ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การทัพซีเรีย–เลบานอน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 36:
'''การทัพซีเรีย-เลบานอน''' หรือ '''ปฏิบัติการเอ็กซ์พอร์เตอร์''' (Operation Exporter) เป็นการบุกยึดครองของบริติซในดินแดนซีเรีย-เลบานอนภายใต้การปกครองโดย[[ฝรั่งเศสเขตวีชี|วิชีฝรั่งเศส]]ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ปี ค.ศ. 1941,ระหว่าง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ฝรั่งเศสได้ให้เอกราชให้กับซีเรียในเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 1936 โดยมีสิทธิที่จะบำรุงรักษากองกำลังติดอาวุธและสนามบินสองแห่งในดินแดน
 
เมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1941 [[รัฐประหารในประเทศอิรัก ค.ศ. 1941]] ได้เกิดขึ้นและ[[อิรัก]]ได้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของนักชาตินิยมชาวอิรักที่นำโดย[[ราชีด อาลี เอล-เกลานี|ราชีดอาลี]] ที่ได้ยื่นร้องขอการสนับสุนจากเยอรมัน [[สงครามอังกฤษ-อิรัก]](2–31 พฤษภาคม ค.ศ. 1941) นำไปสู่การล้มล้างระบอบอาลีและการก่อตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดของบริติซ บริติซได้บุกครองซีเรียและเลบานอนในเดือนมิถุนายนเพื่อเป็นการขัดขวางไม่ให้[[นาซีเยอรมนี]]จากการใช้[[วิชีฝรั่งเศส]]ที่คอยควบคุม[[สาธารณรัฐซีเรีย]]และ[[มหานครเลบานอน|ฝรั่งเศสเลบานอน]]เพื่อเป็นฐานทัพสำหรับการโจมตีที่[[อียิปต์]] ในช่วงการบุกครองได้สร้างความน่ากลัวในผลพวงของชัยชนะของเยอรมันใน[[ยุทธการที่กรีซ]](6 - 30 เมษายน ค.ศ. 1941) และ[[ยุทธการเกาะครีต|ยุทธการที่เกาะครีต]](20 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน) ใน[[การทัพทะเลทรายตะวันตก]] (ค.ศ. 1940–1943) ใน[[แอฟริกาเหนือ]] บริติซกำลังเตรียมความพร้อมสำหรับ[[ปฏิบัติการขวานรบ]]เพื่อทำการคลาย[[การล้อมทูบลัก|วงล้อมทูบลัก]] และเข้าต่อสู้รบใน[[การทัพแอฟริกาตะวันออก]] (10 มิถุนายน ค.ศ. 1940 – 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941) ในเอธิโอเปียและเอริเทรีย
 
วิชีฝรั่งเศสได้ทำการป้องกันซีเรียอย่างเข้มแข็ง แต่เมื่อวันที่ 10 กรกฏาคม เมื่อกองพลน้อยออสเตรเลียที่ 21 กำลังจะเคลื่อนทัพเข้าสู่[[เบรุต]] ฝรั่งเศสได้เจราจาขอสงบศึก ในช่วงเวลาหนึ่งนาทีที่ผ่านไปจนถึงเที่ยงคืน เมื่อวันที่ 12 กรกฏาคม การหยุดยิงได้มีผลบังคับใช้และยุติการทัพ การสงบศึกที่ Saint Jean d'Acre (อนุสัญญาเอเคอร์) ได้ถูกลงนาม เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ที่ค่ายทหารซิดนีย์สมิธในเขตชานเมือง นิตยสาร[[ไทม์]]ได้เรียกการสู้รบครั้งนี้ว่าเป็น"การโชว์ผสมรวม" ในขณะที่กำลังกำลังเกิดขึ้นและการทัพครั้งนี้ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก แม้แต่ในประเทศที่เข้าร่วม มีหลักฐานว่าบริติซได้ทำการปกปิด(censored)รายงานการสู้รบ เพราะนักการเมืองมีความเชื่อว่าการสู้รบกับกองกำลังฝรั่งเศสอาจจะส่งผลเสียต่อความคิดเห็นของประชาชนในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ