ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
 
== ประวัติศาสตร์ ==
ความเป็นไปได้ของ[[ภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิม|ต้นกำเนิดร่วม]]ของภาษาต่าง ๆ เหล่านี้ เสนอเป็นครั้งแรกโดย[[วิลเลียม โจนส์ (นักภาษา)|เซอร์วิลเลียม โจนส์]] ซึ่งได้สังเกตเห็นความเหมือนกันระหว่างภาษาที่เก่าแก่ที่สุด 4 ภาษาที่รู้จักในยุคนั้น คือ [[ภาษาละติน]] [[ภาษากรีก]] [[ภาษาสันสกฤต]] และ[[ภาษาเปอร์เซีย]] การเปรียบเทียบภาษาเหล่านี้ และภาษาเก่าแก่อื่น ๆ อย่างมีระบบ โดย[[ฟรานซ์ บอปป์]] สนับสนุนทฤษฎีนี้ ใน[[คริสต์ศตวรรษที่ 19]] นักวิชาการเคยเรียกภาษากลุ่มนี้ว่า "ภาษากลุ่มอินโด-เจอร์แมนิก" (Indo-Germanic) หรือ "[[ทฤษฎีการรุกรานของชาวอารยัน|อารยัน]]" (Aryan) อย่างไรก็ดี เมื่อปรากฏชัดเจนว่า ความคล้ายคลึงนี้ มีอยู่ในภาษาของยุโรปส่วนใหญ่ จึงได้เปลี่ยนชื่อให้ครอบคลุมมากขึ้นเป็น อินโด-ยูโรเปียน (Indo-European) ตัวอย่างเช่น มีความคล้ายคลึงกันอย่างมากระหว่าง[[ภาษาสันสกฤต]]กับภาษาย่อยของ[[ภาษาลิทัวเนีย]]และ[[ภาษาลัตเวีย]]ที่พูดในสมัยก่อน
 
ภาษาบรรพบุรุษที่เป็นต้นกำเนิด (ที่ได้สืบสร้างขึ้นมาใหม่) เรียกว่า[[ภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิม]] (Proto-Indo-European, PIE) มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับที่ตั้งทาง[[ภูมิศาสตร์]]ที่เป็นถิ่นกำเนิด (เรียกว่า "อัวร์ไฮมาท" — {{lang|de|''Urheimat''}}) ที่ตั้งที่เป็นไปได้มากที่สุดในปัจจุบันคือที่ราบทางเหนือของ[[ทะเลดำ]]และ[[ทะเลแคสเปียน]] (ตามทฤษฎีของ[[เคอร์แกน]]) หรือ[[อานาโตเลีย]] (ตามทฤษฎีของ[[โคลิน เร็นฟริว]]) ผู้ที่สนับสนุนทฤษฎีของเคอร์แกนสักจะตั้งอายุของภาษาต้นกำเนิดเป็นประมาณ [[4,000 ปีก่อน ค.ศ.]] ส่วนผู้ที่สนับสนุนทฤษฎีของถิ่นกำเนิดในอานาโตเลียมักจะกำหนดอายุของภาษานี้เป็นช่วงหลายสหัสวรรษก่อนหน้านี้ ([[อินโด-ฮิตไทต์]])
 
== กลุ่มย่อย ==