ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เลียงผา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไข
ป้ายระบุ: ทำกลับ
วิชิต กองคำ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 37:
==ปัจจัยคุกคาม==
นอกจากการที่ป่าไม้อันเป็นที่พำนักถูกทำลายแล้ว เลียงผายังถูกไล่ล่าเพราะถูกเชื่อว่าเป็นสัตว์ที่ใช้น้ำมันในการรักษาบาดแผลที่ได้รับบาดเจ็บจากการพลัดตกเขาหรือบาดแผลจากการถูกยิงหรือสมานกระดูกที่หักได้ ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ดังนั้นจึงมีการล่าเพื่อเอาน้ำมันเลียงผาใช้ในการรักษาบาดแผลและสมานกระดูก ทำให้ในอดีตเลียงผาถูกล่าเป็นจำนวนมาก เลียงผาแต่ละตัวสามารถสร้างเงินรายได้ให้ผู้ประกอบการขายน้ำมันเลียงผาได้อย่างมหาศาล ด้วยกระบวนการนำหัวและกระดูกของเลียงผาไปต้มกับน้ำมันมะพร้าวแล้วใส่ขวดขนาด 100-150 ซีซี ขายกันในราคาขวดละ 10 บาท รายได้จึงขึ้นอยู่กับปริมาตรน้ำมันมะพร้าวที่ใส่ลงไป นอกจากการล่าแล้วการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยและการบุกรุกป่าเพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตร ทำให้หลายพื้นที่ในปัจจุบันเลียงผาถูกไล่ต้อนให้อยู่ตามภูเขาสูงโดยเฉพาะภูเขาหินปูน นอกจากนี้การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยบริเวณชายเขาหินปูนที่เลียงผามักจะลงมาหาน้ำและอาหารในที่ต่ำทำให้พื้นที่หากินลดลงและถูกล่าได้ง่ายขึ้น เลียงผาจึงลดจำนวนประชากรลงอย่างมาก นอกจากนี้การระเบิดภูเขาเพื่อการผลิตปูนซีเมนต์และเพื่อการผลิตหินคลุก เป็นการทำลายถิ่นที่อยู่ที่ปลอดภัยของเลียงผาโดยตรง<ref name="dnp"/>
 
== สถานภาพทางการอนุรักษ์ของเลียงผา ( Conservation status ) ==
แม้ว่าเลียงผาจะอาศัยอยู่ใน สภาพภูมิประเทศที่สูงชัน ยากแก่การที่มนุษย์จะเข้าถึง แต่จากปัจจัยคุกคามทั้งจากมนุษย์และสัตว์เลี้ยง ที่มีการบุกรุกพื้นที่ป่าที่เป็นแหล่งอาศัยของเลียงผามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลักลอบล่าเพื่อเอาเนื้อไปเป็นอาหาร ไขมันและไขกระดูกเอาไปทำน้ำมันที่มีความเชื่อว่ามีสรรพคุณทางยาในการรักษาโรคไขข้อได้ หรือการล่าเอาหัวไปขายแก่ผู้ที่ชอบสะสม การบุกรุกแผ้วถางพื้นที่ป่าเพื่อขยายพื้นที่ทำการเกษตร การเผาเพื่อเปิดพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ทำให้พื้นที่ที่เป็นแหล่งอาศัยของเลียงผาลดลง ทั้งยังปล่อยสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะวัว ควาย เข้าไปหากินในพื้นที่ป่าโดยอิสระซึ่งอาจนำโรคระบาดร้ายแรงไปสู่เลียงผาได้ จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้จำนวนเลียงผาลดประชากรลงอย่างมาก โดย จากการประเมินประชากรของเลียงผาในประเทศ ปัจจุบันมีประชากรในธรรมชาติประมาณ 1,000-1,500 ตัว (กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ,2549) ดังนั้นจึงได้มีการจัดสถานภาพทางการอนุรักษ์ เพื่อให้ความสำคัญทางด้านการอนุรักษ์เลียงผา ได้แก่
 
1. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
เลียงผาจัดเป็นสัตว์ป่าสงวน 1 ใน 15 ชนิดของประเทศไทย เป็นชนิดสัตว์ป่าที่มีสภาพเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง โดยห้ามมิให้ผู้ใดล่า ครอบครอง เพาะพันธุ์และการค้าซึ่งสัตว์ป่า รวมถึงซากของสัตว์ป่า เว้นแต่ได้รับอนุญาตตามแต่กรณีไป
2. อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (The Convention on International Trade in Endangered species of Wild Fauna and Flora, CITES)
เลียงผาถูกจัดอยู่ใน Appendix I ของ CITES หรือ ชนิดพันธุ์แนบท้ายบัญชีหมายเลข 1 กล่าวคือ เป็นชนิดพันธุ์ที่ห้ามทำการค้าโดยเด็ดขาด ยกเว้นกรณีพิเศษเพื่อการศึกษาหรือวิจัย เพราะเป็นสัตว์ชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์ การนำเข้าหรือส่งออกต้องได้รับการยินยอมจากประเทศที่จะนำเข้าก่อน ประเทศที่ส่งออกจึงจะออกใบอนุญาตได้ โดยต้องพิจารณาและคำนึงถึงการอยู่รอดของชนิดพันธุ์นั้นๆเป็นความสำคัญ หากไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกกฎหมาย
3. สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ(International Union of Conservation or Nature and Natural Resources หรือ World Conservative Union: IUCN)
การกำหนดสถานภาพของความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสัตว์ป่า ( The IUCN Red List of Threatened Animals) โดยเลียงผาถูกกำหนดอยู่ในสถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ( VU: Vulnerable ) ( IUCN 2008 ) ซึ่งหมายถึง สัตว์ป่าชนิดพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์จากพื้นที่ธรรมชาติในอนาคตข้างหน้าต่อไป ในการจัดลำดับสถานภาพทางการอนุรักษ์ดังกล่าวเพื่อ การโน้มน้าว สนับสนุน และส่งเสริมสังคมทั่วโลกให้ร่วมกันสงวนไว้ซึ่งความสมบูรณ์และความหลากหลายของธรรมชาติ และการรับประกันการใช้ทรัพยากรธรรมชาติใด ๆ จะเป็นไปอย่างเที่ยงธรรมและรักษาสภาพเชิงนิเวศไว้
 
 
==การจำแนกประเภท==