ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้คุมเสียงในสภา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หัวใจไร้ข้อแม้ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ผู้คุมเสียงในสภา''' หรือ '''วิป''' ({{lang-en|whip}}) เป็นพนักงานหน้าที่หนึ่งใน[[พรรคการเมือง]] ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรับรองวินัยพรรคใน[[สภานิติบัญญัติ]] ผู้คุมเสียงในสภาเป็น "ผู้ทำงานสกปรก" (enforcer) ของพรรคซึ่งตรงแบบเสนอสิ่งจูงใจและขู่ลงโทษสมาชิกพรรคเพื่อรับรองว่าเขาเหล่านั้นออกเสียงตามนโยบายของพรรคอย่างเป็นทางการ บทบาทของผู้คุมเสียงในสภายังเพื่อรับรองว่าผู้แทนที่ได้รับเลือกของพรรคเข้าประชุมเมื่อมีการออกเสียงที่สำคัญ
 
== ความหมาย ==
ในหนังสือสารานุกรมศัพท์ทางรัฐศาสตร์ของ อ.อุทัย หิรัญโต ได้ให้คำอธิบายไว้ว่า<ref>http://www.kriengsak.com/node/790</ref>
{{quote|"คำว่า whip แปลตามตัวว่า แส้ที่ใช้ปัดยุงหรือสำหรับเฆี่ยนม้า คำนี้เป็นคำที่วงการเมืองอังกฤษยืมมาจากวงการกีฬาส่าสัตว์ กีฬาล่าสัตว์ในอังกฤษสมัยโบราณนั้น พวกขุนนางหรือผู้ดีมักจะเลี้ยงสุนัขไว้เป็นฝูง และฝึกหัดไว้เป็นอย่างอย่างดีเพื่อให้มีหน้าที่ช่วยเหลือในการติดตามหรือล่าสัตว์ ผู้ควบคุมฝูงสุนัขหรือคอยจัดระเบียบให้สุนัขอยู่รวมกันเป็นหมวดหมู่ไม่แตกแยกกัน เพื่อจะติดตามไล่สัตว์ได้สะดวกรวดเร็วขึ้น เรียกว่า whip ซึ่งมีชื่อเต็มว่า whipper in ซึ่งต่อมาวงการเมืองของอังกฤษได้นำคำว่า whip มาใช้โดยให้มีความหมายถึงบุคคลที่มีหน้าที่ควบคุมเสียงในสภา หรือผู้ทำหน้าที่ควบคุมเสียงในสภา หรือผู้ทำหน้าที่ไล่ต้อนให้สมาชิกไปออกเสียงโดยพร้อมเพรียงกันนั้นเอง"}}
 
== ระบบวิปในประเทศไทย ==
ระบบวิปในประเทศไทย มีการดำเนินการอย่างเป็นทางการ ในปี 2526 ในนามของ '''คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (ปสส.)''' ซึ่งเกิดขึ้นใน [[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 43]] ([[เปรม ติณสูลานนท์|พลเอกเปรม ติณสูลานนท์]] เป็นนายกรัฐมนตรี) โดยมี [[บุญเท่ง ทองสวัสดิ์|นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์]] เป็นประธาน โดยมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 76/2526 โดยในทางปฏิบัติการตั้งคณะกรรมการฯ นี้ จะมีองค์ประกอบหลัก ๆ ดังนี้<ref name=":0">https://spm.thaigov.go.th/FILEROOM/spm-thaigov/DRAWER008/GENERAL/DATA0000/00000097.PDF</ref>
 
# ประธานกรรมการ - จะมาจากพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา (หรือเป็นบุคคลที่รัฐบาลให้ความไว้วางใจที่จะประสานงานระหว่าง สภาฯ กับ รัฐบาล)
# กรรมการ - มาจากพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล โดยจัดสรรตามที่นั่งในสภา
# เลขานุการ - จะมาจากพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา
# ผู้ช่วยเลขานุการ - ซึ่งจะเป็นข้าราชการประจำ สังกัด [[สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี]] และ [[สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี]]
 
=== อำนาจหน้าที่ ===
หน้าที่ของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร หลัก ๆ มีดังนี้<ref name=":0" />:
 
* ประสานงานเรื่องที่เกี่ยวข้องระหว่างสภาฯ กับ คณะรัฐมนตรี หรือ ระหว่างสมาชิกสภาฯ ในฝั่งรัฐบาลกันเอง
* พิจารณาระเบียบวาระการประชุม และแจ้งผลการพิจารณา ให้สมาชิกสภาฯ ทราบ ก่อนการประชุมสภาฯ
* ประสานงานในการลงมติ และ สรุปผลลงมติให้กับรัฐบาล
 
== รายนามประธานวิปรัฐบาล ==
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
[[หมวดหมู่:คำศัพท์การเมือง]]