ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาอมรฤทธิธำรงค์ (บุญชู บุนนาค)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 22:
พระยาอมรฤทธิธำรงเริ่มต้นรับราชการเป็นเสมียนในกรมปลัดบัญชี [[กระทรวงมหาดไทย]] เมื่อ พ.ศ. 2444 ขณะอายุเพียง 18 ปีจากนั้นในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2451 จึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น นายจำนงราชกิจ หุ้มแพรวิเศษ กรมพระอาลักษณ์ ถือศักดินา ๕๐๐ ขณะอายุได้ 25 ปีต่อมาในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2453 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น หลวงมหาสิทธิโวหาร และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้แต่งเครื่องแต่งตัวอย่าง มหาดเล็กชั้นที่ 2 ตรีเทียบเท่าชั้นจ่า เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2454 ต่อมาได้รับพระราชทานตราวชิรมาลาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 และโปรดเกล้าฯ ให้แต่งเครื่องแต่งตัวอย่างมหาดเล็กชั้นที่ 2 เอกเทียบเท่าชั้น หัวหมื่นมหาดเล็ก เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2454 รวมถึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น [[ตริตาภรณ์มงกุฎไทย]] ในงานสวดมนต์พระราชพิธีฉัตรมงคลเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454
 
ถึงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2455 หลวงมหาสิทธิโวหารจึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น พระยาราชสาสนโสภณ มีตำแหน่งราชการใน กรมราชเลขานุการ พร้อมกับเลื่อนยศเป็น จางวางตรี ในวันเดียวกันและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนชั้น [[ทุติยจุลจอมเกล้า]] เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 โดยดำรงตำแหน่ง ราชเลขานุการในพระองค์
 
แต่ในเวลาต่อมา พระยาราชสาสนโสภณ พ้นจากตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2456 เนื่องจากปฏิบัติราชการเป็นที่เสื่อมเสียมัวหมองโดยมี [[พระยาบุรีนวราษฐ์ (ชวน สิงหเสนี)]] ซึ่งดำรงตำแหน่งราชเลขานุการฝ่ายต่างประเทศมาดำรงตำแหน่งแทนอีกตำแหน่งหนึ่ง นอกจากนี้ยังได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เรียกคืนพานทองเครื่องยศและเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากพระยาราชสาสนโสภณเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2456 นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้เรียกคืนยศทั้งหมดของพระยาราชสาสนโสภณอาทิ
 
* จางวางตรี
* มหาเสวกตรี
* นายกองตรี
* นายร้อยเอกในกรมทหารรักษาวัง
 
เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2457 ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะได้รับโปรดเกล้าฯ ให้กลับเข้ารับราชการและได้คืนบรรดาศักดิ์
 
== ยศและบรรดาศักดิ์ ==