ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภูมิศาสตร์ไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Parinand (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเติมคำว่า "ภาคกลาง" เข้าไปเพราะส่วนนั้นคือคำอธิบายภูมิประเทศที่ใช้ได้กับภาคกลางเท่านั้น ไม่สามารถใช้ได้กับประเทศไทยทั้งประเทศ
บรรทัด 7:
ประเทศไทยตั้งอยู่ในช่วงพิกัด 5°37′N - 20°27′N และ 97°22′E - 105°37′E
 
ด้วยสภาพพื้นที่ราบซึ่งน้ำท่วมถึงอันอุดมสมบูรณ์และภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ทำให้ประเทศไทยภาคกลางมีความเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรรมการทำนา และดึงดูดผู้ตั้งถิ่นฐานมายังใจกลางดินแดนมากกว่าพื้นที่สูงและภูเขาในภาคเหนือและ[[ที่ราบสูงโคราช]]ในทางตะวันออกเฉียงเหนือ
 
ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 รัฐจำนวนหนึ่งซึ่งติดต่อกันอย่างหลวม ๆ โดยการปลูกข้าวและการค้าได้เกิดขึ้นในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน เริ่มตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 รัฐเหล่านี้ค่อย ๆ ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของ[[อาณาจักรอยุธยา]] ซึ่งตั้งอยู่ใต้สุดของที่ราบลุ่มแห่งนี้ เมืองหลวงในอดีตของไทยซึ่งตั้งอยู่บนหลายจุดตามแม่น้ำเจ้าพระยา กลายมาเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรคนไทยซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนการปลูกข้าวและการค้าระหว่างประเทศ ไทยได้มุ่งหน้าค้าขายกับเมืองท่าต่างชาติโดยอาศัย[[อ่าวไทย]]และ[[ทะเลอันดามัน]]