ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าฟ้าอภัยทศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18:
 
=== การผลัดแผ่นดิน ===
ขณะที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งขณะนั้นยังทรงพระประชวรใกล้แก่กาลสวรรคต พระองค์มีพระราชประสงค์ให้พระราชอนุชาเสวยราชสมบัติ<ref name="มอร์กาน"/> ด้วยเหตุนี้[[พระเพทราชา]]จึงวางอุบายเพื่อจะสำเร็จโทษเจ้านายผู้มีสิทธิธรรมในการสืบราชบัลลังก์ต่อจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยเจ้าฟ้าอภัยทศทรงเป็นหนึ่งในนั้นตามกฎมนเทียรบาล<ref name="ขจร"/> เพราะสมเด็จพระนารายณ์ไม่มีพระราชโอรส พระเพทราชาจึงแสร้งไปทูลเจ้านายสามพระองค์ว่า สมเด็จพระนารายณ์ทรงพระประชวรเพียบหนัก และเป็นหน้าที่ของตนที่จะสถาปนาเจ้านายที่เหลือขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์<ref>จดหมายเหตุ เรื่องการจลาจลครั้งใหญ่ในกรุงศรีอยุธยา และการขับไล่ชาวฝรั่งเศสออกจากกรุง, ''ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง'', หน้า 522</ref> เหล่าพระราชอนุชาและพระราชธิดาจึงเสด็จขึ้นไปยังเมืองลพบุรีด้วยความลังเล<ref>''ชิงบัลลังก์พระนารายณ์'', หน้า 18</ref> เจ้าฟ้าอภัยทศเข้าพระทัยว่าจริง จึงเสด็จลงเรือพระที่นั่งไปยังเมืองลพบุรี ครั้นไปถึงวัดพระพรหม ตำบลปากน้ำโพสพ ก็เสด็จแวะหาพระพรหมครูครู่หนึ่ง แล้วนมัสการลาลงเรือพระที่นั่งไปลพบุรี<ref name="พนรัตน์">''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน'', หน้า 369</ref>
 
เมื่อเจ้าฟ้าอภัยทศเสด็จไปถึง สมเด็จพระนารายณ์มหาราชสวรรคตไปแล้วครู่หนึ่ง<ref name="พนรัตน์"/> เบื้องต้นพระเพทราชาได้ถวายการต้อนรับเหล่าเจ้านายเป็นอย่างดี ก่อนลอบประหาร[[พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)|พระยาวิไชเยนทร์]] ต่อมาจึงได้จับกุมพระราชอนุชาคลุมด้วย[[ผ้ากำมะหยี่]]แล้ว[[การสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์|ทุบด้วยท่อนจันทน์]]<ref name="เดฟาร์จ">''ชิงบัลลังก์พระนารายณ์'', หน้า 39</ref> ณ [[วัดซาก]] [[จังหวัดลพบุรี|แขวงเมืองลพบุรี]]<ref name="หาวัด1"/> โดยเจ้านายที่ถูกต่อมาหลวงสรศักดิ์ เป็นผู้สำเร็จโทษการแทนตำแหน่งพระมหาอุปราช ให้ข้าหลวงไปคุมตัวสามพระองค์ไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ ได้แก่ เจ้าฟ้าอภัยทศ [[เจ้าฟ้าน้อย]]<ref>''เงาสยาม ยามผลัดแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์'', หน้า 230</ref> และ[[พระปีย์]]<ref name="เพ็ญสุภา"/> ที่ตำบลวัดซาก แขวงเมืองลพบุรีเช่นกัน<ref name="พนรัตน์"/> แต่[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]ทรงบันทึกไว้ว่าเจ้านายที่ถูกสำเร็จโทษเป็นพระราชอนุชาสองพระองค์คือ เจ้าฟ้าอภัยทศ พระอินทรราชาหรือพระองค์อินท์ และพระราชบุตรบุญธรรมคือ[[พระปีย์]]<ref>ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 81, ''ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง'', หน้า 509</ref> ส่วน[[กรมหลวงโยธาเทพ]] พระราชธิดาทรงถูกสงวนไว้สำหรับเป็นพระมเหสีของพระเพทราชา<ref>''ชิงบัลลังก์พระนารายณ์'', หน้า 40</ref><ref>''เงาสยาม ยามผลัดแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์'', หน้า 231</ref> แต่พระปีย์ พระราชบุตรบุญธรรมถูกสำเร็จโทษด้วยการผ่าร่างออกเป็นสามส่วน<ref>''หอกข้างแคร่ : บันทึกการปฏิวัติในสยาม และความหายนะของฟอลคอน'', หน้า 22</ref>
 
หลังการสวรรคตของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในวันถัดมา<ref name="เดฟาร์จ"/> พระเพทราชาจึงปราบดาภิเษกตนเองเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่<ref>จดหมายเหตุ เรื่องการจลาจลครั้งใหญ่ในกรุงศรีอยุธยา และการขับไล่ชาวฝรั่งเศสออกจากกรุง, ''ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง'', หน้า 531</ref>
บรรทัด 40:
* {{อ้างหนังสือ | ผู้แต่ง =| ชื่อหนังสือ = ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง | URL =| พิมพ์ที่ = แสงดาว | จังหวัด = กรุงเทพฯ | ปี = 2553 | ISBN = 978-616-508-073-6| จำนวนหน้า =536}}
* {{อ้างหนังสือ| ผู้แต่ง = | ชื่อหนังสือ = พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น| จังหวัด = นนทบุรี| พิมพ์ที่ = ศรีปัญญา| ปี = 2553| ISBN = 978-616-7146-08-9| จำนวนหน้า = 800}}
* {{อ้างหนังสือ| ผู้แต่ง = | ชื่อหนังสือ = พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน| จังหวัด = กรุงเทพฯ| พิมพ์ที่ = ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2008) จำกัด| ปี = 2563| ISBN = 978-616-514-650-0| จำนวนหน้า = 488}}
 
{{เรียงลำดับ|อภัยทศ}}