ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรัชญาโบราณ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
{{ช่วยดูหน่อย}}
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
{{ช่วยดูหน่อย}}
บรรทัด 1:
'''การศึกษาประวัติปรัชญาตะวันตก''' นั้นกล่าวให้เข้าใจง่ายๆที่สุดก็คือการศึกษาแนวคิดทาง[[ปรัชญา]]โดยอิงอยู่กับช่วงสมัยใน[[ประวัติศาสตร์]] คือสนใจว่าแนวคิดปรัชญาดังกล่าวเกิดขึ้นมาในตอนไหน ก่อนหน้าช่วงเวลานั้นความคิดทางปรัชญาปรากฏอยู่เป็นอย่างไร ในสมัยที่แนวคิดทางปรัชญาหนึ่งๆปรากฏตัวขึ้นนั้นมีแนวคิดใดอีกบ้างที่ปรากฏอยู่ แนวคิดเหล่านั้นได้สนทนาโต้ตอบกันหรือไม่ อย่างไร และหลังจากนั้นเกิดอะไรกับทัศนะทางปรัชญาที่มีต่อมาขนาดไหน อย่างไรบ้าง
 
เป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าหน้าที่ของ[[นักประวัติศาสตร์]]นั้นคืออะไรกันแน่ ระหว่างการค้นหาและรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในอดีตเฉยๆ หรือว่าจะต้องให้คำอธิบายเหตุปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านั้นด้วย หรือว่าจะต้องมองให้ทะลุด้วยว่าสายโซ่ของเหตุการณ์ต่างๆเหล่านั้นมันถูกเชื่อมร้อยกันอยู่บนพื้นฐานของอะไร มีทิศทางที่เป็นสากลหรือว่าเป็นเพียงชุดของเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกันอยู่โดยบังเอิญ คนที่มองว่าประวัติศาสตร์มีทิศทางอย่างมีเหตุมีผลนั้น จะต้องสร้างทฤษฎีขึ้นมาเพื่อบอกให้เราเข้าใจว่าทิศทางหรือเหตุผลดังกล่าวคืออะไร ส่วนคนที่ปฏิเสธวิธีเข้าใจประวัติศาสตร์แนวนี้ก็อาจพยายามบอกว่าคนที่เข้าใจว่าประวัติศาสตร์มีทิศทางและเป็นเหตุเป็นผลนั้นถูกอะไรบางอย่างลวงให้คิดเช่นนั้น พวกที่ไม่เชื่อนี้จะสงสัยว่าเราอาจมีวิธีเข้าใจประวัติศาสตร์ในความหมายของ ''สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต''ได้ไม่จำกัดแบบ กล่าวง่ายๆคือเราเอง ซึ่งรวมนักประวัติศาสตร์ที่ทำงานยผ่านมาทั้งหมดด้วย นั้นเป็นผู้ที่ ''สร้าง ปั้น หรือ ประดิฐ '' ประวัติศาสตร์ เหล่านั้นขึ้นมาเอง ตามเงื่อนไขที่ขึ้นอยู่กับความสนใจ ความรู้ความเชื่อ อคติ ผลประโยชน์ อันจำเพาะเจาะจงของพวกนักประวัติศาสตร์ ที่ต่างพวก ต่างยุค ดังนั้นจึงไม่มีความจริงทางประวัติศาสตร์ที่มั่นคงถาวร บริสุทธิ์ รอคอยอยู่นิ่งๆให้เราไปค้นพบ
 
สิ่งที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้วางอยู่บนความเชื่อที่ว่าประวัติศาสตร์ที่บริสุทธิ์แท้จริงนั้นไม่มีอยู่ เนื่องจากดวงตาของเราที่จะเอาไว้ตรวจค้นเพื่อเข้าใจประวัติศาสตร์เหล่าน้น มันขุ่นมัวอย่างจำเป็น มันขุ่นมัวอยู่ด้วยความโง่เขลาและอคติบางอย่างที่เรามี แต่สิ่งที่อาจจะช่วยทำให้การพยายามเข้าใจประวัติศาสตร์ของเราไม่ได้ไร้ความหมาย และทำให้เราเหนื่อยเปล่า ก็คือความเข้าใจว่าเรามีปัญหาชีวิตที่จะต้องเผชิญอยู่ ทั้งโดยส่วนตัวและที่มีอยู่ร่วมกัน ''ประวัติปรัชญา'' ที่จะได้พยายามสาธยายออกมาให้ทราบกันต่อไปนี้ คือเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งในหลายเรื่องที่เป็นไปได้ แต่เป็นเรื่องเล่าที่มุ่งหวังจะเล่าขึ้นเพื่อช่วยให้เรานำไปใช้เพื่อการใช้ชีวิตของพวกเราเอง เพื่อเผชิญกับปัญหาส่วนตัวและส่วนรวมของพวกเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาในทางปัญญา ทางความเข้าใจ และทางความเชื่อ ที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังการตัดสินใจกระทำเกือบทุกอย่าง ที่พวกเรากระทำลงไปแล้วและจะได้กระทำต่อไป ถ้าท่านไม่เชื่อว่าว่าความคิดความเชื่อนั้นมีบทบาทอย่างสำคัญกำหนดการกระทำ ก็ขอให้ลองสมมติดูว่าท่านทนนั้งจ้องจดคอมพิวเตอร์นี้อยู่เพื่อหาความหมายบางอย่างจากมัน โดยที่ท่านไม่ได้ ''ตัวเอียง''คิดหรือเชื่อ''ตัวเอียง'' ว่ามีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยตัวหนึ่งที่ทำงานอยู่ได้อย่างออกจะเป็นอิสระจากการรับรู้ของท่านและตั้งอยู่ข้างหน้าท่าน ท่านจะพบว่าถ้าท่านไม่ได้เชื่อเช่นนั้น ท่านก็ไม่น่าจะทนจ้องมองจอของมันและทำอะไรบางอย่างกับ คีย์บอร์ดหรือเม้าส์ ที่อยู่ตรงมือของท่านอย่างที่ท่านได้เพิ่งกระทำลงไป (อ่านต่อวันหลัง)