ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาพลเทพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 2405:9800:BC11:A2D0:A85F:D7A3:C1F5:49FD (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Chainwit.
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 1:
'''พระยาพลเทพเทพเจ้าพระกระทรวงเกษตราธิการสมัยกรุงเทพทวารวดีศรีอโยธยา''' เป็นชื่อตำแหน่งของเสนาบดีกรมนาหรือเกษตราธิการ หนึ่งในเสนาบดี[[จตุสดมภ์]] ราชทินนามเต็มตามทำเนียบพระไอยการนาพลเรือนคือ "ออกญาพลเทพราชเสนาบดีศรีไชยนพรัตนกระเสตราธิบดีอภัยพิรียบรมกรมภาหุ" ศักดินา ๑๐,๐๐๐ ไร่<ref>กฎหมายตรา ๓ ดวง เล่ม ๑. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ, ๒๕๔๘</ref> ในสมัยรัตนโกสินทร์ยกขึ้นเป็นเจ้าพระยา ทำหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานผู้ดูแลไร่นา เก็บหางข้าวหรือข้าวจากนาของราษฏรสำหรับขึ้นฉางหลวง (สมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เปลี่ยนให้จ่ายเป็นเงินเรียกว่าค่านาแทน) จัดซื้อข้าวขึ้นฉางหลวงสำหรับแจกจ่ายในพระราชวังและพระนคร ตั้งศาลพิจารณาความที่เกี่ยวข้องกับที่นาและสัตว์ที่ใช้ทำนาอย่างโคกระบือ ทำหน้าที่เป็นพระยาแรกนาใน[[แรกนาขวัญ|พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ]] และทำหน้าที่เป็นพระยายืนชิงช้าใน[[พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย]]<ref>จุลจอมเกล้า, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชพิธีสิบสองเดือน. พระนคร: โรงพิมพ์ท่าพระจันทร์, ๒๔๙๖</ref><ref>https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1789264391137023/</ref>
 
ใน[[คำให้การชาวกรุงเก่า]] ได้บันทึกว่าผู้ดำรงตำแหน่งพระยาพลเทพในช่วงเวลานั้นเป็นไส้ศึกให้กับพม่าซึ่งมีส่วนทำให้กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเป็นครั้งที่ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ กล่าวว่า "คราวนั้นพระยาพลเทพข้าราชการในกรุงศรีอยุธยาเอาใจออกหาก ลอบส่งเครื่องสาตราวุธเสบียงอาหารให้แก่พม่า สัญญาจะเปิดประตูคอยรับ พม่าเห็นได้ทีก็ระดมเข้าตีปล้นกรุงศรีอยุทธยา ทำลายเข้ามาทางประตูที่พระยาพลเทพนัดหมายไว้ ก็เข้าเมืองได้ทางประตูทิศตวันออกในเวลากลางคืน"<ref>ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยารวม ๓ เรื่อง. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ: แสงดาว, ๒๕๕๓.</ref> ต่างกับพระราชพงศาวดารไทยและพม่าว่ากองทัพพม่าทำการขุดอุโมงค์และเผารากกำแพงจนกำแพงถล่ม ทำให้พม่าเข้าเมืองได้ในที่สุด และในพงศาวดารทั้งไทยและพม่าไม่ได้พูดถึงบทบาทพระยาพลเทพเลย แต่มีชื่อภยาภลเทป (ဘယာဘလဒေပ พระยาพลเทพ) ปรากฏในมหาราชวงศ์พงษาวดารพม่าว่าเป็นหนึ่งในขุนนางอยุธยาที่ถูกกวาดต้อนไปอังวะ<ref>ต่อ, นาย, ผู้แปล. มหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า. สุจิตต์ วงษ์เทศ, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๕.</ref><ref>https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1789264391137023/</ref>