ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระสุนทรโวหาร (ภู่)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8962991 สร้างโดย Worrawit suphadee (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Tinuviel (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 53:
 
=== ตำแหน่งอาลักษณ์ ===
สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์เมื่อ พ.ศ. 2359 ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย|รัชกาลที่ 2]] มูลเหตุในการได้เข้ารับราชการนี้ ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจแต่งโคลงกลอนได้เป็นที่พอพระทัย ทราบถึงพระเนตรพระกรรณจึงทรงเรียกเข้ารับราชการ แนวคิดหนึ่งว่าสุนทรภู่เป็นผู้แต่งกลอนใน[[คดีบัตรสนเท่ห์ ครั้งที่ 1 (รัชกาลที่ 2)|บัตรสนเท่ห์]] ซึ่งปรากฏชุกชุมอยู่ในเวลานั้น<ref name="damrong">สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ''ชีวิตและงานของสุนทรภู่'', กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร พ.ศ. 2518</ref> อีกแนวคิดหนึ่งสืบเนื่องจาก "ช่วงเวลาที่หายไป" ของสุนทรภู่ ซึ่งน่าจะใช้วิชากลอนทำมาหากินเป็นที่รู้จักเลื่องชื่ออยู่ ชะรอยจะเป็นเหตุให้ถูกเรียกเข้ารับราชการก็ได้<ref name="pramote" />
 
เมื่อแรกสุนทรภู่รับราชการเป็นอาลักษณ์ปลายแถว มีหน้าที่เฝ้าเวลาทรงพระอักษรเพื่อคอยรับใช้ แต่มีเหตุให้ได้แสดงฝีมือกลอนของตัว เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแต่งกลอนบทละครในเรื่อง "[[รามเกียรติ์]]" ติดขัดไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯ เลื่อนให้เป็น '''ขุนสุนทรโวหาร''' การต่อกลอนของสุนทรภู่คราวนี้เป็นที่รู้จักทั่วไป เนื่องจากปรากฏรายละเอียดอยู่ในพระนิพนธ์ ''ชีวิตและงานของสุนทรภู่'' ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บทกลอนในรามเกียรติ์ที่สุนทรภู่ได้แต่งในคราวนั้นคือ ตอน[[นางสีดา]]ผูกคอตาย และตอนศึกสิบขุนสิบรถ ฉากบรรยายรถศึกของ[[ทศกัณฐ์]]<ref name="damrong" /> สุนทรภู่ได้เลื่อนยศเป็น '''หลวงสุนทรโวหาร''' ในเวลาต่อมา<ref name="new">[http://www.moe.go.th/webpr/news_day/m062448/edu1.html “สุนทรภู่” กวีเอกของไทย และเรื่องจริงที่ควรรู้], เรียบเรียงจากงานวิจัยเรื่อง “ชีวประวัติของพระสุนทรโวหาร (ภู่ ภู่เรือหงส์) ” โดย เทพ สุนทรศารทูล (2533). ข่าวกระทรวงศึกษาธิการ. มิถุนายน 2548.</ref> ได้รับพระราชทานบ้านหลวงอยู่ที่[[ท่าช้าง]] ใกล้กับ[[วังท่าพระ]] และมีตำแหน่งเข้าเฝ้าเป็นประจำ คอยถวายความเห็นเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์และพระนิพนธ์วรรณคดีเรื่องต่าง ๆ รวมถึงได้ร่วมในกิจการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเป็นหนึ่งในคณะร่วมแต่ง [[ขุนช้างขุนแผน]] ขึ้นใหม่