ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระมหาเทวีแห่งหงสาวดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 63:
ยิ่งพระอำนาจของพระยาอู่สั่นคลอน พระอำนาจของพระมหาเทวีก็ทวีขึ้น ครั้นอำมาตย์แพรจอ (Pun-So) อัครมหาเสนาบดีที่พระยาอู่ไว้พระทัย ถึงแก่กรรมใน ค.ศ. 1369 พระยาอู่ก็ทรงหันมาพึ่งพาคำแนะนำของพระมหาเทวีผู้เป็นพระเชษฐภคินี<ref name=npl-58-59>Pan Hla 2005: 58–59</ref> เหตุการณ์สำคัญ คือ เมื่อสมิงสามปราบ (Than-Byat) เจ้าเมืองกริบ (เมือง[[สิเรียม]] - Syriam) แปรพักตร์ พระมหาเทวีก็ทรงแนะให้ตีโต้ พระมหาเทวีทรงตั้งสมิงทะโยกคะราช (Yawga Rat) กับสมิงมะราหู ให้นำทัพข้ามแม่น้ำจากเมืองตะเกิงของพระนางเข้าไปยึดสิเรียมคืน การทัพครั้งนี้สำเร็จลุล่วงดังพระประสงค์ แต่พระยาอู่ก็ยังทรงตั้งมั่นอยู่ในพะโคต่อไป โดยทรงรอมชอมกับพระตะบะและสมิงเลิกพร้า ''[[พงศาวดารปากลัด]]'' (Pak Lat Chronicles) ระบุว่า พระยาอู่ทรงยอมมอบทองคำหนัก 16.33 กิโลกรัม พร้อมด้วยช้างสิบเชือก ให้แก่ทั้งสอง คนทั้งสองจึงยอมสวามิภักดิ์และกลับคืนเป็นข้าฝ่าละอองธุลีพระบาทของพระยาอู่แต่ในนาม<ref name=npl-66>Pan Hla 2005: 62–63, 66</ref>
 
อย่างไรก็ดี การเถลิงอำนาจของพระมหาเทวีนี้ไม่เป็นที่ยอมรับนับถือของคนทั้งปวง กลุ่มการเมืองในราชสำนักที่มี[[สมิงชีพราย]] อัครมหาเสนาบดี เป็นผู้นำ ต่อต้านพระนางอย่างลับ ๆ และสามปีให้หลัง พระนาง ในพระชนม์กว่า 50 ชันษา ก็ทรงถูกต่อต้านหนักขึ้น เมื่อทรงถูกกล่าวหาว่า เป็นชู้กับ[[สมิงมะราหู]] ผู้เป็นหลานเขยที่อ่อนวัยกว่าพระนางยิ่งนัก สมิงมะราหูผู้นี้เป็นสวามีของ[[ตละแม่ศรี]] (Tala Mi Thiri) พระธิดาของพระยาอู่ และพระนัดดาของพระนางเอง เมื่อข้อกล่าวหานี้แพร่สะพัด ผู้คนทั้งพระนครก็เย้ยหยันพระนาง พงศาวดารมอญ ''[[ราชาธิราช]]'' ยังบันทึกเพลงกลอนที่ชาวเมืองขับร้องเสียดสีพระนางเอาไว้<ref name=npl-67-68>Pan Hla 2005: 67–68</ref> ซึ่งราชาธิราชฉบับภาษาไทยได้ถอดความหมายไว้ว่า "นกสตือไซร้ขึ้นไข่ไว้ในต้นไม้อันคาอันซุ่ง อันสตรีแก่จะใคร่ได้สามีหนุ่ม ถันยุคลนั้นไซร้ยานลงถึงรั้งผ้า"<ref>[https://vajirayana.org/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A/%E0%B9%93 พระราชพงศาวดารรามัญ เรื่อง ราชาธิราช จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์บริการ พ.ศ. ๒๔๘๙ บทที่ ๓]</ref> เหตุการณ์ครั้งนี้เชื่อว่า เป็นที่มาของภาษิตมอญที่ว่า "นางนกยูงแก่ปีนขึ้นเค้าไม้ไปวางไข่ นางหญิงเฒ่าไร้ยางอายไปแย่งผัวชาวบ้าน" (The old peahen climbs up a tree to lay a clutch of eggs; the old woman brazenly steals another woman's husband.)<ref name=jf-5>Fernquest Spring 2006: 5</ref>
 
อย่างไรก็ดี พระยาอู่ก็ทรงยังไว้พระทัยในพระนางมิเสื่อมคลาย ทั้งทรงมอบอำนาจให้พระนางมากขึ้น ๆ ทุกปี ด้วยพระพลานามัยทรุดโทรมลงตามลำดับ<ref name=npl-68-69>Pan Hla 2005: 68–69</ref> แต่การงัดข้อกันเพื่อชิงอำนาจก็เป็นไปในทางรุนแรงขึ้นทุกขณะเช่นกัน หลายกลุ่มพากันหนุนพระนางและสมิงมะราหูมากขึ้น ๆ<ref name=npl-72>Pan Hla 2005: 72</ref> เป็นเหตุให้ที่สุดแล้วกลุ่มของพระนางก็มีอำนาจมั่นคงสถาพรขึ้นในต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1380 อันเป็นช่วงเวลาที่พระสุขภาพของพระยาอู่ถดถอยลงอย่างถึงที่สุด ฉะนั้น ใน ค.ศ. 1382 จึงปรากฏว่า พระมหาเทวีทรงได้ปกครองอาณาจักรหงสาวดีโดยพฤตินัยอยู่แล้ว<ref name=npl-81>Pan Hla 2005: 81</ref> ครั้น ค.ศ. 1383 [[พระยาน้อย]] ผู้เป็นพระโอรสของพระยาอู่ ทั้งเป็นพระนัดดาและโอรสบุญธรรมของพระนางเอง ก่อหวอดต่อต้านพระนาง<ref name=npl-82-83>Pan Hla 2005: 82–83</ref>