ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอพะโต๊ะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Ekströmz (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
}}
'''อำเภอพะโต๊ะ''' เป็น[[อำเภอ]]หนึ่งใน[[จังหวัดชุมพร]] อยู่ทางด้านใต้สุดของจังหวัดเป็น 1 ใน 2 อำเภอของจังหวัดชุมพรที่ไม่มีพื้นที่ติดทะเล
 
== ประวัติ ==
'''เมืองพะโต๊ะ''' เป็นเมืองโบราณในอาณาจักรศรีวิชัย มีหลักฐานปรากฏในจดหมายเหตุของชาวจูเกาะ พ.ศ.1766 และในพงศาวดารจีนราชวงศ์สุง พ.ศ.1503- 1822 ในชื่อเมืองปะตา มีสินค้าสำคัญได้แก่ หวาย ยางกิโนแดง ไม้ดำหอม หมาก และมะพร้าว
 
ในปี พ.ศ. 2399 พระยาจรูญราชโภคากร (คอซิมเต็ก ณ ระนอง) เจ้าเมืองหลังสวนยกฐานะบ้านพะโต๊ะเป็นหัวเมืองใย มีขุนภักดีราษฎร์ (ใย ภักดี) เป็นเจ้าเมือง มีหน้าที่เก็บภาษีอากรคุมคดีแพ่งและอาญา ดูแลทุกข์สุขของประชาชน และใน พ.ศ. 2422 ได้มีการจัดทำเหมืองแร่ดีบุกขึ้นที่บ้านปากทรง ทำให้บ้านดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากในสมัยนั้น และในปี พ.ศ. 2460 กระทรวงมหาดไทยจึงได้ยกท้องที่เมืองพะโต๊ะขึ้นเป็น'''อำเภอพะโต๊ะ''' ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ขึ้นกับจังหวัดหลังสวน โดยมีหลวงแพ่ง ศุภการ เป็นนายอำเภอคนแรก
 
ต่อมาช่วงปี พ.ศ. 2480 - 2481 เกิดโรคไข้น้ำระบาด ชาวพะโต๊ะได้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก พวกที่เหลืออยู่ได้พากันอพยพออกไปอยู่ที่อื่น จนเหลือประชากรน้อย ในที่สุด กระทรวงมหาดไทยจึงได้ลดฐานะอำเภอพะโต๊ะลงเป็น'''กิ่งอำเภอพะโต๊ะ'''<ref name=":0">{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=55|issue=0 ง|pages=1840-1842|title=ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยุบรวมอำเภอ และยุบอำเภอลงเป็นกิ่งอำเภอ|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2481/D/1840.PDF|date=29 สิงหาคม 2481|language=}}</ref> ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2481 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม ปีเดียวกัน และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอขันเงิน (อำเภอหลังสวน) แทน
 
และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น '''อำเภอพะโต๊ะ''' ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2534 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน ปีเดียวกัน<ref name=":02">{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=108|issue=107 ก|pages=(ฉบับพิเศษ) 29-32|title=พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอทุ่งตะโก อำเภอพะโต๊ะ อำเภอเขาค้อ อำเภอน้ำหนาว อำเภอวังจันทร์ อำเภอนาด้วง อำเภอเต่างอย อำเภอสิงหนคร อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และอำเภอลำดวน พ.ศ. ๒๕๓๔|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2534/A/107/29.PDF|date=19 มิถุนายน 2534|language=}}</ref> รวมระยะเวลาการเป็นกิ่งอำเภอ 52 ปี นับว่าเป็น[[กิ่งอำเภอ]]ที่ยาวนาน
 
* วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2474 ยุบจังหวัดหลังสวน รวมเข้ากับจังหวัดชุมพร<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=48|issue=0 ก|pages=576-578|title=พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2474/A/576.PDF|date=21 กุมภาพันธ์ 2474|language=}}</ref> ทำให้ท้องที่อำเภอพะโต๊ะ โอนมาขึ้นกับจังหวัดชุมพร
* วันที่ 29 สิงหาคม 2481 ยุบอำเภอพะโต๊ะลงเป็น '''กิ่งอำเภอพะโต๊ะ'''<ref name=":0" /> และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอขันเงิน
* วันที่ 7 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลพะโต๊ะ ในท้องที่บางส่วนของตำบลพะโต๊ะ<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=74|issue=4 ง|pages=(ฉบับพิเศษ) 19-20|title=ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลพะโต๊ะ กิ่งอำเภอพะโต๊ะ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/D/004/19.PDF|date=7 มกราคม 2500|language=}}</ref>
* วันที่ 19 มิถุนายน 2534 ยกฐานะกิ่งอำเภอพะโต๊ะ อำเภอหลังสวน ขึ้นเป็น '''อำเภอพะโต๊ะ'''<ref name=":02" />
* วันที่ 29 กรกฎาคม 2534 ตั้งตำบลพระรักษ์ แยกออกจากตำบลปังหวาน<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=108|issue=131 ง|pages=(ฉบับพิเศษ) 72-80|title=ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าแซะ กิ่งอำเภอพะโต๊ะ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2534/D/131/72.PDF|date=29 กรกฎาคม 2534|language=}}</ref>
* วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลพะโต๊ะ เป็นเทศบาลตำบลพะโต๊ะ<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=116|issue=9 ก|pages=1-4|title=พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/A/009/1.PDF|date=24 กุมภาพันธ์ 2542|language=}}</ref>
 
== ที่ตั้งและอาณาเขต ==
เส้น 58 ⟶ 74:
อำเภอพะโต๊ะมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ คือ น้ำตก (น้ำตกเหวโหลม น้ำตกเหวตาจันทร์ และน้ำตกเหวรู) และลำน้ำพะโต๊ะ ที่เหมาะสำหรับการล่องแพ
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
{{จังหวัด/ชุมพร}}