ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:ArsaHuajaiit/ทดลองเขียน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ArsaHuajaiit (คุย | ส่วนร่วม)
บันทึก การแก้ไข
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:07, 31 กรกฎาคม 2563

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เป็นหน่วยงานในสภากาชาดที่มีหน้าที่ในการจัดหาโลหิตให้มีปริมาณเพียงพอ โดยจากผู้บริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจไม่หวังสิ่งตอบแทน เพื่อนำไปใช้รักษาผู้ป่วยทั่วประเทศ ทั้งในรูปโลหิต ส่วนประกอบโลหิต และผลิตภัณฑ์โลหิต ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้จัดตั้งศูนย์ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสมาขึ้น เพื่อเตรียมผลิตภัณฑ์จากพลาสมาใช้ในการรักษาผู้ป่วย ตามมติเห็นชอบจากสภากาชาดไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และองค์การเภสัชกรรม ศูนย์ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสมาฯ จัดตั้งขึ้นบนที่ดินของสภากาชาดไทย ที่ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ทั้งนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย พระราชทานนามอาคารว่า “ศูนย์ผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสมาสภากาชาดไทย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน พ.ศ. 2558”

ประวัติ

  • 18 มกราคม พ.ศ. 2495 หลังจากการประชุมสันนิบาตกาชาดครั้งที่ 17 เสร็จสิ้นลง ศาสตราจารย์นายแพทย์เฉลิม บูรณะนนท์ ผู้อำนวยการกองวิทยาศาสตร์ สภากาชาดไทย ในขณะนั้นได้นำมติดังกล่าวเสนอต่อกรรมการสภากาชาดไทยขอจัดตั้งแผนกบริการโลหิตขึ้นในกองวิทยาศาสตร์ งานบริการโลหิตของสภากาชาดไทยจึงได้เริ่มกิจการขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2495 เพื่อตอบสนองต่อข้อเสนอของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ
  • พ.ศ. 2496 หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต พร้อมด้วย พระประยูรญาติ ได้ประทานเงินสร้าง อาคารรังสิตานุสรณ์[1] เพื่อใช้เป็นที่ทำการแผนกบริการโลหิต
  • พ.ศ. 2498 ได้เริ่มมีหน่วยเคลื่อนที่ไปรับบริจาคโลหิตนอกสถานที่ โดยได้รับบริจาครถยนต์สำหรับใช้รับบริจาคโลหิต จากสมาคมเซนต์แอนดรูส์ กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2504 สภากาชาดไทย ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาและส่งเสริมผู้ให้โลหิตแห่งสภากาชาดไทยชุดแรกขึ้น เพื่อหาแนวทางให้มีการบริจาคโลหิตเพิ่มมากขึ้น โดยมี พลตรีศิริ สิริโยธิน เป็นประธานคณะกรรมการจัดหาและส่งเสริมผู้ให้โลหิตแห่งสภากาชาดไทยคนแรก
  • พ.ศ. 2506 รัฐบาลฝรั่งเศส ได้เสนอให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลไทยในด้านวิชาการ เพื่อจัดตั้งศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติขึ้น กระทรวงสาธารณสุข จึงเชิญสถาบันต่างๆ ที่มีบริการโลหิตเข้าร่วมประชุม ที่ประชุมมีมติเห็นชอบและมอบให้สภากาชาดไทย รับไปดำเนินการ
  • 14 ธันวาคม พ.ศ. 2508 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบให้รัฐบาลไทย รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลฝรั่งเศส เพื่อจัดตั้งศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ แล้วมอบให้สภากาชาดไทยรับไปดำเนินการ [2]
  • 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 รัฐบาลฝรั่งเศส กับรัฐบาลไทย ร่วมลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ[3] ณ กรุงเทพฯ และแต่งตั้ง นายแพทย์เฉลิม บูรณะนนท์ เป็นผู้อำนวยการคนแรก กิจการได้ขยายไปยังส่วนภูมิภาคโดยเปิดสาขาบริการโลหิตขึ้นตามจังหวัดต่างๆ เพื่อจัดหาโลหิตให้เพียงพอแก่ผู้ป่วยภายในจังหวัด
  • พ.ศ. 2511 รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณเป็นค่าก่อสร้างอาคารศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติและเครื่องเรือน รวมเป็นเงิน 6.1 ล้านบาท[4]
  • 14 มีนาคม พ.ศ. 2511 จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2520 รัฐบาลอนุมัติเงิน 14 ล้านบาทสร้างตึก 4 ชั้น เพื่อใช้เป็นสถานที่ผลิตพลาสมาแห้งและแยกส่วนประกอบโลหิต โดยวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520

ทำเนียบผู้บริหารศูนย์บริหารโลหิตแห่ง

  • รูปทำเนียบผู้บริหารศูนย์บริหารโลหิตแห่งชาติ[5]
  • พ.ศ. 2496 – 2517 นายแพทย์เฉลิม บูรณะนนท์
  • พ.ศ. 2517 – 2524 ศาสตราจารย์นายแพทย์บุญธรรม สุนทรเกียรติ
  • พ.ศ. 2524 – 2528 แพทย์หญิงประไพ ชูโต
  • พ.ศ. 2528 – 2541 ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ชัยเวช นุชประยูร
  • พ.ศ. 2541 – 2544 แพทย์หญิงศรีวิไล ตันประเสริฐ
  • พ.ศ. 2544 – 2549 แพทย์หญิงรัชนี โอเจริญ
  • พ.ศ. 2549 – 2559 แพทย์หญิงสร้อยสอางค์ พิกุลสด
  • พ.ศ. 2559 – 2562 นาวาโทหญิงแพทย์หญิงอุบลวัณณ์ จรูญเรืองฤทธิ์
  • พ.ศ. 2562 – 2563 ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ชัยเวช นุชประยูร
  • พ.ศ. 2563 – ปัจจุปัน รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ

โครงสร้างศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ

  • รูปโครงสร้างศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ [6]

หน้าที่ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติปัจจุบัน

  • จัดหาโลหิตและส่วนประกอบโลหิต เพื่อจ่ายให้กับโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด
  • จัดทำอุปกรณ์เจาะเก็บโลหิต เช่น ถุงบรรจุโลหิต
  • ผลิตน้ำยาตรวจหมู่โลหิตเพื่อใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ
  • ผลิตผลิตภัณฑ์โลหิตเพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วย
  • จัดทำแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของสาขาบริการโลหิตทั่วประเทศ
  • ให้การช่วยเหลือด้านการบริการโลหิตแก่ธนาคารโลหิตโรงพยาบาลต่าง ๆ
  • จัดการอบรมระยะสั้นงานบริการโลหิตให้กับบุคลากรที่ปฏิบัติงานทางธนาคารโลหิต
  • จัดตั้งภาคบริการโลหิตแห่งชาติ ให้ครบวงจร 12 ภาคทั่วประเทศ

ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ

  • ดำเนินงาน รับบริจาคโลหิต ตรวจคัดกรองโลหิต ตรวจ NAT ปั่นแยกส่วนประกอบโลหิต และจ่ายโลหิต ให้กับโรงพยาบาลเครือข่าย ได้แก่
    • ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 2 จังหวัดลพบุรี
    • ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 3 จังหวัดชลบุรี
    • ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 4 จังหวัดราชบุรี
    • ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา
    • ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 6 จังหวัดขอนแก่น
    • ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี
    • ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 8 จังหวัดนครสวรรค์
    • ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก
    • ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 10 จังหวัดเชียงใหม่
    • ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 11 อำเภอทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
    • ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 12 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
    • ภาคบริการโลหิตแห่งชาติจังหวัดภูเก็ต
  • ดำเนินงานรับบริจาคโลหิตเพียงอย่างเดียว
    • งานบริการโลหิต สถานีกาชาดหัวหินเฉลิมพระเกียรติ จ.ประจวบคีรีขันธ์

อ้างอิง