานแสดงการปองร้ายชัดเจน
 
เมื่อเกิดความไม่ลงรอยขึ้น พยายามอย่างถึงที่สุดเท่าที่ความสามารถของคุณเอื้ออำนวยในการอธิบายและแก้ไขปัญหา มิใช่สร้างความขัดแย้งมากขึ้น และให้โอกาสผู้อื่นในการตอบอย่างเดียวกัน คิดเสียว่าข้อพิพาทนั้นเกิดจากมุมมองที่เห็นต่าง และมองหาหนทางที่นำไปสู่มติมหาชน (consensus)
 
เมื่อมีความข้องใจเรื่องความสุจริตใจ ให้คุณยังคงเชื่อว่าคนอื่นสุจริตใจตราบที่คุณทำได้ [[WP:CIVIL|ประพฤติเยี่ยงอารยชน]]และดำเนินตามกระบวนการแก้ไขข้อพิพาท แทนที่จะโจมตีผู้อื่นหรือกระโจนเข้าร่วม[[WP:EW|สงครามแก้ไข]]กับเขาด้วย หากคุณต้องการแสดงความข้องใจในพฤติกรรมของสมาชิกวิกิพีเดียด้วยกัน โปรดพิสูจน์ความข้องใจนั้นด้วยการแสดงความแตกต่างระหว่างรุ่น (diff) และหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องกันให้ชัดเจน เพื่อที่ผู้อื่นจะได้เข้าใจถึงรากฐานแห่งความข้องใจของคุณ แม้พฤติกรรมเลวร้ายอาจดูเหมือนว่าเป็นเพราะไม่สุจริตใจ แต่โดยปกติแล้วจะเป็นการดีที่จะเอ่ยถึงพฤติกรรมนั้นโดยไม่พาดพิงถึงแรงจูงใจ ซึ่งอาจทำให้ความขุ่นเคืองยิ่งทวีความเลวร้ายลงไปอีก
 
พึงระวังไม่อ้างหลักการนี้อย่างก้าวร้าวเกินไป ด้วยว่าผู้หนึ่งผู้ใดอาจตัดสินคนอื่นว่ามีพฤติการณ์ไม่สุจริตใจอย่างไม่ถูกต้องฉันใด ผู้หนึ่งผู้ใดก็อาจสรุปว่าคนหนึ่งสันนิษฐานอีกคนหนึ่งว่าไม่สุจริตใจได้ผิดฉันนั้น และการแนะนำอย่างจริงจังให้ "เชื่อว่าคนอื่นสุจริตใจ" ก็อาจสะท้อนการสันนิษฐานในแง่ลบต่อผู้อื่นหากการสันนิษฐานไม่สุจริตใจที่รับรู้นั้นไม่เป็นที่ชัดเจน
 
== การรับมือกับความไม่สุจริตใจ ==
แม้เมื่อมีหลักฐานแสดงความไม่สุจริตใจอย่างชัดเจน อย่าประพฤติเยี่ยงอนารยชนตอบ โจมตีผู้อื่น หรือสูญเสียความสงบเยือกเย็น เพราะท้ายที่สุดจะง่ายกว่ามากสำหรับผู้อื่นในการแก้ไขข้อพิพาทและมองเห็นว่าใครเป็นผู้ละเมิดนโยบาย หากมีฝ่ายหนึ่งประพฤติตนอย่างเหมาะสมตลอดเวลา
 
[[WP:ADMIN|ผู้ดูแลระบบวิกิพีเดีย]]และผู้เขียนมากประสบการณ์คนอื่นที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขข้อพิพาทล้วนยินดีจะช่วยเหลือ และสามารถอย่างยิ่งในการระบุพฤติกรรมที่ละเมิดนโยบายหากพวกเขาได้เห็นหลักฐานที่ชัดเจนและชี้เฉพาะ
 
=== การกล่าวหาว่าผู้อื่นไม่สุจริตใจ ===
แม้สันนิษฐานว่าคนอื่นสุจริตใจจะกำกับโดยนโยบายวิกิพีเดีย แต่ก็ไม่มีนโยบายร่วมกันที่กำหนดให้ผู้เขียนต้องประพฤติตนสุจริตใจดังนั้น การกล่าวหาว่าผู้อื่นไม่สุจริตใจจึงไม่มีประโยชน์อะไรเลย การกล่าวโทษนี้ยังเร้าโทสะและอาจทำให้ข้อพิพาทนั้นเลวร้ายลงไปอีก นอกจากนี้ยังอาจถูกมองว่าเป็นการโจมตีต่อส่วนตัวได้ หากมีการกล่าวหาแรงจูงใจความไม่สุจริตใจโดยปราศจากหลักฐานชัดเจนว่าการกระทำของผู้อื่นนั้นไม่สุจริตใจและก่อกวนหากทำหลายครั้ง ผลคือ บ่อยครั้งที่การกล่าวหาว่าผู้อื่นไม่สุจริตใจนั้นคุณเป็นผู้ริเริ่มเสียเอง ซึ่งมีแนวโน้มสร้างวัฏจักรอันไม่น่าพอใจ
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[วิกิพีเดีย:มารยาทในวิกิพีเดีย]]
* [[วิกิพีเดีย:โปรดอย่ากัดผู้ใช้ใหม่]]
 
{{นโยบายและแนวปฏิบัติ}}
[[หมวดหมู่:แนวปฏิบัติวิกิพีเดีย]]
[[หมวดหมู่:ชุมชนวิกิพีเดีย]]
{{เรียงลำดับ|เชื่อว่าผู้อื่นมีเจตนาดี}}