ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สโมสรฟุตบอลสงขลา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ยุทธนาสาระขันธ์ (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8945135 นครราชสีมา ให้ยืมตัว พัชรพงษ์ ประทุมมา อีกรอบ
ป้ายระบุ: ทำกลับ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
| fullname = สโมสรฟุตบอลจังหวัดสงขลา
| nickname = ''เงือกสมิหลา/เงือกพิฆาต''
| founded = 2542/28 มิถุนายน พ.ศ.2561
| ground = [[สนามกีฬาติณสูลานนท์]]<br>[[อำเภอเมืองสงขลา]], [[จังหวัดสงขลา]], ประเทศไทย
| capacity = 47,500
| chairman = {{ธง|ไทย}} พงศรัญประหยัชว์ อินทุเศรษฐบุญศรี
| mgrtitle = ผู้จัดการ
| manager = {{ธง|ไทย}} สัมพันธ์พงศรัญ โยธาทิพย์อินทุเศรษฐ
| coach = {{ธง|ไทย}} อัคถภรณ์ ชลิตาภรณ์
| league = [[ไทยลีก 3]] โซนภาคใต้
บรรทัด 42:
{{ถูกต้องแม่นยำ}}
[[ไฟล์:Songkla ProLeague.jpg|thumb|100px|สัญลักษณ์สโมสรเก่า พ.ศ. 2546 - 2547]]
สงขลา เอฟซี สโมสรที่เกิดจากกลุ่มคนเล็กๆ ที่มีภูมิลำเนาเป็นคนสงขลา ซึ่งมีความรักและความชื่นชอบในเรื่องฟุตบอล มีความฝันที่อยากจะพัฒนาสโมสรฟุตบอลในบ้านเกิดเป็นของตัวเอง โดยเป็นสโมสรที่เน้นในเรื่องฟุตบอลจริงๆ ส่งเสริมเพื่อการพัฒนาธุรกิจด้านการกีฬาโดยตรง หวังสร้างรายได้ให้ชาวสงขลาอีกทางหนึ่ง
สโมสรฟุตบอลสงขลาถือกำเนิดในปี พ.ศ. 2542 ในปีแรกของการก่อตั้งฟุตบอลโปรวินเชียลลีก จากนั้นก็เล่นวนเวียนอยู่ในโปรลีกเป็นส่วนใหญ่ จนได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น สงขลา เลเกอร์ส (โดยการแต่งตั้งโดย กกท.) ซึ่งนักเตะยุคแรกที่มีชื่อเสียงได้แก่ สุเมทย์ อัครพงศ์, ธงชัย อัครพงศ์, เกชา สุวรรณรัตน์ จนกระทั่ง ปี 2550 ทีมสงขลา เลเกอร์ ได้กลับมาสู่ลีกระดับชาติได้อีกครั้ง
 
หลังจากที่ สโมสรฟุตบอลสงขลา ยูไนเต็ด ทีมดังของจังหวัดสงขลาได้พักการแข่งขันไป ส่งผลให้จังหวัดสงขลา ปราศจากสโมสรที่เป็นเสมือนที่ยึดเหนี่ยวของคนที่มีใจรักในด้านฟุตบอล ทางเราจึงเล็งเห็นว่าถึงเวลาแล้ว ที่จังหวัดสงขลาจำเป็นจะต้องมีสโมสรฟุตบอลที่มีคุณภาพ เน้นความเป็นสโมสรฟุตบอลอย่างแท้จริง เฉกเช่นสโมสรที่ประสบความสำเร็จในระดับทวีปเอเชีย เราจึงลงความเห็นกันว่า จะจัดตั้งสโมสรฟุตบอลขึ้นมา ภายใต้ชื่อ สงขลา เอฟซี โดยมีแนวทางในการพัฒนาบุคลากรและเยาวชนเป็นหลัก เน้นดาวรุ่งยุคใหม่ และทำงานอย่างมืออาชีพ
พ.ศ. 2547 ในปีแรกของการแข่งขันโดยใช้ชื่อทีมเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลซอลเกอร์ลีกภาคใต้ ในนามทีมสมาคมกีฬาจังหวัด[[สงขลา]] โดยนายนวพล บุญญามณี เป็นนายกสมาคมกีฬาจังหวัดสงขลาและผู้จัดการทีม
พ.ศ. 2548 [[การกีฬาแห่งประเทศไทย]]ได้จัดการแข่งขัน[[ฟุตบอล]]อาชีพขึ้นเป็นครั้งแรกและจัดการแข่งขันออกเป็นระดับภาค ทีมสมาคมกีฬาจังหวัดสงขลาโดยนายนวพล บุญญามณี นายกสมาคมกีฬาจังหวัด[[สงขลา]]และผู้จัดการทีม ได้ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันโปรวิเชียลลีก ระดับภาคใต้ ซึ่งทีมสมาคมกีฬาจังหวัดสงขลาไม่ผ่านรอบคัดเลือกระดับภาคใต้
พ.ศ. 2549 ทีมสมาคมกีฬาจังหวัดสงขลา โดยนายนวพล บุญญามณี นายกสมาคมกีฬาจังหวัดสงขลาและผู้จัดการทีม ได้ส่งทีมเข้าแข่งขันโปรวิเชียลลีกระดับภาคใต้ และสามารถเป็นตัวแทนระดับภาคใต้เข้าร่วมการแข่งขันระดับประเทศ แต่ไม่สามารถผ่านรอบคัดเลือกระดับประเทศ
 
แผนการดำเนินงานของสโมสรในอนาคต สงขลา เอฟซี เตรียมวางรากฐานระบบอะคาเดมี เพื่อผลักดันและส่งเสริมเด็กและเยาวชนในจังหวัดสงขลาและภาคใต้ สามารถสร้างอาชีพโดยใช้กีฬาฟุตบอลเป็นฐาน อีกทั้งยังมีโครงการสร้างสนามเหย้าที่มีคุณภาพ ปราศจากลู่วิ่ง และเปี่ยมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบวงจร เพื่อสนับสนุนการสร้างนักเตะระดับอาชีพในอนาคต โดยเชื่อมโยงและสร้างความสัมพันธ์ระดับภูมิภาค เพื่อยกระดับให้สโมสรฟุตบอลของจังหวัดสงขลามีความแข็งแกร่งทัดเทียมกับสโมสรต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย
พ.ศ. 2550 ทีมสมาคมกีฬาจังหวัดสงขลา โดยนายนวพล บุญญามณี นายกสมาคมกีฬาจังหวัดสงขลาและผู้จัดการทีม ได้ส่งทีมเข้าแข่งขันโปรวิเชียลลีกระดับภาคใต้ และสามารถเป็นตัวแทนระดับ[[ภาคใต้]]เข้าร่วมการแข่งขันระดับประเทศ สามารถผ่านรอบคัดเลือกระดับประเทศ ขึ้นไปเล่นดิวิชั่น 2 ในฤดูการต่อไป
 
พ.ศ. 2551 ทีมสมาคมกีฬาจังหวัด[[สงขลา]] โดยนายนวพล บุญญามณี นายกสมาคมกีฬาจังหวัดสงขลาและผู้จัดการทีม ได้ขึ้นมาเล่นในไทยลีกดิวิชั่น 2 เป็นปีแรก และสามารถเลื่อนชั้นขึ้นสู่ไทยลีก ดิวิชั่น 1 ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก หลังจากเสมอเทศบาลนครสมุทรปราการ 2-2 ส่งผลให้ทีมสงขลาเป็นอันดับที่ 2 ของกลุ่ม A รองจากเทศบาลเมือง[[ปราจีนบุรี]]
ในปี 2552 ผลงานในช่วงแรกของเหล่า "วัวชนแดนใต้" สงขลา เอฟซี กับการแข่งในระดับดิวิชั่น 1 นั้นไม่ได้เป็นรองทีมอื่นๆ แต่อย่างใด กับฟอร์มการเล่นที่โดดเด่นด้วยความแกร่งของเกมในบ้านที่มักจะหวังผลเก็บแต้มได้อย่างต่อเนื่องไม่ 1 ก็ 3 แต้มต้องมีแน่กับการเปิดบ้านรับมือคู่แข่งบวกกับแรงเชียร์ของผู้เล่นคนที่ 12 กลุ่มวัวชนบางกอก ที่ส่วนใหญ่จะเป็นชาวสงขลา แต่มาอาศัยอยู่ในเมืองกรุง ต่างก็เข้ามาให้กำลังใจทีมรักเมื่อยามต้องยกพลบุกมาเยือนคู่แข่งที่กรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงซึ่งก็ดูเหมือนอะไรๆ จะเป็นใจให้พวกเขาได้สมหวังกับการสร้างฝันในลีกอาชีพปีแรกกับตำแหน่งที่พวกเขาต้องการนั้นคือจะต้องติดตัวตารางให้ได้ แต่ทว่าการขาดประสบการณ์ของนักเตะส่วนใหญ่ภายในทีมรวมถึงการเจอโปรแกรมอันหฤโหดด้วยการเดินทางบุกไปเป็นทีมเยือนถึง 5 แมตช์ติด ซึ่งก็จะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเดินทางอันเป็นสาเหตุให้เกิดอาการล้า และทำให้ผลงานของพวกเขาเป็นอันต้องรูดลงอย่างน่าใจหาย แต่สงขลา เอฟซี ก็กลับมากอบกู้สถานการณ์ด้วยการเข้าป้ายจบอันดับที่ 7 โกยแต้มไปได้ถึง 42 คะแนน
 
พ.ศ. 2553 ทีมสมาคมกีฬาจังหวัดสงขลา โดยนายนวพล บุญญามณี นายกสมาคมกีฬาจังหวัดสงขลาและผู้จัดการทีม ได้เล่นไทยลีกดิวิชั่น 1 เป็นปีที่ 2 และสามารถจบฤดูกาลด้วยอันดับ 4 และทีมสมาคมกีฬาจังหวัดสงขลา ได้จนทะเบียนตั้งแต่เดือนกันยาน 2553 เป็นบริษัท สโมสรฟุตบอลสงขลา จำกัด โดยมีนาย[[นวพล บุญญามณี]] เป็นผู้มีอำนาจลงนาม
 
พ.ศ. 2554 วันที่ 8 สิงหาคม สโมสรฟุตบอลสงขลา เอฟซีได้ทำลายสถิติมีผู้ชมเข้าชมมากที่สุด ถึง 36,500 คน โดยทำลายประวัติศาสตร์ที่ตั้งแต่มีการแข่งขันฟุตบอลอาชีพแห่งประเทศไทย นัดนั้น สงขลา เอฟซี ได้พบกับสโมสร บุรีรัมย์ เอฟซีผล 1-1 ซึ่งปัจจุบันบุรีรัมย์ เอฟซีได้รวมทีมกับสโมสร บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
 
พ.ศ. 2555 [[นิพนธ์ บุญญามณี]] ได้รับโควตาจากการที่บุรีรัมย์ เอฟซี รวมทีมกับบุรีรัมย์ พีอีเอ เป็น[[บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด]] และนิพนธ์ บุญญามณี ได้จัดตั้งสโมสร [[วัวชน ยูไนเต็ด]]ขึ้นแทนบุรีรัมย์ เอฟซีที่ยุบทีมไป ทีมฟุตบอลสงขลาในปี 2555 จึงมี 2 ทีมคือทีมสงขลา เอฟซี ที่เล่นในดิวิชั่น 1 และทีมวัวชนยูไนเต็ด ที่ซื้อสิทธิ์มาจาก บุรีรัมย์ เอฟซี เล่นในไทยพรีเมียร์ลีก ซึ่งทำให้แฟนบอลสับสนและหดหายลงไปเป็นจำนวนมาก ปีดังกล่าวสงขลา เอฟซี ตกชั้นจากดิวิชั่น1 และประกาศพักทีม ส่วนวัวชนยูไนเต็ด จบอันดับที่ 13
 
พ.ศ. 2561 วันที่ 28 มิถุนายน มีการจัดตั้งทีมสงขลา เอฟซีขึ้นมาใหม่ โดยลงแข่งขันในไทยแลนด์อเมเจอร์ลีก โซนภาคใต้ ตอนล่าง
 
== ผลงาน ==
* 2542/43 - โปรลีก - อันดับ 8
* 2544 - โปรลีก - อันดับ 6
* 2545 - โปรลีก กลุ่ม ข - อันดับ 4
* 2546 - โปรลีก - อันดับ 11 (ตกชั้นไปเล่นโปรลีก 2)
* 2547 - โปรลีก 2 ภูมิภาค 4 - อันดับ 3
* 2548 - โปรลีก 2 ภูมิภาค 4 - อันดับ 2
* 2549 - โปรลีก 2 ภูมิภาค 4 - อันดับ 1
* 2550 - โปรลีก รอบชิงชนะเลิศ - อันดับ 2 (เลื่อนชั้นสู่ [[ไทยลีก ดิวิชั่น 2]])
* 2551 - ไทยแลนด์ดิวิชั่น 2 กลุ่ม A - อันดับ 2 (เลื่อนชั้นสู่ [[ไทยลีกดิวิชัน 1 2552|ไทยลีก ดิวิชั่น 1 ปี 52]])
* 2552 - ไทยลีก ดิวิชั่น 1 - อันดับที่ 7
* 2553 - ไทยลีก ดิวิชั่น 1 - อันดับที่ 4
* 2554 - ไทยลีก ดิวิชั่น 1 - อันดับที่ 5
* 2555 - ไทยลีก ดิวิชั่น 1 - อันดับที่ 14 (พักทีม)
* 2561 - ไทยแลนด์อเมเจอร์ลีก ภาคใต้ ตอนล่าง - รอบแรก
* 2562 - ไทยแลนด์อเมเจอร์ลีก