ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระมหาเทวีแห่งหงสาวดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{Infobox royalty
| type = regent
| name = พระมหาเทวีแห่งหงสาวดี<br /> မဟာဒေဝီ
| image =
| caption =
| reign = <small>ใน</small>วันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1383 – 4 มกราคม ค.ศ. 1384
| coronation =
| succession = [[รายพระนามพระมหากษัตริย์พม่า|อุปราชผู้สำเร็จราชการแห่งหงสาวดี]]
| predecessor = [[พระยาอู่]] <small>(ในฐานะกษัตริย์)</small>
| successor = [[พระเจ้าราชาธิราช]] <small>(ในฐานะกษัตริย์)</small>
| suc-type = ต่อไป
| reg-type = กษัตริย์
| regent = [[พระยาอู่]]
| reign1 = ค.ศ. 1364 – {{circa}} ค.ศ. 1392
| coronation1 =
| succession1 = เจ้าเมืองตะเกิง
| succession1 = ข้าหลวงแห่งย่างกุ้ง
| predecessor1 = พระตะเบิด
| successor1 = ?
| suc-type1 = ต่อไป
| spouse = {{marriage|พระตะเบิด|1348|1363|reason=พระองค์สวรรคต}} <br /> {{marriage|ไชยสุระ|1363|1364|reason=พระองค์สวรรคต}}
| issue = ไม่มีบุตร <br /> [[พระเจ้าราชาธิราช]] (บุตรบุญธรรม)
| issue-link =
| full name =
| house = [[อาณาจักรหงสาวดี|ฟ้ารั่ว]]
| father = [[พระเจ้ารามมะไตย]]
| mother = [[นางจันทะมังคะละ]]
| birth_date = <small>ในหรือก่อน</small> ค.ศ. 1322
| birth_place = [[เมาะตะมะ]], [[อาณาจักรหงสาวดี|อาณาจักรเมาะตะมะ]]
| death_date = {{circa}} ค.ศ. 1392 <br /> {{circa}} 754 [[Burmese calendar|ME]]
| death_place = ตะเกิง, [[อาณาจักรหงสาวดี]]
| date of burial =
| place of burial =
| religion = [[เถรวาท|พุทธเถรวาท]]
| signature =
}}
{{มีอักษรพม่า}}
บรรทัด 42:
 
==ต้นพระชนม์==
พระนางมีพระนามเมื่อแรกประสูติว่า "[[ชื่อบุคคลพม่า|เม้ย]]นะ" (မွေ့န - Mwei Na) เป็นพระธิดาของเจ้าหญิง[[จันทะมังคะละ]] (Sanda Min Hla) กับเจ้าชาย[[สอเซน]] (Saw Zein) พระมารดาและพระบิดาทรงเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน<ref name=npl-39>Pan Hla 2005: 39</ref> เมื่อประสูติแล้ว ทรงได้รับพระนามว่า "วิหารเทวี" (Wihara Dewi) เพราะมีพระประสูติการในขณะที่พระบิดาทรงสร้างพระวิหารถวายสงฆ์<ref name=npl-65>Pan Hla 2005: 65</ref> พระนางมีพระญาติร่วมพระบิดามารดา คือ เม้ยเน (Mwei Ne) พระเชษฐภคินี และ[[พระยาอู่]] (Binnya U) พระอนุชา<ref name=npl-40>Pan Hla 2005: 40</ref> เนื่องจากพระยาอู่ประสูติใน ค.ศ. 1323/24<ref name=npl-161>Pan Hla 2005: 161</ref> พระนางจึงน่าจะประสูติในหรือก่อน ค.ศ. 1322
 
หลังประสูติได้ไม่นาน พระบิดาก็ได้เถลิงถวัลยราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรหงสาวดี มีพระนามว่า [[พระยารามมะไตย]] (Binnya Ran De) มีเมืองหลวงอยู่ที่[[เมาะตะมะ]] ส่วนพระเชษฐภคินีก็สิ้นพระชนม์ พระนางจึงเป็นพระราชบุตรพระองค์โตที่สุดที่ยังดำรงพระชนม์อยู่ของพระยารามมะไตย พระองค์จึงประทานพระนาม "มหาเทวี" ให้แก่พระนาง อันเป็นพระนามซึ่งทรงเป็นที่รู้จักมาจนบัดนี้<ref name=npl-40/>
บรรทัด 53:
ครั้น ค.ศ. 1362 พระยาอู่ทรงขยาย[[เจดีย์ชเวดากอง]]ให้สูงขึ้นถึง 20 เมตรเพื่อเป็นพระราชกุศล<ref name=geh-112>Harvey 1925: 112</ref> แต่กลับเป็นช่วงสุดท้ายที่อาณาจักรจะอยู่สงบร่มเย็น เพราะในปีถัดมา คือ ค.ศ. 1363 พระยาอู่และราชบริพารเสด็จออกจากเมาะตะมะ กลุ่มการเมืองคู่แข่ง นำโดยเจ้าชาย[[พระตะบะ]] (Byattaba) ฉวยโอกาสเข้ายึดพระนครไว้ได้ และ[[สมิงเลิกพร้า]] (Laukpya) พระเชษฐาหรืออนุชาของพระตะบะ ก็ก่อกบฏในลุ่ม[[ดินดอนสามเหลี่ยมอิรวดี]] พระยาอู่จึงทรงตั้งบุญลาภ พระสวามีของพระมหาเทวี เป็นแม่ทัพนำกำลังไปกู้พระนคร แต่พระชายาของพระตะบะ กับ[[ตละแม่มะสำโร]] (Tala Mi Ma-Hsan) พระขนิษฐาร่วมพระมารดาหรือบิดาของพระมหาเทวี ทรงร่วมมือกันวางยาพิษฆ่าบุญลาภเป็นผลสำเร็จในช่วงเจรจาหย่าศึก<ref name=npl-53>Pan Hla 2005: 53</ref>
 
พระมหาเทวีไม่ทรงมีเวลาอาลัยพระสวามีมากนัก ด้วยพระยาอู่โปรดให้เสกสมรสกับ[[ไชยสุระ]] (Zeya Thura) เจ้าเมือง[[Hmawbi Township|มอบี]] (Hmawbi)]] ทันที แล้วโปรดให้ไชยสุระเป็นผู้บัญชาการทหารคนใหม่ยกกำลังไปยึดเมาะตะมะอีกครั้ง แต่ไชยสุระถูกสังหารกลางสมรภูมิ พระยาอู่จึงทรงตั้งพระมหาเทวีขึ้นเป็นเจ้าเมืองตะเกิง<ref name=npl-54>Pan Hla 2005: 54</ref>
 
==เจ้าเมืองตะเกิง==
บรรทัด 63:
ยิ่งพระอำนาจของพระยาอู่สั่นคลอน พระอำนาจของพระมหาเทวีก็ทวีขึ้น ครั้นอำมาตย์แพรจอ (Pun-So) อัครมหาเสนาบดีที่พระยาอู่ไว้พระทัย ถึงแก่กรรมใน ค.ศ. 1369 พระยาอู่ก็ทรงหันมาพึ่งพาคำแนะนำของพระมหาเทวีผู้เป็นพระเชษฐภคินี<ref name=npl-58-59>Pan Hla 2005: 58–59</ref> เหตุการณ์สำคัญ คือ เมื่อสมิงสามปราบ (Than-Byat) เจ้าเมืองกริบ (เมือง[[สิเรียม]] - Syriam) แปรพักตร์ พระมหาเทวีก็ทรงแนะให้ตีโต้ พระมหาเทวีทรงตั้งสมิงทะโยกคะราช (Yawga Rat) กับสมิงมะราหู ให้นำทัพข้ามแม่น้ำจากเมืองตะเกิงของพระนางเข้าไปยึดสิเรียมคืน การทัพครั้งนี้สำเร็จลุล่วงดังพระประสงค์ แต่พระยาอู่ก็ยังทรงตั้งมั่นอยู่ในพะโคต่อไป โดยทรงรอมชอมกับพระตะบะและสมิงเลิกพร้า ''[[พงศาวดารปากลัด]]'' (Pak Lat Chronicles) ระบุว่า พระยาอู่ทรงยอมมอบทองคำหนัก 16.33 กิโลกรัม พร้อมด้วยช้างสิบเชือก ให้แก่ทั้งสอง คนทั้งสองจึงยอมสวามิภักดิ์และกลับคืนเป็นข้าฝ่าละอองธุลีพระบาทของพระยาอู่แต่ในนาม<ref name=npl-66>Pan Hla 2005: 62–63, 66</ref>
 
อย่างไรก็ดี การเถลิงอำนาจของพระมหาเทวีนี้ไม่เป็นที่ยอมรับนับถือของคนทั้งปวง กลุ่มการเมืองในราชสำนักที่มี[[สมิงชีพราย]] อัครมหาเสนาบดี เป็นผู้นำ ต่อต้านพระนางอย่างลับ ๆ และสามปีให้หลัง พระนาง ในพระชนม์กว่า 50 ชันษา ก็ทรงถูกต่อต้านหนักขึ้น เมื่อทรงถูกกล่าวหาว่า เป็นชู้กับ[[สมิงมะราหู]] ผู้เป็นหลานเขยที่อ่อนวัยกว่าพระนางยิ่งนัก สมิงมะราหูผู้นี้เป็นสวามีของ[[ตละแม่ศรี]] (Tala Mi Thiri) พระธิดาของพระยาอู่ และพระนัดดาของพระนางเอง เมื่อข้อกล่าวหานี้แพร่สะพัด ผู้คนทั้งพระนครก็เย้ยหยันพระนาง พงศาวดารมอญ ''[[ราชาธิราช]]'' ยังบันทึกเพลงกลอนที่ชาวเมืองขับร้องเสียดสีพระนางเอาไว้<ref name=npl-67-68>Pan Hla 2005: 67–68</ref> ซึ่งราชาธิราชฉบับภาษาไทยได้ถอดความหมายไว้ว่า "นกสตือไซร้ขึ้นไข่ไว้ในต้นไม้อันคาอันซุ่ง อันสตรีแก่จะใคร่ได้สามีหนุ่ม ถันยุคลนั้นไซร้ยานลงถึงรั้งผ้า"<ref>[https://vajirayana.org/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A/%E0%B9%93 พระราชพงศาวดารรามัญ เรื่อง ราชาธิราช จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์บริการ พ.ศ. ๒๔๘๙ บทที่ ๓]</ref> เหตุการณ์ครั้งนี้เชื่อว่า เป็นที่มาของภาษิตมอญที่ว่า "นางนกยูงแก่ปีนขึ้นเค้าไม้ไปวางไข่ นางหญิงเฒ่าไร้ยางอายไปแย่งผัวชาวบ้าน" (The old peahen climbs up a tree to lay a clutch of eggs; the old woman brazenly steals another woman's husband.)<ref name=jf-5>Fernquest Spring 2006: 5</ref>
 
อย่างไรก็ดี พระยาอู่ก็ทรงยังไว้พระทัยในพระนางมิเสื่อมคลาย ทั้งทรงมอบอำนาจให้พระนางมากขึ้น ๆ ทุกปี ด้วยพระพลานามัยทรุดโทรมลงตามลำดับ<ref name=npl-68-69>Pan Hla 2005: 68–69</ref> แต่การงัดข้อกันเพื่อชิงอำนาจก็เป็นไปในทางรุนแรงขึ้นทุกขณะเช่นกัน หลายกลุ่มพากันหนุนพระนางและสมิงมะราหูมากขึ้น ๆ<ref name=npl-72>Pan Hla 2005: 72</ref> เป็นเหตุให้ที่สุดแล้วกลุ่มของพระนางก็มีอำนาจมั่นคงสถาพรขึ้นในต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1380 อันเป็นช่วงเวลาที่พระสุขภาพของพระยาอู่ถดถอยลงอย่างถึงที่สุด ฉะนั้น ใน ค.ศ. 1382 จึงปรากฏว่า พระมหาเทวีทรงได้ปกครองอาณาจักรหงสาวดีโดยพฤตินัยอยู่แล้ว<ref name=npl-81>Pan Hla 2005: 81</ref> ครั้น ค.ศ. 1383 [[พระยาน้อย]] ผู้เป็นพระโอรสของพระยาอู่ ทั้งเป็นพระนัดดาและโอรสบุญธรรมของพระนางเอง ก่อหวอดต่อต้านพระนาง<ref name=npl-82-83>Pan Hla 2005: 82–83</ref>