ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาไพทอน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sirakorn (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sirakorn (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 60:
ไพทอนเก็บข้อมูลแบบไดนามิก (dynamic type) และใช้ขั้นตอนวิธี[[:en:Reference counting|การนับการอ้างอิง]] (Reference counting) ประกอบรวมกับ[[:en:Garbage collection (computer science)|ตัวเก็บขยะ]] (garbage collector) เพื่อจัดการหน่วยความจำ
 
ไพทอนมาพร้อมเครื่องมือสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชั่นแบบที่พบใน[[ภาษาลิสป์]] นอกจากนี้ไพทอนมีเครื่องมืออย่างเช่นฟังก์ชัน <code>filter</code> <code>map</code> และ <code>reduce</code>, [[:en:List comprehension|เครื่องมือการสร้างลิสต์]] (list comprehension), [[แถวลำดับแบบจับคู่]] (ในชื่อของ Dictionary), [[เซต]] และ[[:en:Generator_(computer_programming)|เครื่องมือสร้างการวนซ้ำ]] (generator)
 
แนวคิดและหลักการของไพทอนถูกสรุปในเอกสารชื่อว่า [[:en:Zen of Python|Zen of Python]] ซึ่งระบุหลักการของภาษาไว้เช่น
บรรทัด 72:
 
โครงสร้างทางวากยสัมพันธ์ (syntax) ของภาษาไพทอนมุ่งเน้นความเรียบง่ายและไม่ยุ่งเหยิง ในขณะเดียวกันยังคงให้อิสระกับนักพัฒนาโปรแกรมในการเลือกวิธีการเขียนโปรแกรมได้เอง ปรัชญาการออกแบบนี้ของไพทอนอยู่บนความเชื่อที่ว่า "ควรจะมีทางเดียว—และทางเดียวเท่านั้น—ในการทำอะไรสักอย่าง" ("there should be one—and preferably only one—obvious way to do it") ซึ่งตรงกันข้ามกับแนวคิดการออกแบบของ[[ภาษาเพิร์ล]]ที่เชื่อว่า "[[:en:There's more than one way to do it|เราควรทำอะไรได้มากกว่าหนึ่งวิธี]]" ("There's more than one way to do it") หากจะกล่าวให้ละเอียด [[:en:Alex Martelli|อะเล็กซ์ มาร์เตลลี]] ผู้เขียนตำราภาษาไพทอน และสมาชิกของมูลนิธิซอฟต์แวร์ไพทอน กล่าวว่า "ในวัฒนธรรมของไพทอน การอธิบายว่า[วิธีการเขียนโปรแกรม]บางอย่างนั้น''ฉลาดมาก'' ไม่ถือเป็นคำชม"
 
นักพัฒนาโปรแกรมที่ใช้ภาษาไพทอนมักพยายามหลีกเลี่ยง[[:en:premature optimization|การปรับปรุงประสิทธิภาพก่อนถึงเวลาอันควร]] (premature optimisation) และมักปฏิเสธการรวมโค้ดของโครงการ CPython ที่ต้องแลกประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นมาเล็กน้อยกับความอ่านยากของโค้ด โดยเมื่อต้องเขียนชุดคำสั่งที่เวลาประมวลผลเป็นเรื่องสำคัญ นักพัฒนาโปรแกรมไพทอนจะนิยมเขียนส่วยขยายของโปรแกรมนั้นด้วยภาษา C แยกออกมา หรือใช้ [[:en:PyPy|PyPy]] ซึ่งเป็น[[:en:Just-in-time compilation|ตัวแปลภาษาแบบในเวลา]] (Just-in-time compiler) สำหรับภาษาไพทอน นอกจากนี้นักพัฒนายังมีตัวเลือกอื่นเช่นการใช้[[:en:Cython|ไซทอน]]ซึ่งเป็นตัวแปลรหัสคำสั่งจากภาษาไพทอนไปเป็นภาษาซี
 
หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของภาษาไพทอนคือความสนุกในการใช้งาน ชื่อของภาษาโปรแกรมมิงไพทอนนั้นมาจากชื่อของกลุ่มนักแสดงตลก [[Monty Python]] จากประเทศอังกฤษ ความมุ่งมั่นในการทำให้ภาษาไพทอนนั้นสนุกต่อการใช้นั้นพบเห็นได้เพิ่มเติมจากตัวอย่างของชุดคำสั่งในภาษาไพทอนบนเว็บไซต์ของโครงการไพทอนเอง ซึ่งเลือกใช้คำอย่างเช่น "spam and eggs" (เพื่อล้อกับตอนหนึ่งของรายการตลกจาก Monty Python) แทนที่จะเลือกใช้คำทั่วไปอย่าง foo และ bar ตามตัวอย่างภาษาโปรแกรมมิงอื่น
 
== จุดเด่นของภาษาไพทอน ==