ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาลาเฉลิมกรุง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
DTRY (คุย | ส่วนร่วม)
→‎แหล่งข้อมูลอื่น: ลบหมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างโดยจิตรเสน อภัยวงศ์ออก เพราะสร้างโดยหม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 40:
สภาพโรงภาพยนตร์ตั้งแต่ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีขนาดเล็กคล้ายโรงไม้ หลังคามุงสังกะสี จนกระทั่ง วันที่ 1 กรกฎาคม [[พ.ศ. 2473]] พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างโรงภาพยนตร์ถาวรแห่งใหม่ที่โอ่อ่าทันสมัยเพื่อเป็นที่ระลึกการเฉลิมฉลองพระนครที่จะมีอายุครบ 150 ปี ใน พ.ศ. 2475 ขนาดจุผู้ชมได้มากกว่า 1,000 ที่นั่ง และเป็นโรงมหรสพแห่งแรกในเอเชียมีเครื่องปรับอากาศระบบไอน้ำ (chilled water system)
 
ตัวอาคารรูปสี่เหลี่ยมสูงแบบสมัยใหม่ ตั้งอยู่บริเวณหัว[[ถนนเจริญกรุง]]ตัดกับ[[ถนนตรีเพชร]] ออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างโดย[[หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร]] และ นารถ โพธิปราสาท เป็นวิศวกร สร้างโดยบริษัทบางกอก ภายในออกแบบตกแต่งเรียบง่าย ระหว่างตะวันตกผสมผสานกับไทย และได้รับพระราชทานนามว่า "'''ศาลาเฉลิมกรุง'''" เปิดฉายปฐมฤกษ์ด้วยหนังฝรั่งเสียงในฟิล์ม เรื่อง "มหาภัยใต้ทะเล" <ref>ธนาทิพ ฉัตรภูมิ , หน้า 38-40</ref> เมื่อวันที่ [[2 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2476]] มีรายงานว่าคนดูล้นหลามออกมาถีงถนนหน้าโรงจนรถรางยวดยานต่างๆต่าง ๆ ติดขัดหยุดชะงักชั่วคราว <ref>หนังสือพิมพ์ศรีกรุง ฉบับวันพุธ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2476</ref>
 
นอกจากฉายหนังฝรั่งตามปกติ หนังพูดของบริษัท[[ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง]] และ บริษัทไทยฟิล์ม (นำโดย[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล]]และคณะ) เป็นโปรแกรมหนังไทยที่ได้รับความนิยมทุกเรื่อง
 
ช่วง[[สงครามมหาเอเซียบูรพา]] เปลี่ยนเป็นโรงละครเวที จนสงครามสงบแล้วระยะหนึ่ง จึงกลับมาฉายภาพยนตร์อีกครั้ง เริ่มด้วย "[[สุภาพบุรุษเสือไทย]]" หนังไทย 16 มม. พากย์สด เมื่อปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2492 ทำรายได้มากกว่า 3 แสนบาท สูงสุดกว่าเรื่องใดๆใด ๆ ในเวลานั้น
 
บุคคลที่มีบทบาทสำคัญเป็นที่รู้จักทั่วไป คือ กายสิทธิ์ ตันติเวชกุล ผู้จัดการในช่วง พ.ศ. 2486 - 2515 รวมเวลานานถึง 29 ปี <ref>ธนาทิพ ฉัตรภูมิ ,หน้า 41-45</ref>
 
ปัจจุบัน ยังคงเปิดดำเนินการในชื่อ "'''เฉลิมกรุงรอยัลเธียเตอร์'''" ด้วยการบริหารของบริษัทเฉลิมกรุงมณีทัศน์ จำกัด โดย [[มานิตย์ รัตนสุวรรณ]] และ นฤนล ล้อมทอง (ผู้จัดการ) ทำการปรับปรุงครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2535 โดยขยายเวทีพร้อมติดตั้งระบบไฮโดรลิกเลื่อนขึ้นลงได้และปรับที่นั่งเหลือราว 600 ที่ <ref>ธนาทิพ ฉัตรภูมิ, หน้า 47</ref> ยกระดับให้เป็นโรงมหรสพแห่งชาติ ระยะแรกจัดแสดงนาฏศิลป์ชั้นสูง ''"[[โขน]]"'' ผสมผสานเทคนิคทันสมัย รายการอื่นๆอื่น ๆ เช่น ละครเวที เรื่องแรกคือ "[[ศรอนงค์]]" (ซึ่งเคยแสดง ณ ที่แห่งนี้ โดยคณะละครของ[[พระนางเธอลักษมีลาวัณ]] พระมเหสีใน[[รัชกาลที่ 6]]) โดย [[อารีย์ นักดนตรี]] , ,"ศาลาเพลง" โดย [[นันทวัน สุวรรณปิยะศิริ]] , งานของ[[มูลนิธิหนังไทย]]ในพระอุปถัมภ์ของ[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ]] , งานรำลึกถึง[[มิตร ชัยบัญชา]] โดย [[ชมรมคนรักมิตร]] ฯลฯ <ref>ธนาทิพ ฉัตรภูมิ ,หน้า49 </ref> ตลอดจนฉายภาพยนตร์และการแสดงมหรสพสำคัญในบางโอกาส ได้แก่ การฉายภาพยนตร์รอบปฐมทัศน์โลกเรื่อง [[สุริโยไท]] ซึ่ง[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]] [[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]] และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรภาพยนตร์ เมื่อวันที่ [[12 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2544]] และในปี พ.ศ. 2554 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรภาพยนตร์เรื่อง [[ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี]] ทั้งสองเรื่องเป็นผลงานกำกับของ[[หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล]]
 
== ที่อยู่ ==