ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาไพทอน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sirakorn (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Sirakorn (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 55:
 
== คุณสมบัติและปรัชญาการออกแบบ ==
 
<!-- TODO: Add citations from English Wikipedia (it's quite straightforward) -->
 
ผู้ใช้ภาษาไพทอนสามารถเลือก[[กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรม]]ตามที่ตนเองถนัดได้ โดยรองรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างและ[[การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ]]อย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงรองรับ[[การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน]] (ทั้งในรูปแบบของ[[การเขียนโปรแกรมเชิงลักษณะ]] และการเขียนโปรแกรมเชิงเมตาออบเจกต์) ส่วนขยายของไพทอนทำให้สามารถเขียนโปรแกรมด้วยกระบวนทัศน์อื่น เช่น[[การเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ]]
เส้น 69 ⟶ 71:
* ซับซ้อนดีกว่ายุ่งเหยิง (Complex is better than complicated.)
* ต้องใส่ใจการอ่านออกได้ง่าย (Readability counts.)
 
ไพทอนไม่ได้ถูกออกแบบมาให้มีคุณสมบัติและความสามารถในการทำงานทุกอย่าง แต่ไพทอนถูกออกแบบมาให้สามารถถูกต่อยอดได้ง่าย การออกแบบในลักษณะนี้ทำให้ตัวของภาษาไพทอนได้รับความนิยมเนื่องด้วยความสามารถในการเพิ่มส่วนต่อขยายหรือชุดคุณสมบัติลงไปในแอปพลิเคชั่นที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ การออกแบบในลักษณะนี้มาจากวิสัยทัศน์ของฟัน โรสซึมที่ต้องการเห็นการออกแบบภาษาโปรแกรมที่มีระบบแกนกลางขนาดเล็ก แต่มาพร้อมไลบรารีชุดคำสั่งขนาดใหญ่ โดยเป้าหมายการออกแบบลักษณะนี้มาจากความไม่สะดวกในการใช้ภาษา ABC ที่ฟัน โรสซึมเคยเจอมาก่อนหน้านี้
 
เส้น 76 ⟶ 79:
 
หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของภาษาไพทอนคือความสนุกในการใช้งาน ชื่อของภาษาโปรแกรมมิงไพทอนนั้นมาจากชื่อของกลุ่มนักแสดงตลก [[Monty Python]] จากประเทศอังกฤษ ความมุ่งมั่นในการทำให้ภาษาไพทอนนั้นสนุกต่อการใช้นั้นพบเห็นได้เพิ่มเติมจากตัวอย่างของชุดคำสั่งในภาษาไพทอนบนเว็บไซต์ของโครงการไพทอนเอง ซึ่งเลือกใช้คำอย่างเช่น "spam and eggs" (เพื่อล้อกับตอนหนึ่งของรายการตลกจาก Monty Python) แทนที่จะเลือกใช้คำทั่วไปอย่าง foo และ bar ตามตัวอย่างภาษาโปรแกรมมิงอื่น
 
ชุมชนไพทอนมักนิยมใช้วลี "มีความเป็นไพทอน" (Pythonic) เพื่อกล่าวถึงรูปแบบของชุดคำสั่งของไพทอนที่มีความสะอาดสะอ้านและถูกเขียนขึ้นในลักษณะที่สอดคล้องกับปรัชญาการออกแบบดังกล่าว กล่าวคือมีความอ่านง่ายและแสดงถึงความรู้ในการเขียนชุดคำสั่งภาษาไพทอนได้เป็นอย่างดี ในทางตรงกันข้าม ชุดคำสั่งที่ไม่สามารถอ่านได้โดยง่าย (กล่าวคือชุดคำสั่งที่เหมือนการแปลงชุดคำจั่งจากภาษาโปรแกรมอื่นมาเป็นไพทอนแบบบรรทัดต่อบรรทัด) มักจะถูกเรียกว่าชุดคำสั่งที่ "ไม่มีความเป็นไพทอน" (Unpythonic)
 
ผู้ใช้ ผู้หลงใหล หรือผู้สันทัดภาษาไพทอนมักได้รับการขนานนามว่าเป็น "ไพธอนิสตา" (Pythonista)
 
== จุดเด่นของภาษาไพทอน ==