ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แม่แบบ:บทความคัดสรร/สิงหาคม 2563"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Simple Periodic Table Chart-en.svg|left|120x120px]]
'''[[ตารางธาตุ]]''' ''(ในภาพ)'' คือ การจัดเรียง[[ธาตุเคมี]]ในรูปแบบของตารางตาม[[เลขอะตอม]] [[การจัดเรียงอิเล็กตรอน]] และ[[สมบัติทางเคมี]]ที่ซ้ำกัน โดยจะใช้''[[แนวโน้มพิริออดิก]]''เป็นโครงสร้างพื้นฐานของตาราง แถวแนวนอนทั้ง 7 ของตารางเรียกว่า "[[คาบ (ตารางธาตุ)|คาบ]]" โดยปกติ[[โลหะ]]อยู่ฝั่งซ้ายและ[[อโลหะ]]อยู่ฝั่งขวา ส่วนแถวแนวตั้งเรียกว่า "[[หมู่ (ตารางธาตุ)|หมู่]]" ประกอบด้วยธาตุที่มีสมบัติทางเคมีคล้ายคลึงกัน มี 6 หมู่ที่ได้รับการตั้งชื่อที่ยอมรับกันทั่วไปและเลขหมู่ เช่น ธาตุหมู่ 17 มีชื่อว่า [[แฮโลเจน]] และธาตุหมู่ 18 มีชื่อว่า [[แก๊สมีตระกูล]] ตารางธาตุยังมีอาณาเขตรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอย่างง่าย 4 รูปที่เรียกว่า "[[บล็อกในตารางธาตุ|บล็อก]]" ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเติม[[ออร์บิทัลเชิงอะตอม]]ที่แตกต่างกัน ธาตุทุกตัวนับตั้งแต่มีเลขอะตอมเท่ากับ 1 ([[ไฮโดรเจน]]) จนถึง 118 ([[ออกาเนสซอน]]) ได้รับการค้นพบหรือสังเคราะห์ขึ้นมาแล้ว ทำให้ตารางธาตุในปัจจุบันมีครบทั้ง 7 คาบ ธาตุ 94 ตัวแรกพบได้ในธรรมชาติ แม้ว่าบางตัวอาจมีปริมาณน้อยและมีการสังเคราะห์ธาตุเหล่านั้นขึ้นก่อนที่จะพบในธรรมชาติก็ตาม ส่วนธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 95 ถึง 118 สังเคราะห์ขึ้นทั้งสิ้นในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์หรือในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ สำหรับธาตุที่มีเลขอะตอมสูงกว่านี้ ในปัจจุบันนักเคมีก็กำลังพยายามสร้างขึ้นมา ธาตุเหล่านี้จะเริ่มที่[[ตารางธาตุ (ขยาย)|คาบ 8]] และมีงานทฤษฎีต่าง ๆ ที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับธาตุในตำแหน่งเหล่านั้น [[นิวไคลด์กัมมันตรังสี]]สังเคราะห์จำนวนมากของธาตุที่พบได้ในธรรมชาติก็สร้างขึ้นในห้องปฏิบัติการด้วยเช่นกัน การจัดเรียงตารางธาตุสามารถใช้อธิบายความสัมพันธ์ของสมบัติธาตุต่าง ๆ และยังใช้ทำนายสมบัติทางเคมีและพฤติกรรมของธาตุที่ยังไม่ได้ค้นพบหรือสังเคราะห์ใหม่ [[ดมีตรี เมนเดเลเยฟ]] นักเคมีชาวรัสเซีย ตีพิมพ์ตารางธาตุในลักษณะแบบนี้เป็นคนแรกในปี พ.ศ. 2412 จัดโดยเรียงตามสมบัติทางเคมีของธาตุที่มีในขณะนั้น และเมนเดเลเยฟยังสามารถทำนายธาตุที่ยังไม่ค้นพบที่คาดว่าสามารถเติมเต็มช่องว่างในตารางธาตุได้ การทำนายของเขาส่วนใหญ่พิสูจน์แล้วว่าถูกต้อง แนวคิดของเมนเดเลเยฟก็ค่อย ๆ ขยายเพิ่มขึ้นและปรับปรุงด้วยการค้นพบหรือการสังเคราะห์ธาตุใหม่ ๆ และการพัฒนาแบบจำลองทางทฤษฎีใหม่ ๆ ที่ใช้อธิบายพฤติกรรมของธาตุเคมี ตารางธาตุในปัจจุบันให้กรอบความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์[[ปฏิกิริยาเคมี]] และนำไปใช้กันอย่างกว้างขวางในการศึกษาวิชา[[เคมี]] [[ฟิสิกส์นิวเคลียร์]] หรือวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ('''[[ตารางธาตุ|...อ่านต่อ]]''')
 
บทความคัดสรรก่อนหน้านี้: [[ไข้หวัดใหญ่]] – [[บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต]] – [[เฮาส์ เอ็ม.ดี.]]<div style="top:+0.2em; text-align:right;">'''[[วิกิพีเดีย:บทความคัดสรรประจำเดือน/พ.ศ. 2563|ที่เก็บถาวร]]''' &ndash; '''[[วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร|บทความคัดสรรอื่น ๆ]]'''</div>