ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การรถไฟแห่งประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Railway1234 (คุย | ส่วนร่วม)
Railway1234 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 112:
“รู้สึกว่า ราชการกรมรถไฟ เป็นราชการสำคัญและมีงานที่ต้องทำมาก เพราะเต็มไปด้วยความยุ่งยาก และฉันรู้สึกว่าเป็นเคราะห์ดีอย่างยิ่งที่ฉันได้เลือกให้ตัวเธอเป็นผู้บัญชาการรถไฟ และอาจพูดได้โดยไม่แกล้งยอเลยว่า ถ้าเป็นผู้อื่นเป็นผู้บัญชาการ การงานอาจยุ่งเหยิงมากจนถึงแก่เสียทีได้ทีเดียว เมื่อความจริงเป็นอยู่เช่นนี้ ฉันจึงได้มารู้สึกว่า
 
1) การงานกรมรถไฟไม่ใช่เป็นของที่จะวานให้เธอทำเป็นชั่วคราวเสียแล้ว จะต้องคิดอ่านเป็นงานแรมปี....
 
2) ฉันเห็นว่า เธอควรจะต้องให้เวลาและกำลังส่วนตัวสำหรับกิจการรถไฟนี้มากกว่าอย่างอื่น....
 
จึงขอบอกตามตรง และเธอต้องอย่าเสียใจว่าในขณะนี้ เธอมีหน้าที่ราชการหลายอย่างเกินไป จนทำให้ฉันนึกวิตกว่า ถึงแม้เธอจะเต็มใจรับทำอยู่ทั้งหมดก็ดี แต่กำลังกายของเธอจะไม่ทนไปได้ จริงอยู่ฉันได้ยินเธอกล่าวอยู่เสมอว่า “ยอมถวายชีวิต” แต่ฉันขอบอกอย่างดื้อๆ เพราะฉันรักเธอว่า ฉันไม่ต้องการชีวิตของเธอ ฉันต้องการใช้กำลังความสามารถของเธอมากกว่า”
กิจเบื้องแรกที่ทรงปฏิบัติ เมื่อทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงก็คือ การประกาศราชกฤษฎีการวมกรมรถไฟหลวงสายเหนือกับสายใต้เข้าเป็นกรมเดียวกัน ในการนี้ ได้ทรงมีแผนการแก้ไขทางสายเหนือซึ่งเป็นทางขนาดกว้าง ให้เป็นทางแคบขนาดเดียวกับทางสายใต้ และสามารถเดินรถไฟติดต่อกับสายสหรัฐมลายูซึ่งเป็นทางขนาดแคบเช่นเดียวกัน การดำเนินปฏิบัติตามแผนการนั้นเป็นมาโดยลำดับ<br>
</blockquote>
=== กรรมการชุดปัจจุบัน ===
* นาย จิรุตม์ วิศาลจิตร ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ
* ดร.ชยธรรม์ พรหมศร ดำรงตำแหน่งกรรมการ
* นาย อำนวย ปรีมนวงศ์ ดำรงตำแหน่งกรรมการ
* นางสาว ไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล ดำรงตำแหน่งกรรมการ
* นาย ธันวา เลาหศิริวงศ์ ดำรงตำแหน่งกรรมการ
* นาย พินิจ พัวพันธ์ ดำรงตำแหน่งกรรมการ
* นาง ศุกร์ศิริ บุญญเศรษฐ์ ดำรงตำแหน่งกรรมการ
 
ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายพลโท พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเลื่อนยศทหารขึ้นเป็นนายพลเอก เมื่อได้รวมการรถไฟสายเหนือและใต้เป็นกรมเดียวกันแล้ว ก็ได้ทรงเป็นผู้นำในการออกพระราชบัญญัติจัดวางทางรถไฟและทางหลวง พ.ศ.๒๔๖๔ รวมราชการกรมทางหลวงซึ่งแต่เดิมแยกบังคับบัญชาอยู่ในที่อื่น ให้มาอยู่ในบังคับบัญชาเดียวกัน และบัญญัติให้การรถไฟราษฎร์ที่ได้รับอนุญาต และรถไฟอุตสาหกรรมขึ้นอยู่กับสภากรรมการรถไฟ<br>
 
อนึ่ง นับแต่แรกที่ทรงปฏิบัติราชการในกรมรถไฟ พระองค์ทรงฝึกให้ข้าราชการไทย โดยการแนะนำสั่งสอนด้วยพระองค์เอง และโดยจัดให้มีนักเรียนสอบชิงทุนของกรมรถไฟออกไปศึกษาวิชาการรถไฟและการพาณิชย์ ณ ต่างประเทศ เพื่อเข้ามาสวมตำแหน่งสำคัญๆ แทนชาวต่างประเทศดั่งที่เคยจำเป็นต้องจ้างมาใช้แต่ก่อน ได้ทรงเริ่มนโยบายนี้เมื่อต้นปี พ.ศ.๒๔๖๑ และรุ่นสุดท้าย ได้ส่งไปในปี พ.ศ.๒๔๖๖ รวมเป็นนักเรียน รวมเป็นนักเรียน ๕๑ คน นโยบายนี้ได้รับผลอันสมบูรณ์ราวต้นปี พ.ศ.๒๔๗๕ นอกจากนั้น ยังทรงรับโอนนักศึกษาไทยที่ศึกษาอยู่ ณ ต่างประเทศแล้ว มาเป็นนักเรียนใช้ทุนของกรมรถไฟหลวงก็อีกหลายนาย ทรงเป็นผู้ก่อกำเนิดชักนำให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ผู้น้อยในกรมรถไฟมีความรู้สึกฉันมิตรซึ่งกันและกัน ร่วมมือฏิบัติราชการโดยมิให้เป็นไปเยี่ยงนายกับบ่าว ความร่วมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของข้าราชการกรมรถไฟนับแต่สมัยพระองค์ทรงบังคับบัญชา เป็นผลความเจริญแก่กรมรถไฟมาจนทุกวันนี้<br>
 
ครั้นเมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ นั้นเอง ประเทศสยามได้ประกาศสงครามกับประเทศเยอรมันนี้ ออสเตรียฮังการี ในขณะนั้นราชการของกรมรถไฟหลวงมีกิจการสำคัญอยู่ที่แผนกทางสายเหนือซึ่งได้ใช้ชนชาติเยอรมันประจำการอยู่เป็นอันมากแต่เดิมมา อาศัยพระปรีชาของพระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงดำเนินราชการในเหตุการณ์อันสำคัญนี้ด้วยความว่องไวสามารถ ได้ทรงจัดข้าราชการไทย และชนชาติสัมพันธมิตรเข้ารับเปลี่ยนหน้าที่การงานกับชนชาติศัตรูโดยฉับพลัน ได้จัดให้การก่อสร้างแลการเดินรถไฟคงให้ดำเนินเป็นปกติเรียบร้อยโดยตลอด มิได้มีเหตุเสียหายเลย<br>
 
อนึ่ง ทรงพระราชดำริเห็นว่า กรมทางซึ่งแต่เดิมได้แยกความบังคับบัญชาอยู่ต่างหาก โดยพระบรมราชประสงค์เพื่อดำเนินการคมนาคมของประเทศให้โยงเนื่องต่อกันเป็นระเบียบ และเพื่อประหยัดพระราชทรัพย์แผ่นดินที่ต้องใช้จ่ายอยู่ในแผนกกรมทางให้โยงเนื่องติดต่อกันเป็นระเบียบ และเพื่อประหยัดพระราชทรัพย์แผ่นดินที่ต้องใช้จ่ายอยู่ในแผนกกรมทางให้ลดน้อยลง ทั้งเพื่อได้บำรุงทางให้นำประโยชน์มารวมเข้าในทางรถไฟ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนกรมทางมาขึ้นอยู่ในกรมรถไฟแผ่นดิน พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน ก็ได้ตั้งพระทัยรับราชการสนองพระเดชพระคุณโดยเต็มพระกำลังความสามารถ ทรงจัดวางระเบียบแบบแผนดำเนินการที่จะให้ทางหลวงอันสำคัญสำเร็จลุล่วงไปโดยเร็วสมพระราชประสงค์ ในระยะเวลาที่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงรับราชการเป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟแผ่นดินและกรมทาง ได้ทรงจัดราชการให้เป็นปึกแผ่นเจริญมั่นคงยิ่งขึ้นเป็นอันมาก คือ ได้จัดวางระเบียบการสำรวจทำทะเบียนที่ดินของกรมรถไฟเพื่อรักษาผลประโยชน์และสมบัติของแผ่นดินให้เป็นหลักฐานยิ่งขึ้น และได้ทรงจัดการก่อสร้าทางรถไฟสายใต้ให้เป็นอันบรรลุแล้วเสร็จตามกำหนดที่ได้มุ่งหมายไว้ในหนังสือสัญญา และได้จัดการเดินรถติดต่อถึงกันกับรถไฟสายแหลมมลายู ส่วนทางรถไฟสายเหนือก็ได้ก่อสร้างไปจนถึงที่สุดปลายทางที่นครเชียงใหม่ ซึ่งได้กำหนดไว้แต่เดิม เป็นอันผูกโยงแว่นแคว้นแห่งพระราชอาณาจักรให้ต่อเนื่องไปมาถึงกันกับกรุงเทพพระมหานครได้โดยสะดวกรวดเร็วแล้ว และยังมีการสร้างทางรถไฟไปยังอุบลราชธานีอีกสายหนึ่ง ไปยังอรัญประเทศซึ่งติดต่อกับเขตแดนเขมรอีกสายหนึ่ง และจัดการเชื่อมทางรถไฟในฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกแห่งลำแม่น้ำเจ้าพระยา โดยสร้างสะพานข้ามแม่น้ำให้ขบวนรถเดินถึงกันได้เพื่อความสะดวกในการรับส่งสินค้าและการปกครองอันยังกำลังจัดทำอยู่บัดนี้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน ก็ได้ทรงพยายามจัดการดำเนินตามพระบรมราโชบายที่จะให้ราชการเป็นผลสำเร็จลุล่วงไปตามพระราชประสงค์ที่กำหนดไว้นั้นทุกประการ<br>
 
กิจการรถไฟได้ดำเนินเจริญขึ้นสืบมาตามโครงการของพระองค์ มีการสร้างสะพานพระราม ๖ ซึ่งแล้วเสร็จเปิดใช้งานได้ในต้นรัชกาลที่ ๗ มีการเปิดเดินรถด่วนสายเหนือถึงเชียงใหม่ และเดินรถเชื่อมกับรถไฟมลายู ตั้งแต่ต้นเดือน มกราคม ๒๔๖๔ การจัดหัวหินเป็นทำเลตากอากาศ ขยายความเจริญให้ราษฎรในท้องถิ่นด้วยการเสนอออกพระราชบัญญัติจัดบำรุสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตก พ.ศ.๒๔๖๙ ทรงปฏิบัติราชการด้วยความอุตสาหะเป็นกำลังสำคัญของบ้านเมืองตลอดมา ครั้นในรัชกาลที่ ๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม และให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นี้ทรงตำแหน่งเสนาบดี เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐
 
 
 
 
</blockquote>
=== หน่วยงานส่วนกลาง ===
* [[ศูนย์บริหารความเสี่ยง]] (ผู้อำนวยการศูนย์บริหารความเสี่ยง : ศคส.)