ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
'''เจ้าพระยาอภัยภูธร''' (? - พ.ศ. 2370) นามเดิม '''น้อย''' ดำรงตำแหน่งเป็น[[สมุหนายก]]ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]และต้นรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
 
เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย) เป็นบุตรของ[[เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (บุญรอด บุณยรัตพันธุ์)|เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (บุญรอด)]] ซึ่งเป็นต้นสกุล"บุณยรัตพันธุ์" เป็นเสนาบดีกรมวังในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย) มีพี่น้องได้แก่ [[เจ้าจอมมารดาสี ในรัชกาลที่ 2]] หรือ"เจ้าคุณพี" [[เจ้าจอมมารดาแก้ว ในรัชกาลที่ 3]] และพระอนุชิตชายชาญไชย (ขุนทอง)<ref name=":0">รัตนกุลอดุลยภักดี, พระยา. '''ลำดับสกุลเก่าบางสกุล ภาคที่ ๑'''. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2463.</ref> เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย) ปรากฏครั้งแรกว่ารับราชการเป็นพระอนุชิตราชา<ref name=":1">สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. '''เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์'''. กรุงเทพ : กรมศิลปากร, 2345.</ref> จางวางกรมพระตำรวจขวาในรัชกาลที่ 1 จากนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จขึ้นครองราชสมบัติในพ.ศ. 2352 ทรงแต่งตั้งพระอนุชิตราชา (น้อย) ขึ้นเป็นเจ้าพระยายมราช เสนาบดีกรมพระนครบาล
 
ในปีพ.ศ. 2352 นั้น [[พระเจ้าปดุง]]ส่งกองทัพเรือพม่าเข้ารุกรานเมืองถลางเกาะภูเก็ต พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงมีพระราชโองการให้เจ้าพระยายมราช (น้อย) ยกทัพจากกรุงเทพฯลงไปสมทับกับ[[เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร)|เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์)]] ที่เมือง[[นครศรีธรรมราช]]เพื่อยกทัพเข้าป้องกันเมืองถลาง แต่เมื่อเจ้าพระยายมราช (น้อย) และเจ้าพระยานครฯ (พัฒน์) ยกทัพไปถึงเมือง[[ตรัง]]แล้วประสบปัญหาขาดแคลนเรือ<ref name=":2">ดำรงราชานุภาพ, พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยา. '''พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒'''. </ref>ต้องต่อเรือใหม่ ทัพพม่าจึงสามารถเข้ายึดเมืองถลางได้ จนกระทั่งในภายหลังเจ้าพระยานครฯ (พัฒน์) ส่ง[[เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร)|พระบริรักษ์ภูเบศร์ (น้อย)]] ยกทัพเรือไปยึดเมืองถลางคืนมาได้สำเร็จ