ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี (แช่ม)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ
บรรทัด 19:
'''พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี''' หรือ '''หลวงพ่อแช่ม''' อดีตเจ้าอาวาส[[วัดไชยธาราราม]]หรือวัดฉลอง และเป็นที่เคารพเลื่อมใสอย่างมากของชาวจังหวัดภูเก็ต
 
== ประวัติ ==
พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี (แช่ม) เกิดเมื่อปีกุน [[พ.ศ. 2370]] ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ที่ตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุด [[จังหวัดพังงา]] ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับนามของโยมบิดามารดาของท่าน เมื่อเจริญวัยขึ้นโยมบิดามารดาได้ให้ท่านมาอยู่ที่วัดฉลอง ตำบลฉลอง อำเภอทุ่งคา (ปัจจุบันคือ[[อำเภอเมืองภูเก็ต]]) [[จังหวัดภูเก็ต]] โดยฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของพ่อท่านเฒ่า เจ้าอาวาสวัดฉลองในเวลานั้น หลวงพ่อแช่มได้บรรพชาเป็นสามเณรและอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ศึกษาเล่าเรียนด้านวิปัสสนาธุระอยู่ที่วัดฉลองมาตลอดจนมีความเชี่ยวชาญ
 
หลวงพ่อแช่มเป็นผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสของชาวบ้านโดยทั่วไป ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2393]] พ่อท่านเฒ่ามรณภาพ หลวงพ่อแช่มได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดฉลองสืบต่อมา
 
ในปี [[พ.ศ. 2419]] เกิดการจลาจลขึ้นในเมืองภูเก็ตจากฝีมือของกลุ่ม[[อั้งยี่]]กรรมกรขุดแร่[[ดีบุก]]ชาวจีน ชาวบ้านฉลองที่เคยเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อแช่มได้ชักชวนให้หลวงพ่อแช่มหนีภัยพวกอั้งยี่ไปซ่อนตัวอยู่ที่อื่น แต่หลวงพ่อแช่มไม่ยอมทิ้งวัดหนีไป ลูกศิษย์ของหลวงพ่อแช่มจึงตัดสินใจรวมกลุ่มกันสู้เพื่อปกป้องหลวงพ่อแช่มและขอผ้าประเจียดจากท่านเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ซึ่งท่านได้อนุโลมตามที่บรรดาลูกศิษย์ขอร้อง ลูกศิษย์ชาวบ้านฉลองกลุ่มนี้ต่อมารบพวกอั้งยี่ชนะ ทำให้คนที่หนีภัยอั้งยี่กลับเข้ามารวมกลุ่มกันสู้พวกจีนอั้งยี่มากขึ้นและอาศัยผ้าประเจียดที่หลวงพ่อแช่มทำขึ้นเป็นเครื่องปลุกใจสำคัญ จนกระทั่งสามารถไล่พวกจีนอั้งยี่ไม่ให้เข้ามาปล้นหมู่บ้านฉลองได้อีก ในปีต่อมา ([[พ.ศ. 2420]]) เมื่อทางการปราบปรามจีนอั้งยี่ภูเก็ตจนราบคาบแล้ว คณะกรมการเมืองภูเก็ตได้ยกความดีความชอบส่วนหนึ่งในการปราบกบฏอั้งยี่ครั้งนี้ให้แก่หลวงพ่อแช่ม และเวลานั้นตำแหน่งพระครูสังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ตยังว่างอยู่ [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]จึงทรงพระกรุณาโปรดแต่งตั้งให้หลวงพ่อแช่มเป็นพระครูสังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ต สมณศักดิ์ที่ "พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี" และได้พระราชทานนามวัดฉลองใหม่ว่า "วัดไชยธาราราม" อนึ่งจากเหตุจลาจลอั้งยี่ดังกล่าว ทำให้ชาวเมืองภูเก็ตเชื่อว่า ที่ชาวบ้านฉลองรบชนะพวกจีน เพราะท่านพระครูวัดฉลองมีอิทธิฤทธิ์ในทางวิทยาคม จึงนับถือกันว่าท่านเป็นเกจิอาจารย์สำคัญคนหนึ่งมานับแต่นั้น
 
พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี (แช่ม) ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการอาพาธเป็นอุจจาระธาตุพิการ เมื่อวันที่ [[18 เมษายน]] [[พ.ศ. 2451]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2451/007/167_1.PDF ข่าวมรณภาพ], เล่ม 25, ตอน 7, 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2451, หน้า 167</ref> ได้มีการส่งหีบเพลิงไปพระราชทานเพลิงศพที่ภูเก็ต พร้อมเงิน 100 เฟื้อง ผ้าขาว 2 พับ เพื่อใช้ในการพระราชทานเพลิงศพตามธรรมเนียมเมื่อวันที่ [[5 เมษายน]] [[พ.ศ. 2452]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2452/D/78.PDF ส่งหีบเพลิงไปพระราชทาน], เล่ม 26, ตอน 0ง, 11 เมษายน พ.ศ. 2452, หน้า 79</ref>
 
== อ้างอิง ==
{{reflist}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==