ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 2:
 
== ประวัติ ==
แนวความคิดที่จะนำ[[มหาวิทยาลัย]]ออกนอกระบบนั้นมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2507 ซึ่งจากกลุ่มผู้บริหารและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยกลุ่มหนึ่ง และได้ยื่นหลักการต่อเสนอเข้าคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2514 แต่เรื่องก็ชะงักลงเพราะบุคลากรมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย [[ถนอม กิตติขจร|จอมพล ถนอม กิตติขจร]] [[นายกรัฐมนตรีไทย|ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีจากการปฎิวัติในสมัยนั้น]] ซึ่ง ก็เลื่อนการพิจารณาและไม่ได้รับการเห็นชอบ เพียงแต่ได้มีการจัดตั้ง "ทบวงมหาวิทยาลัย" (ปัจจุบันคือ [[กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม]]) ขึ้น เพื่อดูแลมหาวิทยาลัยต่าง ๆ แทน[[สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)|สำนักนายกรัฐมนตรี]] ดังนั้นในยุคนี้ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จึงได้ย้ายไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย จากเดิมที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี แต่อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยก็ยังคงอยู่ภายใต้กฎหมายระเบียบของระบบราชการเช่นเดิม ซึ่งทำให้ขาดความคล่องตัวในการดำเนินงาน จึงได้มีความพยายามที่จะนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการเรื่อยมา ต่อมาในปี พ.ศ.2517 แนวคิดดังกล่าวก็ถูกรื้อฟื้นอีกครั้งเมื่อมีการแต่งตั้งคณะกรรมการวางพื้นฐานเพื่อการปฏิรูปการศึกษา แต่ไม่ประสบความสำเร็จ<ref>[https://thaipublica.org/2012/10/autonomous-university1/ มหาวิทยาลัยนอกระบบ(1): จุดเริ่มต้นสู่ปัจจุบัน?], ThaiPublica ไทยพับลิก้า: กล้าพูดความจริง</ref>
 
จนกระทั่ง พ.ศ. 2530 ทบวงมหาวิทยาลัยริเริ่มโครงการจัดทำแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี (พ.ศ. 2533–2547) ขึ้น ซึ่ง 1 ใน 6 ข้อเสนอระบุว่า “รัฐบาลพึงให้การสนับสนุนการปฏิรูปความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญากับรัฐ โดยพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยที่มีอยู่แล้วให้มีความเป็นอิสระ คล่องตัว มีประสิทธิภาพและสามารถบรรลุความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยปรับเปลี่ยนไปเป็นมหาวิทยาลัยที่ไม่เป็นส่วนราชการ ส่วนสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่จะจัดตั้งใหม่ ให้มีฐานะและรูปแบบเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการตั้งแต่แรกตั้ง”
 
ากแผนดังกล่าว ประเทศไทยจึงเกิดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแต่แรกตั้งอยู่ 3 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2533 สมัยพลเอก[[ชาติชาย ชุณหะวัณ|ชาติชาย ชุณหะวัณ เ]][[นายกรัฐมนตรีไทย|ป็นนายกรัฐมนตรี]] , มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2534 สมัยพลเอก[[ชาติชาย ชุณหะวัณ|ชาติชาย ชุณหะวัณ เ]][[นายกรัฐมนตรีไทย|ป็นนายกรัฐมนตรี]] และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2541 สมัย นายชวน หลีกภัย [[ชาติชาย ชุณหะวัณ|เ]][[นายกรัฐมนตรีไทย|ป็นนายกรัฐมนตรี]]
 
และในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี พ.ศ. 2541 นโยบายการออกนอกระบบก็ได้เป็นข้อตกลงหนึ่งที่ผูกพันกับสัญญาการกู้ยืมเงินกับ[[ธนาคารพัฒนาเอเชีย]] โดย[[รัฐบาลไทย|รัฐบาล]]มุ่งหมายลดงบประมาณในส่วนราชการให้สามารถเลี้ยงตนเองและบริหารงบประมาณเองได้ ในช่วงปี พ.ศ. 2542 เริ่มมีการเสนอให้มหาวิทยาลัยหรือ[[คณะวิชา]]ที่ตั้งขึ้นใหม่ "ออกนอกระบบ" ราชการ และมีการหยุดรับ[[ข้าราชการพลเรือนสามัญ|ข้าราชการ]]เข้ามาใน[[มหาวิทยาลัยรัฐ]]เดิมทั้งหมด ตำแหน่งที่บรรจุเข้ามาใหม่ เรียกว่า "[[พนักงานมหาวิทยาลัยไทย|พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา]]" ซึ่งมีกรอบเงินเดือนและสวัสดิการแตกต่างจากข้าราชการเดิม และหากผู้ที่เกษียณราชการไปให้ตำแหน่งและเงินเดือนนั้นเปลี่ยนเป็นตำแหน่งพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาในตำแหน่งเริ่มบรรจุใหม่เท่านั้น