ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาอรรถการประสิทธิ์ (วิลเลียม แอลเฟรด คุณะดิลก)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 23:
 
== ชีวิตในสยาม ==
ในปี พ.ศ. 2433 วิลเลียม แอลเฟรด คูเน-ติเลกี (เรียกโดยย่อว่า ติเลกี) ได้เดินทางมายังประเทศสยาม รับว่าความคดีต่างๆ ในประเทศจนถึงปี พ.ศ. 2437 เขาได้รับการยอมรับร่วมกับหลวงดำรงธรรมสาร (มี ธรรมาชีวะ) นักกฎหมายชาวสยาม จากความสำเร็จในการว่าความให้แก่[[พระยอดเมืองขวาง (ขำ ยอดเพชร)]] เจ้าเมืองคำม่วน ซึ่งตกเป็นจำเลยในคดีสังหารนายทหารชาวฝรั่งเศสระหว่างเกิด[[วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112]]<ref name="Loos-2006">{{Cite book |first=Tamara|last=Loos |title=Subject Siam: Family, Law, and Colonial Modernity in Thailand |publisher=Cornell University Press |year=2006}}</ref>{{RP|60}}<ref name="auto">{{Cite book |author=Henry Norman |title=The Peoples and Politics of the Far East |publisher=Charles Scribners Sons |year=1895 |page=481}}</ref> ท่ามกลางการเผชิญแรงกดดันจากลัทธิล่าอาณานิคมฝรั่งเศสและก่อนที่ศาลฝ่ายฝรั่งเศสจะเข้ามาจัดการคดีดังกล่าวที่สยาม ติเลกีได้ว่าความปกป้องพระยอดเมืองขวางจนสามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ได้ คณะผู้พิพากษาทั้ง 7 คนจึงมีคำพิพากษาว่าพระยอดเมืองขวางไม่มีความผิดในคดีนี้<ref name="auto"/> ต่อมาในปี พ.ศ. 2439 เขาจึงเข้ารับราชการใน[[สำนักงานอัยการสูงสุด (ประเทศไทย)|กรมอัยการ]]ของสยาม และในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ติเลกีก็ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาสยามผ่านการลงทุนในบริษัทรถราง บริษัทยางพารา และบริษัทอุตสาหกรรม เขายังเป็นเจ้าของบริษัทยางชื่อ Bagan Rubber Company ดำเนินการอยู่ใน[[รัฐกลันตัน]]<ref name="Loos-2006"/>{{RP|60}} ซึ่งเป็นหัวเมืองประเทศราชของสยามจนถึงปี พ.ศ. 2452
 
ในปี พ.ศ. 2445 ติเลกีได้ก่อตั้งสำนักงานกฎหมาย[[ตีเลกี & กิบบินส์]] เป็นบริษัทกฎหมายแห่งแรกของสยามและประเทศไทย และยังคงดำเนินกิจการจนถึงทุกวันนี้ โดยเป็นหุ้นส่วนร่วมกับราล์ฟ กิบบินส์ นักกฎหมายชาวอังกฤษซึ่งรับราชการเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายของ[[กระทรวงยุติธรรม (ประเทศไทย)|กระทรวงยุติธรรม]] (ภายหลังได้เป็นตุลาการศาลระหว่างประเทศในปี พ.ศ. 2459) เขายังได้ร่วมกับ จี.ดับเบิลยู. วอร์ด ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ "[[สยามออบเซอร์เวอร์]]" หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษฉบับแรกของประเทศสยาม นอกจากนี้ เขายังได้รับความไว้วางพระทัยจาก[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ให้เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายชาวต่างประเทศอีกด้วย<ref>{{cite web|url=http://www.ebooksread.com/authors-eng/arnold-wright/twentieth-century-impressions-of-siam-its-history-people-commerce-industries-hci/page-18-twentieth-century-impressions-of-siam-its-history-people-commerce-industries-hci.shtml|title=Read the eBook Twentieth century impressions of Siam: its history, people, commerce, industries, and resources, with which is incorporated an abridged edition of Twentieth century impressions of British Malaya by Arnold Wright online for free (page 18 of 107)|first=Denis Larionov & Alexander|last=Zhulin|accessdate=24 August 2016}}</ref> และยังได้มีส่วนร่วมในการร่างกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ซึ่งเป็น[[ประมวลกฎหมายอาญา]]ฉบับแรกของประเทศสยาม<ref>[http://www.museum.coj.go.th/malao/botbat.htm บทบาทของนักกฎหมายชาวต่างประเทศในยุคปฏิรูปกฎหมายและการศาลไทย] [The role of foreign lawyers in Thai legal and judiciary reforms], Court Museum of Thailand, retrieved 2 November 2018.</ref>