ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดพิษณุโลก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 69:
 
=== สมัยรัตนโกสินทร์ ===
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเมื่อพ.ศ. 2325 จึงมีพระราชโองการแต่งตั้งให้ "หลวงนรา"<ref name=":2">พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑.</ref> เป็น "พระยาพิษณุโลก" ในพ.ศ. 2328 [[สงครามเก้าทัพ]] แม่ทัพพม่า[[เนเมียวสีหซุย]]ยกทัพจาก[[ลำปาง]]ลงมารุกรานหัวเมืองเหนือ หลวงนราพระยาพิษณุโลกเห็นว่าข้าศึกมีกำลังมากฝ่ายหัวเมืองเหนือมีกำลังน้อยจากการสูญเสียกำลังพลไปมากในสงครามอะแซหวุ่นกี้ จึงสละเมืองพิษณุโลกหลบหนีเข้าป่าไม่ได้ต่อสู้ต้านทานการรุกรานของพม่า<ref name=":2" /> ทัพพม่าจึงเดินทัพผ่านหัวเมืองเหนือลงไปยัง[[นครสวรรค์]] พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯทรงให้รื้อกำแพงเมืองพิษณุโลกลง<ref>finearts.go.th/fad6/parameters/km/item/กำแพงเมืองพิษณุโลก.html</ref>เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าศึกใช้เป็นที่มั่น เมืองพิษณุโลกซึ่งเผชิญกับศึกสงครามอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาประมาณยี่สิบปีอยู่ในสภาวะทรุดโทรมและขาดการทำนุบำรุง ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นไม่ปรากฏมีการแต่งตั้ง "เจ้าพระยาสุรสีห์ฯ" ในพ.ศ. 2372 [[กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ]]ทรงอัญเชิญพระพุทธชินสีห์จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุไปประดิษฐานที่[[วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร]] และเจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้าง [[จังหวัดนนทบุรี]] ได้อัญเชิญพระศรีศาสดาไปยังวัดบางอ้อยช้าง<ref>{{cite web|title=ตำนานสร้าง "พระศรีศาสดา" พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง "พระพุทธรูปผู้พิทักษ์พระพุทธชินสีห์"|url=https://today.line.me/th/pc/article/ตำนานสร้าง+พระศรีศาสดา+พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง+พระพุทธรูปผู้พิทักษ์พระพุทธชินสีห์-e9PVVZ|website=ไลน์ทูเดย์|accessdate=3 เมษายน 2563}}</ref> (ซึ่งต่อมาพระศรีศาสดาได้ไปประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศฯ)
 
[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงยกย่องพระพุทธชินราชว่า "...จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว" มีพระราชดำริอัญเชิญพระพุทธชินราชลงไปเป็นองค์ประธานของ[[วัดเบญจมบพิตร]]<ref name=":3">{{cite web|title=เหตุอัศจรรย์ในการอัญเชิญพระพุทธชินราช “มุขปาฐะในพื้นที่พิษณุโลก”|url=https://www.silpa-mag.com/history/article_10743|website=ศิลปวัฒนธรรม|accessdate=6 เมษายน 2563}}</ref> ปรากฏเรื่องเล่ามุขปาฐะว่าในการอัญเชิญพระพุทธชินราชนั้นเกิดเหตุอัศจรรย์ไม่สามารถนำพระพุทธชินราชลงแพได้ หรือเมื่อเข็นลงแพแล้วแพหยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว<ref name=":3" /> จึงไม่สามารถอัญเชิญพระพุทธชินราชลงไปยังกรุงเทพได้และประดิษฐานในเมืองพิษณุโลกดังเดิม มีการจัดตั้ง[[มณฑลเทศาภิบาล]][[มณฑลพิษณุโลก]]ขึ้นในพ.ศ. 2437 โดยมีเมืองพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการปกครองประกอบด้วยห้าเมืองได้แก่เมืองพิษณุโลก เมืองพิชัย เมืองสุโขทัย เมืองพิจิตร และเมืองสวรรคโลก ต่อมารวมมณฑลเพชรบูรณ์เข้าร่วมด้วย โดยมี[[เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร)]] เป็นข้าหลวงคนแรก [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นสยามมกุฏราชกุมารเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลกในพ.ศ. 2450 ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง''[[เที่ยวเมืองพระร่วง]]'' ภายหลัง[[การเปลี่ยนแปลงการปกครอง]]เมื่อมีการตรา"พระราชบัญญัติการบริหารราชการส่วนภูมิภาค พุทธศักราช 2476" ขึ้น มณฑลเทศาภิบาลสิ้นสุดลงนำไปสู่การจัดตั้งจังหวัดพิษณุโลกในปัจจุบัน