ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยายมราช (แก้ว สิงหเสนี)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{กล่องข้อมูล ไดเมียว|name=เจ้าพระยายมราช<br>(แก้ว สิงหเสนี)|เกิด=พ.ศ...
 
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
'''เจ้าพระยายมราช''' นามเดิม '''แก้ว''' (พ.ศ. 2347 - 2414) เป็นบุตรของ[[เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)]] ดำรงตำแหน่งเป็น[[เจ้าพระยายมราช]]และเจ้าเมือง[[นครราชสีมา]]ในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ดำรงตำแหน่งเป็น'''พระพรหมบริรักษ์'''ในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เป็นแม่ทัพผู้มีบทบาทสำคัญในสงคราม[[อานัมสยามยุทธ]]
 
เจ้าพระยายมราช (แก้ว สิงหเสนี) เกิดเมื่อปีชวดพ.ศ. 2347<ref name=":0">'''อนุสรณ์ในงานพระราชทางทานเพลิงศพ คุณหญิงเจือ นครราชเสนี (เจือ สิงหเสนี) ท.ช.ต.จ.''' ณ วัดธาตุทอง กรุงเทพมหานคร วันอาทิตย์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๕.</ref> ใน[[รัชกาลที่ 1]] เป็นบุตรคนที่แปดของจมื่นเสมอใจราช (สิงห์) มารดาคือท่านผู้หญิงเพ็ง ซึ่งเป็นธิดาของพระพิพิธสาลี (สังข์)<ref name=":0" /><ref name=":1" /> นายแก้วมีพี่ชายร่วมมารดาเดียวกันชื่อว่านายเกษ (ต่อมาคือเจ้าพระยามุขมนตรี) ต่อมาใน[[รัชกาลที่ 3]] บิดาได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ที่[[สมุหนายก]] นายแก้วเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก ภายหลังได้เป็น''นายจิตรหุ้มแพร''<ref name=":0" /> ต่อมาเป็น''จมื่นสมุหพิมาน''<ref name=":0" /> ปลัดกรมพระตำรวจขวา หลังจากที่ไปชำระปราบโจรผู้ร้ายที่เมือง[[นครราชสีมา]] จึงได้เลื่อนขึ้นเป็น''พระพรหมบริรักษ์'' เจ้ากรมสนมตำรวจขวา
 
ในพ.ศ. 2384 ขุนนางกัมพูชาซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของเวียดนาม[[ราชวงศ์เหงียน]]ลุกฮือขึ้นต่อต้านการปกครองของญวน พระพรหมบริรักษ์ (แก้ว) ได้ติดตามเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ผู้เป็นบิดาไปในการศึกสงครามในครั้งนี้ด้วย เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) มอบหมายให้พระพรหมบริรักษ์ (แก้ว) นำทัพเข้าโจมตีเมือง[[โพธิสัตว์ (เมือง)|โพธิสัตว์]]<ref>เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค). '''พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓'''.</ref> ต่อมาเมื่อฝ่ายญวนล่าถอยออกจากกัมพูชาไปอยู่ที่เมืองโจดกแล้ว เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) จึงมอบหมายให้พระพรหมบริรักษ์ (แก้ว) นำ[[นักองค์ด้วง]]ไปตั้งมั่นอยู่ที่เมือง[[อุดงมีชัย|อุดง]]ในพ.ศ. 2385 พระพรหมบริรักษ์ (แก้ว) ร่วมกับ[[เจ้าพระยายมราช (บุนนาค ยมนาค)]] และนักองค์ด้วง ยกทัพเข้าโจมตีคลองหวิญเต๊ใน[[จังหวัดอานซาง]]ของเวียดนาม แต่่ทัพฝ่ายญวนสามารถต้านทานทัพของฝ่ายสยามได้ทำให้ฝ่ายสยามต้องล่าถอยกลับ พระพรหมบริรักษ์ (แก้ว) คุ้มครองนักองค์ด้วงอยู่ที่เมืองอุดงเป็นเวลาสามปี จนกระทั่งในพ.ศ. 2388 ทัพญวนนำโดย[[เหงียน จิ เฟือง|เหงียนจิเฟือง]] (Nguyễn Tri Phương) ยกทัพญวนขึ้นมาโจมตีเมือง[[พนมเปญ]] พระพรหมบริรักษ์ (แก้ว) เข้าป้องกันเมืองพนมเปญแต่ฝ่ายญวนสามารถเข้ายึดเมืองพนมเปญได้สำเร็จ พระพรหมบริรักษ์ (แก้ว) ถอยไปอยู่ที่เมืองอุดง เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เดินทางมาจากกรุงเทพฯเพื่อป้องกันเมืองอุดง เหงียนจิเฟืองนำทัพญวนเข้าล้อมเมืองอุดงจนกระทั่วนำไปสู่การเจรจาเพื่อยุติสงครามอานัมสยามยุทธในที่สุด