ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประวัติศาสตร์มาเลเซีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
[[ไฟล์:Malacca Sultanate-pt.svg|left|thumb|272x272px|อาณาเขตสูงสุดของรัฐสุลต่านมะละกา ประกอบไปด้วยส่วนใหญ่ของแหลมมลายูรวมทั้งดินแดนฝั่งเกาะสุมาตราและหมู่เกาะรีเอา (Riau Islands) ในขณะที่รัฐมลายูทางเหนือได้แก่ปัตตานี ไทรบุรี และกลันตัน อยู่ภายใต้อิทธิพลของอยุธยา]]
ในสมัยของรัฐมะละกา[[ศาสนาอิสลาม]]นิกายซุนหนี่ได้เผยแพร่มาถึงยังคาบสมุทรมลายู ผ่านทางเส้นทางการค้าขายกับชาวเปอร์เซียและอินเดีย โดยศาสนาอิสลามในมะละกาได้รับอิทธิพลจาก[[รัฐสมุเดราปาไซ]] (Samudera-Pasai) ทางเหนือของเกาะสุมาตรา เอกสารทางประวัติศาสตร์ของรัฐอื่น ๆ ต่างระบุอ้างว่ารัฐของตนรับศาสนาอิสลามมาก่อนหน้ารัฐมะละกาแล้ว เช่น พงศาวดาร''ฮิกายะต์เมอรงมหาวังสา'' (Hikayat Merong Mahawangsa) ของไทรบุรี ระบุว่ารัฐไทรบุรีนับถือศาสนาอิสลามมาตั้งแต่ ค.ศ. 1136 มีการค้นพบ[[ศิลาจารึกตรังกานู|จารึกตรังกานู]] (Terengganu Inscription) ที่รัฐตรังกานู จารึกขึ้นใน ค.ศ. 1303 เป็นจารึกภาษามลายูคลาสสิก (Classical Malay) โดยมีการใช้[[อักษรยาวี]] (Jawi script) เป็นครั้งแรกซึ่งประยุกต์มาจาก[[อักษรอาหรับ]]มาเพื่อใช้เขียนภาษามลายู อาณาจักรมะละกาได้พัฒนาขึ้นเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกมลายู เมื่อมะละการับและส่งเสริมศาสนาอิสลามทำให้ศาสนาอิสลามสามารถประดิษฐานในโลกและวัฒนธรรมมลายู หนังสือ''ซุมาโอเรียนตัล''ของโตเมปิเรสระบุว่าโอรสของรายาปรเมศวรรับศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำมะละกะและใช้ตำแหน่ง “สุลต่าน” เป็นผู้ปกครองรัฐมะละกา ทำให้มะละกากลายเป็นรัฐสุลต่าน (Sultanate) ในขณะที่''สยาราะห์มลายู''ระบุว่ามะละการับศาสนาอิสลามในสมัยของรายาองค์ที่สาม ผู้ซึ่งเปลี่ยนมาใช้ชื่อว่าสุลต่านมูฮาหมัดชาฮ์ (Muhammad Shah) ระบบราชการของรัฐมะละกาประกอบไปด้วยตำแหน่งต่าง ๆ ตำแหน่งสูงสุดคือเสนาบดีเรียกว่า''เบินดาฮารา'' (Bendahara) ต่อมามีหัวหน้าองครักษ์เรียกว่า''ตำมะหงง'' (Temenggong) แม่ทัพเรือเรียกว่า''ลักษมณา'' (Laksamana) และเจ้ากรมท่าเรือเรียกว่า''ชาฮ์บันดาร์'' (Syahbandar)
[[ไฟล์:Bunga Mas.jpg|thumb|''บุหงามาศดันเปรัก'' (Bunga mas dan perak) หรือ[[ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง]] เป็นเครื่องบรรณาการซึ่งรัฐมลายูทางภาคเหนือได้แก่[[อาณาจักรปัตตานี|ปัตตานี]] ไทรบุรี และกลันตัน ต้องส่งให้แก่สยาม[[อาณาจักรอยุธยา]]|alt=]]
ในสมัยของสุลต่านมันซูร์ชาฮ์ (Mansur Shah) เป็นยุครุ่งเรืองของรัฐสุลต่านมะละกา สุลต่านมันซูร์ชาฮ์ประสบความสำเร็จในการขยายดินแดนข้ามฝั่งไปยังเกาะสุมาตรามีอำนาจเหนือแคว้นรีเอา (Riau) รวมทั้งเข้าครอบครองหมู่เกาะรีเอา (Riau islands) ในขณะที่รัฐมะละกากำลังเรืองอำนาจอยู่ทางใต้ของแหลมมลายูนั้น รัฐมลายูต่าง ๆ ในภาคเหนือได้แก่ ไทรบุรี และกลันตันซึ่งเดิมอยู่ภายใต้อำนาจของอาณาจักรนครศรีธรรมราช เมื่อนครศรีธรรมราชถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยารัฐมลายูเหล่านั้นจึงขึ้นกับสยามอาณาจักรอยุธยาด้วย มีการส่งบรรณาการเป็น[[ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง]]หรือเรียกว่า''บุหงามาศ'' (Bunga mas) ให้แก่อยุธยาเป็นระยะ รัชสมัยของ[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]สยามอยุธยาส่งกองทัพเข้าโจมตีรัฐมะละกาทางบกซึ่งเอกสารฝ่ายไทยและฝ่ายมลายูให้รายละเอียดเหตุการณ์ต่างกัน [[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)|''พงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)'']] ระบุว่า "ศักราช ๘๐๓ ปีระกาตรีศก ( ค.ศ. 1441) แต่งทัพไปเอาเมืองมะละกา"<ref>ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๔. '''พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ ( เจิม )'''.</ref> [[พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ|''พงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ'']]ระบุว่า "ศักราช ๘๑๗ กุนศก ( ค.ศ. 1455) แต่งทัพให้ไปเอาเมืองมลากา"<ref>'''พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ''' ฉบับพ.ศ. ๒๕๔๒</ref> ส่วน''สยาระฮ์มลายู''กล่าวว่ากษัตริย์สยามพระนามว่าบูบันยาร์ (Bubanyar) ทรงแต่งทัพเข้ารุกรานมะละกาสองครั้ง<ref>https://en.wikisource.org/wiki/Malay_Annals/Chapter_13</ref> ครั้งแรกนำโดยอาวีชาครี (Awi Chacri ออกญาจักรี?) ยกทางบกมายังเมืองปะหัง ครั้งที่สองนำโดยอาวีดีชู (Avidichu ออกญาเดโช?) ซึ่งทั้งสองครั้งแม่ทัพตุนเปรัก (Tun Perak) สามารถนำทัพมลายูขับทัพฝ่ายสยามออกไปได้