ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
== หลักเกณฑ์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา (พ.ศ. 2561) ==
=== หลักทั่วไป ===
1. การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่นตามหลักเกณฑ์นี้เป็นการถ่ายเสียงภาษาญี่ปุ่นที่เขียนด้วย[[โรมาจิ|อักษรโรมัน]]เท่าที่อักษรโรมันจะแสดงได้ โดยถ่ายเสียงสระและเสียงพยัญชนะตามที่ออกเสียงในภาษาญี่ปุ่นมาตรฐานหรือภาษาโตเกียว และมีตารางเทียบเสียงพยัญชนะและเสียงสระแสดงไว้ อย่างไรก็ตาม ในภาษาญี่ปุ่นมีการเน้นเสียงซึ่งอาจทำให้เสียงหรือความหมายเปลี่ยนไปบ้าง การเน้นเสียงนั้นสามารถตรวจสอบได้ในพจนานุกรมที่แสดงเครื่องหมายกำกับไว้ นอกจากนี้ยังอาจมีการลดเสียงบางเสียง แต่ในหลักเกณฑ์นี้ไม่ได้นำเรื่องการเน้นเสียงและการลดเสียงมาพิจารณา
 
2. การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่นตามหลักเกณฑ์นี้พยายามเขียนให้ใกล้เคียงกับเสียงในภาษาญี่ปุ่นเท่าที่อักขรวิธีไทยจะเอื้ออำนวยและรองรับได้ ในกรณีที่ภาษาญี่ปุ่นออกเสียงได้ 2 แบบ ก็ให้ใช้ได้ทั้ง 2 แบบ เช่น Nippon = นิปปง, นิปปน ในกรณีที่ไม่สามารถใช้อักขรวิธีไทยเขียนได้ ก็จะเลือกตัวอักษรที่อ่านง่ายเขียนง่าย เช่น tsu = สึ
 
3. ระบบการเขียนภาษาญี่ปุ่นโดยใช้อักษรโรมันเพื่อให้ชาวต่างชาติสามารถอ่านได้มีหลายระบบ หลักเกณฑ์นี้ใช้ระบบเฮ็ปเบิร์นเป็นหลัก เนื่องจากเป็นระบบเขียนที่ใกล้เคียงกับเสียงมากที่สุด และเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้ระบบอื่น จึงได้นำอักษรโรมันที่ถอดตามระบบอื่นมาใส่ไว้ในตารางด้วยโดยเรียงตามลำดับอักษร
 
อักษรโรมันระบบเฮ็ปเบิร์นเป็นอักษรโรมันที่ใช้เขียนภาษาญี่ปุ่นระบบหนึ่งซึ่งเน้นเสียงเป็นหลัก เริ่มใช้ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในสมัยเมจิ เป็นระบบการเขียนซึ่งแพทย์และนักสอนศาสนาชาวอเมริกันชื่อ เจมส์ เคอร์ติส เฮ็ปเบิร์น (ค.ศ. 1815–1911) ริเริ่มคิดขึ้นและใช้ในการจัดทำพจนานุกรมญี่ปุ่น–อังกฤษ อังกฤษ–ญี่ปุ่น เป็นระบบที่ได้รับการยอมรับและใช้กันแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน
 
4. คำที่รับมาจากภาษาญี่ปุ่นซึ่งมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เช่น คำในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครองและเมืองหลวง, ชื่อแร่และชื่อธาตุ ฯลฯ ให้ใช้ตามประกาศครั้งล่าสุด
 
5. คำภาษาญี่ปุ่นที่รับมาใช้ในภาษาไทยเป็นเวลานานและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้ว ให้ใช้ตามเดิม เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:8em;"|Tōkyō [โทเกียว]<br/>Kyōto [เคียวโตะ]||style="width: 3em;"|=<br/>=||style="width: 15em;"|โตเกียว<br/>เกียวโต
|}
 
'''6. สระเดี่ยวสั้น''' ในภาษาญี่ปุ่นมี 5 เสียง แสดงด้วยอักษรโรมันดังนี้ a, i, u, e และ o การออกเสียงสระสั้นโดยปรกติไม่ปิดเส้นเสียงข้างท้าย ยกเว้นกรณีที่อยู่ในตำแหน่งท้ายคำจะออกเสียงโดยปิดเส้นเสียงเล็กน้อย ซึ่งทำให้มีลักษณะคล้ายกับเสียงสระสั้นท้ายคำในภาษาไทย (อย่างคำว่า กระท'''ะ''', กะ'''ทิ''') ในการทับศัพท์กำหนดดังนี้
 
:::6.1 สระเดี่ยวสั้นในพยางค์ที่ไม่มีตัวสะกดและไม่ได้อยู่ท้ายคำ ทับศัพท์เป็นสระเสียงยาว เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:8em;"|y'''a'''ma<br/>'''o'''cha<br/>F'''u'''k'''u'''i||style="width: 3em;"|=<br/>=<br/>=||style="width: 15em;"|ย'''า'''มะ<br/>'''โ'''อจะ<br/>'''ฟูกู'''อิ
|}
 
:::::ยกเว้นสระ i ทับศัพท์เป็นสระเสียงสั้นในทุกตำแหน่ง เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:8em;"|wasab'''i'''<br/>M'''i'''k'''i'''||style="width: 3em;"|=<br/>=||style="width: 15em;"|วาซา'''บิ'''<br/>'''มิกิ'''
|}
:::6.2 สระเดี่ยวสั้นในตำแหน่งท้ายคำ ทับศัพท์เป็นสระเสียงสั้น เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:8em;"|Tanak'''a'''<br/>fun'''e'''||style="width: 3em;"|=<br/>=||style="width: 15em;"|ทานาก'''ะ'''<br/>ฟู'''เ'''น'''ะ'''
|}
 
:::6.3 สระเดี่ยวสั้นในพยางค์ที่มีตัวสะกด ได้แก่ k, m, n, p, s, t ทับศัพท์เป็นสระเสียงสั้น เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:8em;"|g'''a'''kkō<br/>s'''a'''mma<br/>h'''o'''ntō<br/>N'''i'''pp'''o'''n<br/>z'''a'''sshi<br/>'''i'''tchi||style="width: 3em;"|=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=||style="width: 15em;"|'''กั'''กโก<br/>'''ซั'''มมะ<br/>ฮนโต<br/>'''นิ'''ปปง, '''นิ'''ปปน<br/>'''ซั'''ชชิ<br/>'''อิ'''ตจิ
|}
 
'''7. สระเดี่ยวยาว''' ในภาษาญี่ปุ่นมี 5 เสียง ออกเสียงยาวประมาณ 2 เท่าของสระเสียงสั้น แสดงด้วยอักษรโรมันตามระบบเฮ็ปเบิร์นดังนี้ ā, ī, ū, ē และ ō ในการทับศัพท์กำหนดให้ใช้สระเสียงยาวทุกตำแหน่ง เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:8em;"|ok'''ā'''san<br/>oish'''ī'''<br/>j'''ū'''y'''ō'''<br/>on'''ē'''san<br/>say'''ō'''nara||style="width: 3em;"|=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=||style="width: 15em;"|โอก'''า'''ซัง, โอก'''า'''ซัน<br/>โออิ'''ชี'''<br/>'''จูโ'''ย<br/>โอ'''เ'''นซัง, โอ'''เ'''นซัน<br/>ซา'''โ'''ยนาระ
|}
 
:::ในการใช้ทั่วไปเช่นในสื่อมวลชน อาจพบสระเดี่ยวยาวในรูปสระตัวเดียวคือ a, i, u, e และ o เช่น ชื่อนายกรัฐมนตรี Shinz'''ō''' Abe มักพบรูปเขียนเป็น Shinz'''o''' Abe, ชื่อเมือง T'''ō'''ky'''ō''' มักพบรูปเขียนเป็น T'''o'''ky'''o'''
 
:::อย่างไรก็ตาม ในการเขียนภาษาญี่ปุ่นโดยใช้อักษรโรมันด้วยระบบอื่น อาจพบรูปสระเดี่ยวยาวรูปอื่น ดังนี้ aa, ii, uu, ee, ei, oo, ou และ oh เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:8em;"|ok'''aa'''san<br/>oish'''ii'''<br/>j'''uu'''y'''oo'''<br/>on'''ee'''san<br/>sens'''ei'''<br/>say'''oo'''nara<br/>k'''ou'''shi<br/>'''Oh'''no<br/>||style="width: 3em;"|=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=||style="width: 15em;"|โอก'''า'''ซัง, โอก'''า'''ซัน<br/>โออิ'''ชี'''<br/>'''จูโ'''ย<br/>โอ'''เ'''นซัง, โอ'''เ'''นซัน<br/>เซ็น'''เ'''ซ<br/>ซา'''โ'''ยนาระ<br/>'''โ'''คชิ (ขงจื๊อ)<br/>'''โ'''อโนะ
|}
 
:::สระ 2 ตัวเรียงต่อกันในบางคำอาจแสดงเป็นคนละคำกัน กรณีเช่นนี้ให้ทับศัพท์แยกเป็นแบบสระเดี่ยวสั้น เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:8em;"|k'''ou'''shi (k'''o'''-'''u'''shi)<br/>k'''ei'''to (k'''e'''-'''i'''to)<br/>Ish'''ii''' (Ish'''i'''-'''i''')||style="width: 3em;"|=<br/>=<br/>=||style="width: 15em;"|'''โ'''ค'''อู'''ชิ (ลูกวัว)<br/>'''เ'''ค'''อิ'''โตะ (ด้ายขนสัตว์)<br/>อิ'''ชิอิ''' (ชื่อสกุล)
|}
 
:::หากมีข้อสงสัยให้สอบถามผู้รู้หรือค้นหาในพจนานุกรม
 
'''8. สระต่างกันที่เรียงติดต่อกัน 2 เสียงขึ้นไป''' ให้เขียนทับศัพท์เรียงกัน เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:8em;"|k'''ao'''||style="width: 3em;"|=||style="width: 15em;"|ค'''าโ'''อ'''ะ'''
|}
 
:::ยกเว้นสระ ai ให้ใช้ ไ– เช่น
 
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:8em;"|h'''ai'''ku||style="width: 3em;"|=||style="width: 15em;"|'''ไ'''ฮกุ
|}
 
'''9. พยัญชนะ ch, k, p และ t''' เมื่ออยู่ในตำแหน่งต้นคำจะเป็นเสียงพ่นลม (aspirated) แต่เมื่ออยู่ในตำแหน่งอื่นจะเป็นเสียงไม่พ่นลม (unaspirated) หรือพ่นลมค่อนข้างเบา จึงกำหนดให้ทับศัพท์ดังนี้
 
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|colspan="3" align=left|'''ตำแหน่งต้นคำ'''||colspan="3" align=left|'''ตำแหน่งอื่น'''
|-
|style="width:1.5em;"|ch<br/>k<br/>p<br/>t<br/>||style="width: 1.5em;"|=<br/>=<br/>=<br/>=||style="width: 4em;"|ช<br/>ค<br/>พ<br/>ท||style="width: 1.5em;"|ch<br/>k<br/>p<br/>t||style="width: 1.5em;"|=<br/>=<br/>=<br/>=||style="width: 4em;"|จ<br/>ก<br/>ป<br/>ต
|}
 
'''10. พยัญชนะ f ในอักษรโรมันระบบเฮ็ปเบิร์น''' เป็นเสียงพยัญชนะเสียดแทรก ไม่ก้อง เกิดระหว่างริมฝีปากบนกับริมฝีปากล่าง {{IPA|[ɸ]}} ซึ่งไม่มีในภาษาไทย กำหนดให้ทับศัพท์เป็น ฟ เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:8em;"|'''F'''uji<br/>'''F'''ukuoka||style="width: 3em;"|=<br/>=||style="width: 15em;"|'''ฟู'''จิ<br/>'''ฟู'''กูโอกะ
|}
 
'''11. พยัญชนะ g''' เมื่ออยู่ในตำแหน่งต้นคำออกเสียง {{IPA|[ɡ]}} คล้าย ก ให้เขียนทับศัพท์ด้วย ก แต่เมื่ออยู่ในตำแหน่งอื่นออกเสียง {{IPA|[ŋ]}} ให้เขียนทับศัพท์ด้วย ง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผู้พูดภาษาญี่ปุ่นบางกลุ่มมักออกเสียงพยัญชนะนี้เป็น {{IPA|[ɡ]}} หรือ {{IPA|[ɣ]}} ในตำแหน่งอื่นนอกจากตำแหน่งต้นคำ จึงให้ทับศัพท์เป็น ก ทุกตำแหน่งได้ด้วย เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:8em;"|ari'''g'''atō<br/>go'''g'''o||style="width: 3em;"|=<br/>=||style="width: 15em;"|อาริ'''ง'''าโต, อาริ'''ก'''าโต<br/>โกโ'''ง'''ะ, โกโ'''ก'''ะ
|}
 
'''12. พยัญชนะ j''' เมื่ออยู่ในตำแหน่งต้นคำ เป็นเสียงพยัญชนะกักเสียดแทรก ก้อง เกิดที่ตำแหน่งลิ้นส่วนหน้ากับหลังปุ่มเหงือก {{IPA|[d͡ʑ]}} เมื่ออยู่กลางคำ บางครั้งเป็นเสียงเสียดแทรก {{IPA|[ʑ]}} ทั้ง 2 เสียงนี้เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ให้เขียนทับศัพท์ด้วย จ เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:8em;"|ka'''ji'''||style="width: 3em;"|=||style="width: 15em;"|คา'''จิ'''
|}
 
'''13. พยัญชนะนาสิก n''' มีหลักเกณฑ์การทับศัพท์ดังนี้
:::13.1 ในกรณีที่อยู่ต้นคำหรือต้นพยางค์ ออกเสียง น หรือใกล้เคียงกับ น ให้ทับศัพท์เป็น น เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:8em;"|'''N'''arita<br/>ku'''n'''i||style="width: 3em;"|=<br/>=||style="width: 15em;"|'''น'''าริตะ<br/>คู'''นิ'''
|}
 
:::13.2 ในกรณีที่อยู่ท้ายคำหรือตามด้วยพยางค์ที่ขึ้นต้นด้วยสระ ปรกติออกเสียงเป็นเสียงนาสิก ก้อง ที่ตำแหน่งโคนลิ้นกับลิ้นไก่ {{IPA|[ɴ]}} ซึ่งใกล้เคียงกับ ง ให้ทับศัพท์เป็น ง แต่บางครั้งเมื่อต้องการปิดคำ ผู้พูดภาษาญี่ปุ่นก็ออกเสียงเป็น น จึงให้ทับศัพท์เป็น น ได้ด้วย ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:8em;"|Jōmo'''n'''<br/>bo'''n''''odori||style="width: 3em;"|=<br/>=||style="width: 15em;"|โจม'''ง''', โจม'''น'''<br/>บ'''ง'''โอโดริ, บ'''น'''โอโดริ
|}
 
:::13.3 ในกรณีที่อยู่ท้ายพยางค์ ส่วนใหญ่มีการกลมกลืนเสียง (assimilation) ไปตามฐานกรณ์ (articulator) ของพยัญชนะที่ตามมา มีหลักเกณฑ์การทับศัพท์ดังนี้
:::::- ในตำแหน่งท้ายพยางค์ที่ตามด้วย ch, d, j, n, r, s, sh, t, z ออกเสียง น หรือใกล้เคียงกับ น ให้ทับศัพท์เป็น น เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:8em;"|mi'''n'''chō<br/>E'''n'''dō<br/>ji'''n'''ja<br/>ko'''n'''nichiwa<br/>re'''n'''raku<br/>shi'''n'''sai<br/>ma'''n'''shū<br/>ho'''n'''tō<br/>ji'''n'''zai||style="width: 3em;"|=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=||style="width: 15em;"|มิ'''น'''โจ<br/>เอ็'''น'''โด<br/>จิ'''น'''จะ<br/>ค'''น'''นิจิวะ<br/>เร็'''น'''รากุ<br/>ชิ'''น'''ไซ<br/>มั'''น'''ชู<br/>ฮ'''น'''โต<br/>จิ'''น'''ไซ
|}
 
:::::- ในตำแหน่งท้ายพยางค์ที่ตามด้วย g, h, k, w, y ออกเสียง ง หรือใกล้เคียงกับ ง ให้ทับศัพท์เป็น ง เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:8em;"|ri'''n'''go<br/>kokusa'''n'''hin<br/>gi'''n'''kō<br/>de'''n'''wa<br/>ho'''n'''ya||style="width: 3em;"|=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=||style="width: 15em;"|ริ'''ง'''โงะ, ริ'''ง'''โกะ<br/>โคกูซั'''ง'''ฮิง, โคกูซั'''ง'''ฮิน<br/>กิ'''ง'''โก<br/>เด็'''ง'''วะ<br/>ฮ'''ง'''ยะ
|}
 
'''14. พยัญชนะ ts''' เป็นเสียงพยัญชนะกักเสียดแทรก ไม่ก้อง เกิดที่ตำแหน่งปลายลิ้นกับปุ่มเหงือก {{IPA|[t͡s]}} เป็นเสียงซึ่งไม่มีในภาษาไทย และพยัญชนะ ts นี้เกิดกับสระ u และ ū เท่านั้น กำหนดให้ทับศัพท์ดังนี้
:::tsu ที่อยู่ต้นคำหรือตามหลังพยัญชนะ ทับศัพท์เป็น สึ เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:8em;"|'''tsu'''nami<br/>mit'''tsu'''||style="width: 3em;"|=<br/>=||style="width: 15em;"|'''สึ'''นามิ<br/>มิต'''สึ'''
|}
 
:::tsu ที่ตามหลังสระ ทับศัพท์เป็น ตสึ เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:8em;"|mi'''tsu'''||style="width: 3em;"|=||style="width: 15em;"|มิ'''ตสึ'''
|}
 
:::tsū ที่อยู่ต้นคำหรือตามหลังพยัญชนะ ทับศัพท์เป็น ซือ เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:8em;"|'''tsū'''yaku<br/>it'''tsū'''||style="width: 3em;"|=<br/>=||style="width: 15em;"|'''ซือ'''ยากุ<br/>อิต'''ซือ'''
|}
 
:::tsū ที่ตามหลังสระ ทับศัพท์เป็น ตซือ เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:8em;"|fu'''tsū'''||style="width: 3em;"|=||style="width: 15em;"|ฟุ'''ตซือ'''
|}
 
15. ชื่อกับชื่อสกุลของคนญี่ปุ่นที่เขียนด้วยอักษรโรมัน มักเขียนชื่อตัว เว้นวรรค และตามด้วยชื่อสกุล ในการทับศัพท์ให้เขียนไปตามนั้น เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:8em;"|Ichirō SUZUKI<br/>Takuya KIMURA||style="width: 3em;"|=<br/>=||style="width: 15em;"|อิจิโร ซูซูกิ<br/>ทากูยะ คิมูระ
|}
 
:::ส่วนชื่อกับชื่อสกุลของคนญี่ปุ่นโดยปรกติเขียนด้วย[[อักษรคันจิ]]ติดกัน ไม่เว้นวรรค และเขียนชื่อสกุลมาก่อนแล้วจึงตามด้วยชื่อตัว หากทับศัพท์จากต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น ให้สลับเขียนชื่อตัวขึ้นก่อน เว้นวรรค และตามด้วยชื่อสกุลตามรูปแบบการเขียนในภาษาไทย เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:14em;"|{{ruby-ja|鈴木一朗|すずきいちろう}} (SUZUKI, Ichirō) <br/>{{ruby-ja|木村拓哉|きむらたくや}} (KIMURA, Takuya)||style="width: 3em;"|=<br/>=||style="width: 15em;"|อิจิโร ซูซูกิ<br/>ทากูยะ คิมูระ
|}
 
16. คำนำหน้าชื่อหรือคำบอกประเภทวิสามานยนามในภาษาญี่ปุ่นโดยปรกติจะวางไว้หลังชื่อ ซึ่งต่างกับภาษาไทย ในการทับศัพท์ให้แปลคำเหล่านั้นแล้วยกมาวางไว้ข้างหน้า เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:8em;"|Tanaka'''san'''<br/>Aomori'''ken'''<br/>Waseda'''daigaku'''<br/>Risona'''ginkō'''||style="width: 3em;"|=<br/>=<br/>=<br/>=||style="width: 35em;"|'''คุณ'''ทานากะ (san เป็นคำเรียกประกอบท้ายชื่อเพื่อแสดงความสุภาพ)<br/>'''จังหวัด'''อาโอโมริ (ken แปลว่า จังหวัด)<br/>'''มหาวิทยาลัย'''วาเซดะ (daigaku แปลว่ามหาวิทยาลัย)<br/>'''ธนาคาร'''ริโซนะ (ginkō แปลว่า ธนาคาร)
|}
 
:::คำบอกประเภทวิสามานยนามที่เป็นส่วนหนึ่งของชื่อเฉพาะ เช่น แม่น้ำ ภูเขา เกาะ ทะเลสาบ วัด ในการทับศัพท์ให้ทับศัพท์ชื่อเฉพาะนั้นทั้งหมดและ<u>อาจ</u>ใส่คำแปลของคำบอกประเภทวิสามานยนามไว้ข้างหน้าด้วย เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:8em;"|Ara'''kawa'''<br/>Gas'''san'''<br/>Kiyomizu'''dera'''<br/>Kinkaku'''ji'''||style="width: 3em;"|=<br/>=<br/>=<br/>=||style="width: 35em;"|อารา'''กาวะ''', '''แม่น้ำ'''อารา'''กาวะ''' (kawa แปลว่า แม่น้ำ)<br/>กัซ'''ซัง''', กัซ'''ซัน''', '''ภูเขา'''กัซ'''ซัง''', '''ภูเขา'''กัซ'''ซัน''' (san แปลว่า ภูเขา)<br/>คิโยมิซู'''เดระ''', '''วัด'''คิโยมิซู'''เดระ''' (dera มาจาก tera แปลว่า วัด)<br/>คิงกากู'''จิ''', '''วัด'''คิงกากู'''จิ''' (ji แปลว่า วัด)
|}
 
:::ในการตัดสินว่าจะใส่คำแปลของคำบอกประเภทวิสามานยนามไว้ข้างหน้าหรือไม่ อาจนำรูปแบบที่ใช้ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมาพิจารณาประกอบ
 
17. ในการเขียนภาษาญี่ปุ่นด้วยอักษรโรมันอาจมีการใช้เครื่องหมายยัติภังค์เพื่อให้อ่านได้ง่ายขึ้น ในการทับศัพท์ให้เขียนติดกันโดยไม่ต้องใส่เครื่องหมายยัติภังค์ เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:8em;"|Tanaka'''-'''san<br/>Aomori'''-'''ken<br/>Waseda'''-'''daigaku<br/>Risona'''-'''ginkō<br/>Kiyomizu'''-'''dera||style="width: 3em;"|=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=||style="width: 15em;"|คุณทานากะ<br/>จังหวัดอาโอโมริ<br/>มหาวิทยาลัยวาเซดะ<br/>ธนาคารริโซนะ<br/>คิโยมิซูเดระ, วัดคิโยมิซูเดระ
|}
 
'''18. คำย่อที่เขียนด้วยอักษรโรมัน''' ให้เขียนชื่อตัวอักษรนั้น ๆ ตามเสียงภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยตามที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ (ฉบับร่าง) ดังนี้
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:0.5em;"|A<br/>D<br/>G<br/>J<br/>M<br/>P<br/>S<br/>V<br/>Y||style="width: 0.5em;"|=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=||style="width: 5em;"|เอ<br/>ดี<br/>จี<br/>เจ<br/>เอ็ม<br/>พี<br/>เอส<br/>วี<br/>วาย
|style="width:0.5em"|B<br/>E<br/>H<br/>K<br/>N<br/>Q<br/>T<br/>W<br/>Z||style="width: 0.5em;"|=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=||style="width: 5em;"|บี<br/>อี<br/>เอช<br/>เค<br/>เอ็น<br/>คิว<br/>ที<br/>ดับเบิลยู<br/>ซี, เซด
|style="width:0.5em;"|C<br/>F<br/>I<br/>L<br/>O<br/>R<br/>U<br/>X<br/><br/>||style="width: 0.5em;"|=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=<br/>=<br/><br/>||style="width: 5em;"|ซี<br/>เอ็ฟ<br/>ไอ<br/>เอล<br/>โอ<br/>อาร์<br/>ยู<br/>เอ็กซ์<br/><br/>
|}
 
:::เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:8em;"|NHK<br/>JR||style="width: 3em;"|=<br/>=||style="width: 15em;"|เอ็นเอชเค<br/>เจอาร์
|}
 
:::อย่างไรก็ดี คนญี่ปุ่นอาจออกเสียงตัวอักษรเหล่านี้แตกต่างกับตารางข้างต้น
 
'''19. คำที่ผูกขึ้นจากตัวย่อ''' ซึ่งอ่านออกเสียงได้เสมือนคำคำหนึ่ง มิได้ออกเสียงเรียงตัวอักษรให้เขียนตามเสียงที่ออกและไม่ต้องใส่จุด เช่น
:::::::::{|border=0 cellspacing=0 cellpadding=6
|-
|style="width:22em;"|JASSO (Japan Student Services Organization)||style="width: 3em;"|=||style="width: 15em;"|จัสโซ
|}
 
=== ตารางเทียบเสียง ===
==== เสียงพยัญชนะ ====