ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าคนุตมหาราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ชาวไทย (คุย | ส่วนร่วม)
ปรับเนื้อหาให้ตรงกับวิกิภาษาอังกฤษ
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 64:
เจ้าชายฮารัลด์ พระราชโอรสพระองค์เล็กจึงขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งเดนมาร์กต่อจากพระองค์ ในขณะที่ชาวไวกิงและราษฏรในบริเวณ[[เดนลอว์]]ลงมติเลือกพระเจ้าคนุตเป็นกษัตริย์อังกฤษโดยทันที<ref name="Sawyer, p. 171">Sawyer, ''History of the Vikings'', p. 171</ref> แต่ขุนนางชาวอังกฤษไม่เห็นด้วย [[สภาวิททัน]]จึงได้ทูลเชิญพระเจ้าแอเธลเรดกลับมาจากนอร์ม็องดี ไม่นานนักพระเจ้าแอเธลเรดก็ทรงนับทัพขับไล่พระเจ้าคนุต ซึ่งทรงหลบหนีไปพร้อมกับกองทัพของพระองค์และตัวประกันจํานวนหนึ่ง ซึ่งต่อมาถูกทรมาณระหว่างเดินทางและสุดท้ายก็ถูกทิ้งไว้ที่ชายฝั่งของเมือง[[แซนด์วิช เคนต์|แซนด์วิช]]<ref name="Lawson, Cnut, p. 27">Lawson, ''Cnut'', p. 27</ref> หลังจากนั้นพระเจ้าคนุตจึงได้เสด็จไปพบกับพระเจ้าฮารัลด์ที่ 2 พระราชอนุชา และทรงเสนอให้ทรงปกครองร่วมกัน แต่พระเจ้าฮารัลด์ไม่ทรงเห็นชอบด้วย<ref name="Sawyer, p. 171"/> พระเจ้าฮารัลด์ทรงยื่นข้อเสนอใหม่ให้แก่พระเจ้าคนุตเป็นผู้บังคับปัญชากองกําลังรุกรานอังกฤษระลอกใหม่ โดยมีข้อแม้ว่าพระเจ้าคนุตจะต้องสละสิทธิ์ในราชบัลลังก์เดนมาร์ก<ref name="Sawyer, p. 171"/> อย่างไรก็ดี พระเจ้าคนุตก็สามารถรวบรวมเรือเพื่อใช้ในการรุกรานได้สําเร็จ<ref name="Lawson, Cnut, p. 27"/>
 
== กษัตริย์แห่งการพิชิตอังกฤษ ==
[[File:U 194, Väsby.JPG|thumb|upright| [[หินรูน]] (runestone) [[หินรูนในประเทศอังกฤษ#ยู 194|หมายเลขยู 194]] เป็นจารึกเกี่ยวกับไวกิงนามว่าเอลลี (Alli) ซึ่งบันทึกไว้ว่าเขา "ได้รับพระราชทานบําเหน็ดจากพระเจ้าคนุตในอังกฤษ" (''He won Knútr's payment in England'')]]
เมื่อเอเธลเร็ดผู้ไร้ประสิทธิภาพสวรรคตในปีค.ศ.1016 ชาวลอนดอนเลือกพระโอรสของพระองค์ [[พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 2 แห่งอังกฤษ|เอ็ดมันด์จอมพลัง]] เป็นกษัตริย์ แต่[[สภาวิททัน|สภาวิทัน]]เลือกคานุต หลังการสู้รบอย่างต่อเนื่องกับเอ็ดมันด์ คานุตได้รับชัยชนะที่สมรภูมิแห่งแอชิงดอน (แอชิงดาวน์) –และเอ็ดมันด์ร่างสนธิสัญญาแห่งออลนี่ย์ แบ่งเดนลอว์และอังกฤษตอนกลางให้คนุต ขณะที่เอ็ดมันด์ได้ปกครองอังกฤษตอนใต้ต่อไป ซึ่งเป็นเหมือนการซ้ำรอยสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชแห่งเวสเซ็กซ์กับชาวไวกิงในศตวรรษที่ 9 เอ็ดมันด์สวรรคตหนึ่งเดือนต่อมาในวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ.1016 คานุตจึงขึ้นเป็นกษัตริย์ของอังกฤษทั้งหมด พิธีราชาภิเษกของพระองค์จัดขึ้นที่ลอนดอนในช่วง[[คริสต์มาส|คริสมาสต์]]
[[พระเจ้าโบเลสวัฟที่ 1 ผู้กล้าหาญ|โบเลสวัฟที่ 1 ผู้กล้าหาญ]] [[รายพระนามพระมหากษัตริย์โปแลนด์|ดยุกแห่งโปแลนด์]] (ภายหลังทรงได้รับการราชาภิเษกเป็นกษัตริย์) พระราชมาตุลา (ลุงฝ่ายแม่) ของพระเจ้าคนุตได้ให้พระองค์ยืมทหาร[[ชาวโปแลนด์|ชาวโปล]]จํานวนหนึ่ง<ref name="Lawson, Cnut, p">Lawson, ''Cnut'', p. 49.</ref> ซึ่งอาจจะเป็นข้อตกลงที่ทรงให้ไว้กับพระเจ้าคนุตและพระราชอนุชาเมื่อคราวที่ทั้งสองพระองค์ทรงเสด็จไปรับพระราชมารดากลับเดนมาร์กในฤดูหนาว พระนางทรงถูกขับไล่จากราชสํานักหลังจากพระเจ้าสเวนทรงอภิเษกสมรสใหม่กับ[[ซิกริดผู้ทรนง]]พระมเหสีม่ายของ[[พระเจ้าอีริค ผู้ชนะแห่งสวีเดน]]ในปี ค.ศ. 995 การอภิเษกสมรสดังกล่าวได้สร้างพันธมิตรระหว่าง[[พระเจ้าโอลอฟ สก็อทโคนุงแห่งสวีเดน|พระเจ้าโอลอฟ สก็อทโคนุง]] กษัตริย์แห่งสวีเดนพระองค์ใหม่กับราชวงศ์เดนมาร์กในขณะนั้น<ref name="Lawson, Cnut, p"/> เดนมาร์กจึงได้สวีเดนมาเป็นพันธมิตรในการรุกรานอังกฤษ อีกหนึ่งพันธมิตรของพระเจ้าคนุตคือ [[อีริค โฮกุนนาร์สัน]] (Eiríkr Hákonarson) [[เอิร์ลแห่งเลด]] ผู้ปกครองร่วมแห่งนอร์เวย์กับพี่ชายต่างมารดา [[สเวน โฮกุนสัน]] (Sweyn Haakonsson) และมีความเกี่ยวดองกับราชวงศ์เดนมาร์กด้วย นอร์เวย์ตกอยู่ภายใต้การปกครองของเดนมาร์กมาตั้งแต่หลัง[[ยุทธการโซลเวเดอร์]] (Battle of Svolder) ในปี ค.ศ. 999 ในระหว่างที่อีริคไปร่วมทัพของพระเจ้าคนุต โฮกุน ผู้เป็นบุตรชายของเขาเป็นผู้แทนในการปกครองนอร์เวย์ร่วมกับสเวน
 
ในหน้าร้อนของปี ค.ศ. 1015 กองเรือของพระเจ้าคนุตก็เริ่มออกเดินทางไปยังอังกฤษพร้อมกับไพร่พลประมาณ 10,000 นาย ด้วยกองเรือจํานวน 200 ลํา<ref>Trow, ''Cnut''</ref> กองทัพของพระองค์ถือเป็นการรวมตัวของ[[ชาวไวกิง]]จากทั่ว[[สแกนดิเนเวีย]] กองกําลังของพระองค์จะเผชิญหน้ากับฝ่ายอังกฤษภายใต้การนําของ[[พระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 2 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าเอ็ดมันด์ผู้ทนทาน]]ในสมรภูมิรบอันดุเดือดไปอีกกว่าสิบสี่เดือน
ในช่วงรัชสมัยของพระองค์ คานุตเป็นผู้นำที่รุนแรง ใช้การประหารชีวิตและขับไล่ออกจากประเทศในการรักษาตำแหน่งกษัตริย์แห่งจักรวรรดิทะเลเหนือที่ไม่มั่นคงของพระองค์ ทรงวางแผนปลงพระชนม์พระอนุชาของเอ็ดมันด์จอมพลัง พระราชบุตรของเอ็ดมันด์ถูกขับไล่ออกจากอังกฤษไปอยู่[[ประเทศฮังการี|ฮังการี]]เพื่อความปลอดภัย สองสามปีต่อมาเมื่อตำแหน่งของพระองค์มั่นคงขึ้น พระองค์ก็เลือกใช้นโยบายที่รุนแรงน้อยลง และยอมให้ชาวแซ็กซันเข้ามามีตำแหน่งในอำนาจมากขึ้น
 
===การขึ้นฝั่งในเวสเซกซ์===
เพื่อแสดงท่าทีประนีประนอม คานุตตัดขาดกับพระมเหสี [[เอลฟ์จิฟูแห่งนอร์แธมตัน|เอลฟ์จิฟู]] และอภิเษกสมรสกับพระมเหสีม่ายของเอเธลเร็ด [[เอ็มมาแห่งนอร์มังดี สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ|เอ็มม่าแห่งนอร์ม็องดี]] พระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งเดนมาร์กในปีค.ศ.1019 และแห่งนอร์เวย์ในปีค.ศ.1028 ทำให้พระองค์เป็นผู้ปกครองของจักรวรรดิขนาดใหญ่รอบ[[ทะเลเหนือ]] คานุตเปลี่ยนมานับถือ[[ศาสนาคริสต์]]และปวารณาตนเป็นผู้ทักษ์ศาสนจักร ทรงเลื่อนตำแหน่งให้ผู้นำของคาสนจักรอังกฤษและได้รับการยอมรัยจากโป๊ปว่าเป็นไวกิงคนแรกที่เป็นกษัตริย์ชาวคริสต์ การเสด็จพระราชดำเนินไปจาริกแสวงบุญที่โรมในปีค.ศ.1027 แสดงให้เห็นถึงความเคารพและการอ่อนน้อม และเมื่อเสด็จกลับอังกฤษ พระองค์สัญญากับไพร่ฟ้าชาวแซ็กซันว่าจะทรงปกครองด้วยความเมตตาและยุติธรรม คานุตเป็นที่จดจำในฐานะกษัตริย์ที่ฉลาดเฉลียว ประสบความสำเร็จ และเก่งกาจ แม้ว่าอาจจะมาจากการปรนเปรอศาสนจักรที่เป็นผู้บันทึกประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานั้น พระองค์ถูกพรรณนาว่าเป็นชายที่เคร่งศาสนาและอุทิศตน แม้จะมีความสัมพันธ์ที่เป็นบาปกับพระสนม เอลฟ์จิฟู ที่เป็นพระมเหสีพระองค์แรกและประสูติพระโอรสนอกกฎหมายสองพระองค์ [[พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุต|แฮโรลด์]]และสเวน ทั้งยังทรงปฏิบัติต่อศัตรูชาวคริสต์อย่างรุนแรง
[[พงศวดารปีเตอร์บะระ]] อันเป็นหนึ่งในพงศาวดารชุด ''[[บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน]]'' บันทึกไว้ว่าในต้นเดือนกันยายน ค.ศ. 1015 "[พระเจ้าคนุต] ทรงมาถึง[[แซนด์วิช เคนต์|แซนด์วิช]] และทรงแล่นเรือผ่าน[[เคนต์]]และ[[ราชอาณาจักรเวสเซกซ์|เวสเซกซ์]] จนกระทั้งพระองค์ทรงมาถึงปาก[[แม่นํ้าโฟรม ดอร์เซต|แม่นํ้าโฟรม]] และขึ้นฝั่งที่[[ดอร์เซต]] [[วิลต์เชอร์]]และ[[ซัมเมอร์เซต]]"<ref>Garmonsway, G.N. (ed. & trans.), ''The Anglo-Saxon Chronicle'', Dent Dutton, 1972 & 1975, Peterborough (E) text, s.a. 1015, p. 146.</ref> เป็นจุดเริ่มต้นของการทัพขนาดมหึมาที่สุดนับตั้งแต่รัชสมัยของ[[พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช]]<ref name="Lawson, Cnut, p. 27"/> บทสรรเสริญราชินีเอ็มมาได้บรรยายเกี่ยวกับกองเรือของพระองค์ไว้ดังนี้:
{{quote|ณ ที่นั้นมีโล่หลากชนิด ซึ่งทําให้ท่านเชื่อได้ว่าไพร่พลจากนานาชนชาติได้มาถึงยัง ณ ที่แห่งนี้...หัวเรือเป็นประกายด้วยทองคํา แร่เงินสะท้อนแสงไปตามเรือหลายรูปทรง....ใครเล่าจะกล้าเชิดหน้าขึ้นมามองเหล่าราชสีห์ของศัตรู ต่างสั่นกระทาด้วยกลัวความระยับของทองคําและเหล่านักรบผู้น่าครันครามด้วยใบหน้าอันเรียบนิ่ง....เรือของพวกเขานําพามาซึ่งความตาย แลแตรของพวกเขาระยิบไปด้วยทอง ใครเล่าจะไม่รู้สึกหวั่นเกรงกษัตริย์ผู้มีกองทัพเช่นนี้? มิหนำซ้ำ กองกําลังนี้มิมีไพร่พลใดที่เป็นทาสหรือผู้ที่เคยเป็นทาส ไม่มีคนซาติกําเนิดตํ่าต้อย ไม่มีไพร่พลที่อ่อนแอด้วความชราของอายุ ด้วยพวกเขาทั้งหมดต่างเป็นผู้มีชาติตระกูล แลแข็งแรงด้วยกําลังวังชาของคนวัยหนุ่ม ชํานาญการต่อสู้ทุกแขนงแลการเรือ พวกเขาเคลื่อนที่ด้วยความเร็วยิ่งกว่าพลทหารม้า|''อิโครนัม เอ็มมา เรจีนา''<ref>Campbell, A. (ed. & trans.), ''Encomium Emmae Reginae'', Camden 3rd Series vol. LXXII, 1949, pp. 19–21.</ref>}}
 
[[ราชอาณาจักรเวสเซกซ์|เวสเซกซ์]]ซึ่งถูกปกครองโดยราชวงศ์ของพระเจ้าแอเธลเรดมาเป็นเวลานานยอมจำนนกับกองกำลังของพระเจ้าคนุตในปลายปี ค.ศ. 1015 ดั่งเช่นที่ยอมจํานนกับกองกําลังของพระราชบิดาของพระองค์เมื่อสองปีก่อนหน้า<ref name="Lawson, Cnut, p. 27"/> ณ จุดนี้ [[เอ็ดริก สโตรนา]] (Eadric Streona) [[เอิร์ลแห่งเมอร์เซีย|เอลโดเมนแห่งเมอร์เซีย]] ได้แปรพักตร์จากฝ่ายของพระเจ้าแอเธลเรดไปพร้อมกับเรือ 40 ลํา รวมถึงลูกเรือจํานวนหนึ่ง และเข้าไปสวามิภักดิ์กับพระเจ้าคนุต<ref name="G. Jones, Vikings, p. 370">G. Jones, ''Vikings'', p. 370</ref> ผู้แปรพักตร์อีกคนได้แก่[[ธอร์เคลตัวสูง|ธอร์เคล]] ผู้นำของชาวจอมสซึ่งเคยต่อสู้กับกองกําลังของ[[พระเจ้าสเวน ฟอร์กเบียร์ด]]ให้กับฝ่ายอังกฤษ<ref name="Lawson, Cnut, p. 27"/>—สาเหตุของการแปรพักตร์สามารถพบได้ใน ''[[จอมสไวกิงซากา]]'' (Jómsvíkinga saga) ซึ่งกล่าวถึงการถูกโจมตีของทหารรับจ้างชาวจอมสบอร์กในอังกฤษ โดยหนึ่งในผู้เสียชีวิตนั้นมีเฮนนิงค (Henninge) น้องชายของธอร์เคลรวมอยู่ด้วย<ref name="Trow, Cnut, p. 57">Trow, ''Cnut'', p. 57.</ref> หากเรื่องที่บันทึกไว้ใน ''[[แฟลร์ทิยาร์ลบก]]'' นั้นเป็นความจริงที่ว่าพระเจ้าคนุตทรงได้รับการอบรมจากธอร์เคล มันจะสามารถอธิบายสาเหตุที่พระเจ้าคนุตทรงรับเขาเข้ามาในกองทัพของพระองค์ได้ กองเรือจํานวน 40 ที่เอ็ดริกนํามาด้วย ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นกองเรือของเขต[[เดนลอว์]]<ref name="Trow, Cnut, p. 57"/> แท้จริงแล้วอาจจะเป็นของธอร์เคล<ref>Lawson, ''Cnut'', p. 161</ref>
ในด้านการบริหารปกครอง คานุตแบ่งอังกฤษออกเป็นสี่เขตการปกครอง [[ราชอาณาจักรเวสเซกซ์|เวสเซ็กซ์]]ยังคงเป็นเมืองหลักและได้รับการปกครองโดยตรงจากพระองค์, [[ราชอาณาจักรอีสต์แองเกลีย|อีสต์แองเกลีย]]อยู่ภายใต้ผู้แทนพระองค์ เอิร์ลเธอร์คิลล์, เอ็ดริค สเตรโอน่า คนกลับกลอกและทรยศได้รับรางวัลจากถวายตัวรับใช้ด้วยการได้รับการแต่งตั้งเป็นเอิร์ลแห่ง[[ราชอาณาจักรเมอร์เซีย|เมอร์เซีย]], พระญาติของพระองค์ อีริค ขึ้นเป็นอุปราชแห่ง[[ราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรีย|นอร์ธัมเบรีย]]
 
เอ็ดริค สเตรโอน่าไม่พอใจกับตำแหน่งใหม่ที่สูงส่งของตน เขามองว่าคานุตให้รางวัลที่ไม่ดีพอ เขาทะเลาะเบาะแว้งกับกษัตริย์ ด้วยความเดือดดาล สเตรโอน่าอ้างว่าทุกอย่างเป็นเพราะเขาทอดทิ้งเอ็ดมันด์จอมพลังได้อย่างถูกเวลา คานุตจึงได้ครองบัลลังก์ คานุตที่ระวังพระองค์ตอบกลับมาว่าคนที่เคยหักหลังเจ้านายของตนย่อมทำแบบเดิมอีก ขณะที่สเตรโอน่าขัดแย้งกับกษัตริย์อยู่ อิริคแห่งนอร์ธัมเบรียก็ก้าวออกมาและจามเขาด้วยขวาน ร่างของเขาถูกโยนลงแม่น้ำเธมส์ ส่วนศีรษะถูกเสียบบนสะพานลอนดอน
 
คานุตยืนกรานว่าอาณาจักรของพระองค์ควรถูกปกครองต่อไปด้วยกฎหมายที่วางโดย[[พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ|เอ็ดการ์ผู้รักสงบ]] ทำให้พระองค์ได้รับความนิยมอย่างมาก และทรงตรากฎหมายเพิ่มว่าห้ามกระทำพิธีกรรมนอกรีต
 
== กษัตริย์แห่งจักรวรรดิทะเลเหนือ ==