ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:ทดลองเขียน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ArsaHIT (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Soponwit Sangsai (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8975159 สร้างโดย Blood.redcross (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ถูกแทน ทำกลับ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{กรุณาอย่าแก้ไขบรรทัดนี้ (ส่วนหัวหน้าทดลองเขียน)}}
{{กล่องข้อมูล ___}}
'''เนื้อหา'''
 
== ประวัติงานบริการโลหิต ==
 
=== ประวัติงานบริการโลหิตของประเทศไทย ===
ความคิดที่จะถ่ายโลหิตจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งมีมาแต่โบราณกาลโดยมนุษย์มีความคิดว่าโลหิตทำให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้ ถ้าร่างกายขาดโลหิตจำนวนมากอาจจะเสียชีวิตได้ จากความคิดความเชื่อดังกล่าวมนุษย์สมัยโบราณจึงคิดที่จะถ่ายโลหิตเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันขึ้นแต่ก็ไม่เป็นผลเพราะไม่มีมนุษย์คนไหนยอมเสียสละโลหิตให้ จึงต้องใช้โลหิตของสัตว์แทนซึ่งปรากฏว่าไม่ประสบความสำเร็จ
การถ่ายโลหิตเริ่มมีครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 14 โดยประชาชนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีความเคารพรักในตัวพระสังฆราชต้องการให้พระสังฆราชมีสุขภาพแข็งแรง พระชนม์ชีพยืนยาว จึงไปเสาะแสวงหาชายฉกรรจ์ จำนวน 3 คน มาทำการถ่ายโลหิตให้กับพระสังฆราช ปรากฏว่าการถ่ายโลหิตในครั้งนั้น พระสังฆราชมรณภาพ ชายฉกรรจ์ทั้งสามคนเสียชีวิต จึงก่อให้เกิดความหวาดวิตกและหวั่นเกรงกันว่าการถ่ายโลหิตเป็นวิธีการที่ไม่มีความปลอดภัยเพียงพอ
 
แต่อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ในยุคสมัยนั้นยังมีความเชื่อมั่นว่าการถ่ายโลหิตสามารถช่วยชีวิตมนุษย์ได้จึงทำการศึกษาและค้นคว้าหาวิธีการต่าง ๆ ต่อไปจนกระทั่งปี ค.ศ.1900 นาย Karl Landsteiner นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชาวออสเตรียได้ทำการค้นคว้าและวิจัยพบว่ามนุษย์เราไม่ว่าเชื้อชาติใดมีหมู่โลหิตด้วยกัน 4 หมู่ คือ หมู่โลหิตเอ บี เอบีและโอ โดยหมู่โลหิตเหล่านี้จะคงอยู่ในร่างกายของคนเราตลอดไปไม่เปลี่ยนแปลง
 
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาการถ่ายโลหิตได้มีการวิวัฒนาการขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้มีการถ่ายโลหิตช่วยชีวิตทหารที่บาดเจ็บในสงครามให้รอดชีวิตเป็นจำนวนมากต่อมาได้มีการค้นคว้าและทำการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อค้นหาวิธีการถ่ายโลหิตที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่งจากจำนวนทหารที่บาดเจ็บในสงครามโลกครั้งที่สองลดจำนวนลง
 
=== ประวัติงานบริการโลหิตของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ===
วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2495
กรรมการสภากาชาดไทย ได้มีมติให้ตั้งแผนกบริการโลหิตขึ้นในกองวิทยาศาสตร์ เพื่อสนองต่อข้อเสนอของสภากาชาดสากล ที่ให้สภากาชาดแต่ละประเทศจัดให้มีบริการโลหิตขึ้น โดยถือหลักปฏิบัติว่า “การบริจาคโลหิต ต้องไม่หวังผลต่อแทนใดๆ”
 
พ.ศ.2496
หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต พร้อมด้วย พระประยูรญาติ ได้ประทานเงินสร้าง “อาคารรังสิตานุสรณ์” เพื่อใช้เป็นที่ทำการแผนกบริการโลหิต
 
วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2496
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด “อาคารรังสิตานุสรณ์” การรับบริจาคโลหิตในระยะแรก กระทำเฉพาะภายในสถานที่เท่านั้น มีผู้บริจาควันละ 6-8 ราย
 
วันที่ 6 เมษายน 2496
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฎพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ทรงลงพระนามในใบสมัครเป็นผู้บริจาคโลหิต หมายเลข 00001
 
พ.ศ. 2498
ได้เริ่มมีหน่วยเคลื่อนที่ไปรับบริจาคโลหิตนอกสถานที่ โดยได้รับบริจาครถยนต์สำหรับใช้รับบริจาคโลหิต จากสมาคมเซนต์แอนดรูส์ กรุงเทพฯ
 
พ.ศ. 2499
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สภานายิกาสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานของที่ระลึกแก่ผู้บริจาคโลหิตเป็นครั้งแรก
 
พ.ศ. 2504
สภากาชาดไทย ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาและส่งเสริมผู้ให้โลหิตแห่งสภากาชาดไทยชุดแรกขึ้น เพื่อหาแนวทางให้มีการบริจาคโลหิตเพิ่มมากขึ้น โดยมี พลตรีศิริ สิริโยธิน เป็นประธานคณะกรรมการจัดหาและส่งเสริมผู้ให้โลหิตแห่งสภากาชาดไทยคนแรก
 
พ.ศ.2506
รัฐบาลฝรั่งเศส ได้เสนอให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลไทยในด้านวิชาการ เพื่อจัดตั้งศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติขึ้น กระทรวงสาธารณสุข จึงเชิญสถาบันต่างๆ ที่มีบริการโลหิตเข้าร่วมประชุม ที่ประชุมมีมติเห็นชอบและมอบให้สภากาชาดไทย รับไปดำเนินการ
 
วันที่ 11 มีนาคม 2506
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเข็มที่ระลึกแก่ผู้บริจาคโลหิต ณ สถานเสาวภา ต่อจากนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเข็มที่ระลึกแก่ผู้บริจาคโลหิตประจำทุกปี
 
วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2508
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบให้รัฐบาลไทย รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลฝรั่งเศส เพื่อจัดตั้งศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ แล้วมอบให้สภากาชาดไทยรับไปดำเนินการ
 
วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509
รัฐบาลฝรั่งเศส กับรัฐบาลไทย ร่วมลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ณ กรุงเทพฯ และแต่งตั้ง นายแพทย์เฉลิม บูรณะนนท์ เป็นผู้อำนวยการคนแรก กิจการได้ขยายไปยังส่วนภูมิภาคโดยเปิดสาขาบริการโลหิตขึ้นตามจังหวัดต่างๆ เพื่อจัดหาโลหิตให้เพียงพอแก่ผู้ป่วยภายในจังหวัด
ปี พ.ศ.2511
รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณเป็นค่าก่อสร้างอาคารศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติและเครื่องเรือน รวมเป็นเงิน 6.1 ล้านบาท
 
วันที่ 14 มีนาคม 2511
ฯพณฯ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ
วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2512
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด “อาคารศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ” จึงถือเอาวันที่ 13 ตุลาคม เป็นวันสถาปนาศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
 
พ.ศ.2520
รัฐบาลอนุมัติเงิน 14 ล้านบาทสร้างตึก 4 ชั้น เพื่อใช้เป็นสถานที่ผลิตพลาสมาแห้งและแยกส่วนประกอบโลหิต โดยวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2520
 
พ.ศ.2535
คณะกรรมการจัดหาและส่งเสริมผู้ให้โลหิตแห่งสภากาชาดไทย ได้จัดสร้างอาคารหลังใหม่ เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ โดยได้รับพระราชทานนามว่า “อาคารเฉลิมพระเกียรติบรมราชินีนาถ” เป็นอาคารสูง 11 ชั้น
 
วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพิธีเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2552 ซึ่งใช้เป็นอาคารที่ทำการของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จวบจนปัจจุบัน
 
== ทำเนียบผู้บริหารศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ==
[[ไฟล์:ทำเนียบผู้บริหารศูนย์บริการ.png|thumb|right|alt=ภาพทำเนียบผู้บริหารศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ|''วิกิพีตัง'']]
พ.ศ. 2496 – 2517 นายแพทย์เฉลิม บูรณะนนท์
 
พ.ศ. 2517 – 2524 ศาสตราจารย์นายแพทย์บุญธรรม สุนทรเกียรติ
พ.ศ. 2524 – 2528 แพทย์หญิงประไพ ชูโต
พ.ศ. 2528 – 2541 ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ชัยเวช นุชประยูร
พ.ศ. 2541 – 2544 แพทย์หญิงศรีวิไล ตันประเสริฐ
พ.ศ. 2544 – 2549 แพทย์หญิงรัชนี โอเจริญ
พ.ศ. 2549 – 2559 แพทย์หญิงสร้อยสอางค์ พิกุลสด
พ.ศ. 2559 – 2562 นาวาโทหญิงแพทย์หญิงอุบลวัณณ์ จรูญเรืองฤทธิ์
พ.ศ. 2562 – 2563 ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ชัยเวช นุชประยูร
พ.ศ. 2563 – ปัจจุปัน รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ
== โครงสร้างศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ==
 
[[ไฟล์:ขอบเขตงานของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ|thumb|center]]
 
== วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ และนโยบายคุณภาพ ==
'''• วิสัยทัศน์'''
 
เป็นศูนย์กลางการให้บริการโลหิต เซลล์ต้นกาเนิดเม็ดโลหิต และผลิตภัณฑ์ด้านบริการโลหิตของประเทศ ได้เพียงพออย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุดต่อผู้บริจาคโลหิตและผู้ป่วย ด้วยมาตรฐานระดับสากล
 
'''• พันธกิจ'''
 
::1.เป็นศูนย์กลางบริหารงานบริการโลหิตและผลิตภัณฑ์ ให้เพียงพอและปลอดภัย
::2.เป็นศูนย์กลางห้องปฏิบัติการและข้อมูลด้านบริการโลหิตของประเทศ
::3.ธำรงไว้ซึ่งระบบคุณภาพตามมาตรฐานสากล
::4.กาหนดนโยบาย มาตรฐาน และแนวปฏิบัติการให้บริการโลหิตระดับประเทศ
::5.ส่งเสริมการวิจัย และพัฒนานวัตกรรมด้านบริการโลหิตอย่างต่อเนื่อง
::6.บริหารองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมคุณภาพชีวิตบุคลากร
 
'''• ยุทธศาสตร์'''
 
::1.พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีประสิทธิภาพ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
::2.บริหารทรัพยากรบุคคล ปรับอัตรากาลัง พัฒนาความรู้ความสามารถ คุณภาพชีวิต
::3.ยุทธศาสตร์ความเป็นเลิศ > งานห้องปฏิบัติการพิเศษ
 
:::::::ธนาคาร Stem Cell
:::::::HLA and PlatletLab
:::::::ศูนย์ห้องปฏิบัติการอ้างอิง (Reference Lab)
::4.ยุทธศาสตร์การพึ่งพาตนเอง > ศูนย์ผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสมา
::5.พัฒนาระบบคุณภาพ และเรียนรู้ต่อเนื่อง วิชาการ-วิจัย-นวัตกรรม
::6.มีความร่วมมือกับนานาประเทศ :องค์การอนามัยโลก (WHO Collaborating Center) และร่วมเป็นเครือข่ายงานบริการโลหิตระหว่างประเทศ (APBN, GAP, APEC)
 
'''• นโยบายคุณภาพ
'''
 
บริการประทับใจ โลหิต เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต และผลิตภัณฑ์ มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ปลอดภัยทั้งผู้ให้และผู้รับ อย่างต่อเนื่อง
=== ยุทธศาสตร์สภากาชาดไทยที่ 2 ===
 
การพัฒนาและขยายบริการโลหิต ผลิตภัณฑ์จากพลาสมาและเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต
 
'''• เป้าหมายการให้บริการ
'''
 
::ผู้รับบริการได้รับโลหิต ส่วนประกอบโลหิต ผลิตภัณฑ์จากพลาสมา และเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล และเพียงพอเพื่อการรักษา
'''• ผลลัพธ์
'''
 
::ผู้ป่วยได้รับบริการโลหิต ส่วนประกอบโลหิตและผลิตภัณฑ์จากโลหิตอย่างเพียงพอและปลอดภัย ตามมาตรฐานสากล
'''• ผลผลิต
'''
 
::โลหิต ส่วนประกอบโลหิตและผลิตภัณฑ์จากพลาสมา มีปริมาณเพียงพอสำหรับผู้ป่วยทั้งประเทศและมีคุณภาพได้มาตรฐานสากล
 
== หน้าที่ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ==
 
'''สภากาชาดไทย ได้กำหนดหน้าที่ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติไว้ในข้อบังคับของสภากาชาดไทย ข้อ 42 ทวิ ดังนี้'''
 
::1.มีหน้าที่จัดหาโลหิตให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้จากผู้บริจาคโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนเพื่อนำไปจ่ายให้กับผู้ป่วยทั่วประเทศ
::2.แปรรูปโลหิตที่เหลือใช้สำหรับเก็บและจ่ายเพื่อใช้รักษาโรคบางชนิด
::3.ทำการวิจัย การถ่ายโลหิตและเรื่องโลหิตวิทยา
::4.ช่วยจัดตั้งงานบริการโลหิตให้กับเหล่ากาชาดจังหวัดในรูปของสาขาบริการโลหิตแห่งชาติหรือภาคบริการโลหิตแห่งชาติ
 
'''หน้าที่ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติปัจจุบัน
'''
 
::1.จัดหาโลหิตและส่วนประกอบโลหิต เพื่อจ่ายให้กับโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด
::2.จัดทำอุปกรณ์เจาะเก็บโลหิต เช่น ถุงบรรจุโลหิต
::3.ผลิตน้ำยาตรวจหมู่โลหิตเพื่อใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ
::4.ผลิตผลิตภัณฑ์โลหิตเพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วย
::5.จัดทำแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของสาขาบริการโลหิตทั่วประเทศ
::6.ให้การช่วยเหลือด้านการบริการโลหิตแก่ธนาคารโลหิตโรงพยาบาลต่าง ๆ
::7.จัดการอบรมระยะสั้นงานบริการโลหิตให้กับบุคลากรที่ปฏิบัติงานทางธนาคารโลหิต
::8.จัดตั้งภาคบริการโลหิตแห่งชาติ ให้ครบวงจร 12 ภาคทั่วประเทศ
 
== ขอบเขตงานของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ==
'''ขอบเขตงานของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และภาคบริการโลหิตแห่งชาติ'''
 
'''• บริการโลหิต'''
 
ประชาสัมพันธ์รณรงค์จัดหาผู้บริจาคโลหิตการกุศลไม่หวังสิ่งตอบแทน 100% ตามหลักการขององค์การอนามัยโลก รับบริจาคโลหิตในอาคารที่ทำการ และหน่วยเคลื่อนที่
 
::ตรวจคัดกรองโลหิตตามมาตรฐาน
::แยกส่วนประกอบโลหิต
::จัดเก็บโลหิต
::แจกจ่ายโลหิต และผลิตภัณฑ์โลหิต
 
'''• ธนาคารเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตแห่งชาติ'''
 
::จัดหาอาสาสมัครบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต
::ตรวจเอชแอลเอ
::เป็นศูนย์ข้อมูลผู้บริจาคของประเทศและเชื่อมโยงกับเครือข่ายต่างประเทศ
::ประสานการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตกับแพทย์สาขาโลหิตวิทยาและธนาคารเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตต่างประเทศ
::จัดทำมาตรฐานธนาคารเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตแห่งชาติ ตาม World Marrow Donor Association (WMDA)
 
'''• ผลิตผลิตภัณฑ์'''
 
::ผลิตภัณฑ์จากพลาสมา
::ถุงบรรจุโลหิต
::น้ำยาตรวจหมู่โลหิตและเซลล์มาตรฐาน
 
'''• วิชาการ ให้การฝึกประชุม อบรมทางวิชาการ แก่บุคลากรในและต่างประเทศ'''
 
'''• ภาคบริการโลหิต เร่งรัดพัฒนาการจัดหาและบริการโลหิตในภูมิภาคครบวงจร '''
 
::โดยภาคบริการโลหิตแห่งชาติ
 
'''• ระบบคุณภาพ ISO 9001:2015, ISO15189, ISO17025, GMP'''
 
'''• สร้างนโยบาย มาตรฐาน จัดทำคู่มือ แนวทาง จัดทำวารสารวิชาการเวชศาสตร์'''
 
::ธนาคารเลือดและโลหิตวิทยาวิจัยและพัฒนา
 
'''• ประสานความร่วมมือ ด้านบริการโลหิตกับกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล หน่วยงานรัฐและเอกชน'''
 
::ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ
 
เพื่อให้ระบบงานบริการโลหิตของประเทศ เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ คือ มีโลหิตใช้อย่างเพียงพอ และมีคุณภาพปลอดภัยสูงสุด ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จึงได้มีแนวคิดในการจัดตั้งภาคบริการโลหิตแห่งชาติ ขึ้นตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 12 แห่ง และอีก 1 แห่ง คือ สถานีกาชาดหัวหินเฉลิมพระเกียรติ ดำเนินงานครบวงจร ได้แก่ รับบริจาคโลหิต ตรวจคัดกรองโลหิต ตรวจ NAT ปั่นแยกส่วนประกอบโลหิต และจ่ายโลหิต ให้กับโรงพยาบาลเครือข่าย ได้แก่
[[ไฟล์:ขอบเขตงานของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ|left]]
::ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 2 จังหวัดลพบุรี
::ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 3 จังหวัดชลบุรี
::ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 4 จังหวัดราชบุรี
::ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา
::ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 6 จังหวัดขอนแก่น
::ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี
::ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 8 จังหวัดนครสวรรค์
::ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก
::ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 10 จังหวัดเชียงใหม่
::ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 11 อำเภอทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
::ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 12 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
::ภาคบริการโลหิตแห่งชาติจังหวัดภูเก็ต
 
'''ดำเนินงานรับบริจาคโลหิตเพียงอย่างเดียว'''
 
::งานบริการโลหิต สถานีกาชาดหัวหินเฉลิมพระเกียรติ จ.ประจวบคีรีขันธ์
 
== โครงการสร้างและภารกิจศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ==
'''การดำเนินงานของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ'''
 
'''1.การจัดหาโลหิต
'''
 
ตามที่องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดให้การจัดหาโลหิต ให้เพียงพอต้องมีการบริจาคโลหิตอย่างน้อย 3% ของจำนวนประชากร ส่วนหัวเมืองหรือจังหวัดใหญ่ และต้องเป็นผู้บริจาคที่ไม่หวังสิ่งตอบแทน โดยมีส่วนที่ทำหน้าที่ในการจัดหาโลหิต สภากาชาดไทย โดย ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และโรงพยาบาลสาขาบริการโลหิต ของรัฐ จำนวน 6 แห่ง ได้แก่
 
::1.โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
::2.โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
::3.สถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า
::4.โรงพยาบาลตำรวจ
::5.โรงพยาบาลรามาธิบดี
::6.คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
 
'''ภาคบริการโลหิตแห่งชาติและเหล่ากาชาดจังหวัดทั่วประเทศ ทำหน้าที่ประสานแผนการจัดหาและรับบริจาคโลหิตกับโรงพยาบาลของรัฐในส่วนภูมิภาค
'''
 
{| class="wikitable"
|-
! เป้าหมายการจัดหาโลหิต ||
|-
| การจัดหาโลหิตทั่วประเทศ || 2,800,000 ยูนิต
|-
|ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติและภาคบริการโลหิตแห่งชาติ || 1,190,000 ยูนิต
|-
| โรงพยายบาลทั่วประเทศ || 1,610,000 ยูนิต
|}
 
'''ความเพียงพอในการจัดหาโลหิต
'''
 
องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ ควรมีการบริจาคโลหิตให้ได้ร้อยละ 3 - 5 ของประชากร
 
::• ในกรุงเทพฯ อัตราการรับบริจาคโลหิต = 13 % ของประชากร
::::• ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ
::::• โรงพยาบาลของรัฐ 6 แห่ง เป็นสาขาบริการโลหิต
::• ในต่างจังหวัด อัตราการรับบริจาคโลหิต = 2-3% ของประชากร
::::• ดำเนินการโดยมีเหล่ากาชาดจังหวัดเป็นแกนกลาง
::::• ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ 13 แห่ง
::::• โรงพยาบาลของรัฐ ประมาณ 160 แห่ง
::• ความเพียงพอ มีการขาดแคลนโลหิตเป็นช่วงๆ
::::• เดือน กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน
::::• เดือน ตุลาคม พฤศจิกายน
::• VNRD การรับบริจาคโลหิตแบบการกุศลไม่หวังสิ่งตอบแทนตามแนวทางองค์การอนามัยโลก (WHO voluntary non remunerated blood donation VNRD)
::::• ต้องรณรงค์การบริจาคโลหิตโดยไมหวังสิ่งตอบแทน 100% ในปี ค.ศ.2020 (พ.ศ.2563)
::::• โรงพยาบาลของรัฐ ยังคงมีการรับบริจาคโลหิตจากญาติ 10%
 
'''2.การตรวจคัดกรองโลหิต
'''
 
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ มีนโยบายในการรับตรวจโลหิตทางห้องปฏิบัติการทางโลหิต เพื่อให้ได้มาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดเดียวกัน สามารถตรวจสอบข้อมูลผู้บริจาคโลหิตได้ และช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ และได้พัฒนายกระดับการตรวจคัดกรองโลหิตตลอดเวลา เทียบเท่ามาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่องตามนโยบายระดับชาติ โลหิตทุกยูนิตจะต้องได้รับการตรวจคัดกรองหาการติดเชื้อ ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการรับโลหิตของผู้ป่วย ได้แก่ ซิฟิลิส ไวรัสตัสอับเสบ บี, ไวรัสตับอับเสบ ซี, ไวรัสเอชไอวี โดยปัจจุบันได้ดำเนินการ ดังนี้
 
::• ศูนย์กลางรวมการตรวจคัดกรองโลหิต
::• พัฒนาการตรวจ NAT เป็นวิธีการตรวจหาเชื้อระดับโมเลกุล
::• พัฒนาการตรวจ Red cell serology
 
'''3.การดำเนินงานด้านคุณภาพ
'''
 
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ได้จัดทำระบบคุณภาพ ทุกงานทั้งระบบ เพื่อใช้ในการพัฒนาบุคลากร พัฒนาการทำงานและเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารงานในองค์กร ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ลดการสูญเสียต่างๆ จากการผลิต สร้างจิตสำนึกให้กับพนักงานทำงานอย่างเป็นระบบ มีแนวทางการทำงานที่ชัดเจน ควบคุมและตรวจสอบได้ง่าย และเพิ่มผลผลิต เป็นภาพลักษณ์ที่ดีได้ ดังนี้
 
::• ระบบคุณภาพ
::• การประเมินคุณภาพกับองค์กรภายนอก
 
'''การดำเนินงานภายใต้ระบบคุณภาพ 100%
'''
 
::• ISO9001:2008 → ISO9001:2015
::• ISO15189:2012, ISO15190:2003 for clinical lab
testing
::• GMP: Thai FDA application to production
sections, medicinal products and medical devices
::• Benchmarking system with International gencies
::• Policy strategies and global campaign :
::::WHO, IFRC, ICRC, GAP
::Academic, BTS comparison of practices, Society:
::::ISBT, APBN
::Accreditation body on Blood Collection and Blood donation management
::มีการควบคุมคุณภาพภายในองค์กร ภายนอกองค์กร และกับสถาบันในต่างประเทศ
 
'''การควบคุมคุณภาพภายนอก
'''External quality assessment scheme (EQAS)
 
'''4.ธนาคารเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต
'''
 
ในประเทศไทยได้เริ่มมีแนวคิดจัดตั้งโครงการจัดหาผู้บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตจากประชาชนทั่วไป ตั้งแต่ พุทธศักราช ๒๕๔๒ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตจากผู้บริจาคโลหิตที่ไม่ใช่ญาติ ให้กับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตแต่ไม่มีญาติพี่น้องที่มี HLA ตรงกัน โดยการบริจาคนี้จะเป็นการบริจาคด้วยความสมัครใจ และไม่มีการซื้อขาย ในวันที่ ๓๐เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๕ แพทยสภาได้ประกาศเป็นข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม เกี่ยวกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเม็ดโลหิตในราชกิจจานุเบกษา โดยกำหนดให้ศูนย์บริการโลหิตฯ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการจัดหาผู้บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตที่ไม่ใช่ญาติให้กับผู้ป่วย ดังนั้นศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จึงได้จัดตั้ง “ธนาคารเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตแห่งชาติ” (Thai National Stem Cell Donor Registry : TSCDR) เพื่อเป็นศูนย์กลางทะเบียนผู้บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ที่ไม่ใช่ญาติขึ้น ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของฝ่ายห้องปฏิบัติการพิเศษ ภายใต้ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เพื่อให้ผู้ประสงค์จะบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตให้แบบสมัครใจ ได้มาลงทะเบียน และตรวจคัดกรอง HLA ให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตมากขึ้นในอนาคต
 
''' 5.ศูนย์ผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสมา
'''
 
โครงการจัดตั้งศูนย์ผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสมา เป็นนโยบายบริการโลหิตแห่งชาติ ปี 2553 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ในเป้าประสงค์นโยบายที่ 8 ให้มีการผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสมาขึ้นใช้ภายในประเทศ ลดการนำเข้า และการพึ่งพาผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ ผลิต ผลิตภัณฑ์ 3 ชนิด คือ แอลบูมิน Factor VII และ อิมมูโนโกลบูลิน ที่มีมาตรฐานสากล ซึ่งโรงงานนี้ตั้งอยู่บนที่ดีสภากาชาดไทย กว่า 10 ไร่ ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 16มกราคม 2555 โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย พระราชทานนามอาคารว่า ศูนย์ผลิผลิตภัณฑ์จากพลาสมา สภากาชาดไทย เฉลิ มพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 และพระราชทาน พระบรมราชานุญาติ ให้เชิญอักษรพระนามาภิไธย “สธ” ประดับที่ป้ายชื่ออาคาร
 
'''6. โรงงานผลิตถุงบรรจุโลหิต'''
 
โรงงานผลิตถุงบรรจุโลหิตของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการขยายงานบริการโลหิตของประเทศ เนื่องจากในอดีตศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ต้องสั่งซื้อถุงบรรจุโลหิตที่นำเข้าจากต่างประเทศ เป็นเหตุให้มีต้นทุนสูงในการดำเนินการเจาะเก็บโลหิตและแยกส่วนประกอบโลหิต โดยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตจากโรงงานผลิตถุงบรรจุโลหิตของสภากาชาดออสเตรีย (Austrian Red Cross) และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดโรงงานผลิตถุงบรรจุโลหิต เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2539
 
ปัจจุบัน ฝ่ายผลิตถุงบรรจุโลหิต อุปกรณ์และน้ำยามีศักยภาพในการผลิตถุงบรรจุโลหิตหลากหลายประเภทตั้งแต่ถุงเดี่ยวจนถึงถุงชุด 4 ใบ กำลังการผลิตสูงสุดประมาณปีละ 600,000 ชุดหรือคิดเป็น 1,700,000 ใบต่อปี การผลิตถุงบรรจุโลหิตได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต สำหรับเครื่องมือแพทย์ (Good Manufacturing Practice, GMP) และได้รับการรับรองมาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 9001 มีการพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ถุงบรรจุโลหิตอย่างต่อเนื่อง ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งานของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์
 
'''7.การผลิตน้ำยาตรวจหมู่โลหิต ผลิตภัณฑ์เซลล์มาตรฐาน และน้ำยาอื่นๆ'''
 
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติได้ทำการศึกษา ค้นคว้า พัฒนานำความรู้มาทดลองวิจัยการผลิต mono¬clonal antibody (MoAb) จนสามารถผลิตน้ำยาชนิดต่างๆ ได้สำเร็จ สามารถนำมาใช้ในกิจการของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และสามารถแจกจ่ายให้กับโรงพยาบาล และธนาคารเลือดทั่วประเทศ ที่มีความปลอดภัย โดยโลหิตทุกยูนิตที่ได้รับบริจาคต้องมีการตรวจหมู่โลหิต ก่อนที่จะจ่ายออกไปให้โรงพยาบาลต่างๆ รวมทั้งผู้ป่วยที่ต้องการใช้โลหิตเพื่อการรักษาพยาบาล เป็นการช่วยให้ประเทศประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากเป็นแหล่งผลิต monoclonal antibody แห่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 
'''8. บทบาทด้านวิชาการ และการฝึกอบรม'''
 
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้สร้างมาตรฐาน คู่มือ และแนวทางปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่ทำงานด้านงานบริการโลหิต ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ
''' จัดทำวารสารวิชาการ'''
 
::1.Journal of hematology and Transfusion medicine
::2.Hand Book: Clinical Use of Blood
::3.Standard for Blood Bank and Transfusion Service
::4.Guideline on Hemovigilance
::5.Donor Selection Guideline
::6.PICS GMP Guide for Blood Establishment
 
'''บทบาทการเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมด้านเวชศาสตร์บริการโลหิต'''
 
::• WHO CC training for SERO members since 2004 - current
::• ประชุมวิชาการใหญ่ประจำปีของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ
::• The Seven Red Cross and Red Crescent Symposium on Blood Program in Asian Region Securing Stable Supply of Safe Blood : Thai Red Cross and Japanese Red Cross: 2015 (since 1995)
::• แพทย์ประจำบ้านโลหิตวิทยา อายุรศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์ พยาธิวิทยาคลินิก
::• อบรมระยะสั้นด้านงานบริการโลหิต
::• อบรมระยะสั้นการบริหารจัดการและทักษะการเจาะเก็บโลหิต
::• Blood Cold Chain
::• 16TH ISBT Regional Congress: 2005
::• ประชุมวิชาการสำหรับแพทย์และผู้ปฏิบัติงานธนาคารเลือด ประจำเดือน
::• ฝึกอบรม ดูงาน
 
'''9.ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยของโลหิต Hemovigilance
'''
 
::• Hemovigilance (HV)
::::• By 2015 HV has been established in Thailand by NBC Thai Red Cross Society
::::• National HV Committee (NHC)
::::• National HV Centre
::• National Guideline and Standard Definitions for HV
::• National reporting system to NBC via papers or web based
::• Voluntarily recruitment for hospital members to report HV
::::• 1st phase : University hospitals , MOPH hospitals high level cares
::::• 2nd phase : Tertiary, secondary care MOPH hospitals
::::• 3rd phase : All hospitals
 
'''10.ศูนย์กลางงานบริการโลหิต ระดับชาติ ความร่วมมือกับนานาชาติ
'''
 
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ได้ประสานความร่วมมือ กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานบริการโลหิต ทั้งในประดับชาติ และระดับนานาชาติ
::• คณะกรรมการร่วม เพื่อกำหนดนโยบายและแนวทางการพัฒนางานบริการโลหิตระดับชาติ
 
1.กระทรวงสาธารณสุข
 
2.สมาคมนักเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย
 
3.ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย
 
4.คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
5.คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
 
6.คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
 
7.คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
8.คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 
9.คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
 
{| class="wikitable"
|+ บริการโลหิตและเวชศาสตร์ธนาคารเลือด ระดับนานาชาติ
|-
! องค์กรระหว่างประเทศ !! บทบาท !! การดำเนินงาน
|-
| WHO, IFRC, ICRC || Policy || ประสานเชิงนโยบาย
|-
| ISBT || Academic || สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่เสนอผลงานในการประชุมทุกครั้ง ผลักดันการเป็นเจ้าภาพการจัด ISBT Regional Congress
|-
| WMDA || Academic Standard practice || ประชุมวิชาการ แลกเปลี่ยนข้อมูล ต้องผ่าน accreditation
|-
| APBN || Transfusion practice || แลกเปลี่ยนข้อมูล comparison of practice, knowledge exchange, news update
|-
| GAP || Consultation || การให้ความช่วยเหลือร่วมมือด้านต่างๆ
|-
| JRC || Academic || ขอรับการอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูง
จัดการประชุมทางวิชาการระหว่างประเทศทุก 2 ปี
|}
 
== การดำเนินงานของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ==
[[ไฟล์:ผลิตภัณฑ์ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ|thumb|right]]
 
• Hemovigilance (HV)
 
::• By 2015 HV has been established in Thailand by NBC Thai Red Cross Society
::• National HV Committee (NHC)
::• National HV Centre
 
• National Guideline and Standard Definitions for HV
 
• National reporting system to NBC via papers or web based
 
• Voluntarily recruitment for hospital members to report HV
 
::• 1st phase : University hospitals , MOPH hospitals high level cares
::• 2nd phase : Tertiary, secondary care MOPH hospitals
::• 3rd phase : All hospitals
 
== ผลิตภัณฑ์ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ==
'''ผลิตภัณฑ์ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติเพื่อการรักษาทางการแพทย์'''
 
1.ส่วนประกอบของโลหิตและผลิตภัณฑ์โลหิต (Blood Components and Blood Products)
::1.1 โลหิตรวม (Whole Blood ) ใช้กับผู้ป่วยที่เกิดภาวะเสียโลหิต เช่น อุบัติเหตุ โลหิตออกในกระเพาะอาหาร และลำไส้ การผ่าตัดหัวใจ เป็นต้น
::1.2 เม็ดเลือดแดง (Packed Red Cells – PRC) เตรียมโดยการปั่นแยกจากโลหิตทั้งหมด แยกเอาพลาสมา เหลือแต่เม็ดเลือดแดง ใช้กับผู้ป่วยโรคหัวใจ โลหิตจาง และในภาวะที่ผู้ป่วยซีดมาก
::1.3 เม็ดเลือดแดงที่ไม่มีเม็ดเลือดขาว (Leukocyte-Poor Packed Red Cells – LPRC) เตรียมโดยการใช้ เครื่องมือบีบอัตโนมัติ แยกเม็ดเลือดขาวออก ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการแพ้เม็ดเลือดขาว และผู้ป่วยที่ต้องรับเลือดบ่อยๆ
::1.4 พลาสมาสดแช่แข็ง (Fresh Frozen Plasma – FFP) ใช้สำหรับผู้ป่วยขาดแฟคเตอร์ XI และผู้ป่วยที่ขาด ปัจจัยการแข็งตัวของเลือดมาแต่กำเนิด และไม่มีปัจจัยการแข็งตัวชนิดนั้นๆ แบบเข้มข้น หรือผู้ป่วยที่ขาดปัจจัยการแข็งตัว ของเลือดหลายชนิดร่วมกัน
::1.5 เกล็ดเลือดเข้มข้น (Platelet Concentrates – PC) ได้จากการปั่นแยกจากโลหิตรวม รักษาผู้ป่วยที่ภาวะ เกล็ดเลือดต่ำ เช่น โรคไข้เลือดออก เกล็ดเลือดไม่ทำงาน และผู้ป่วยไขกระดูกฝ่อ เป็นต้น
::1.6 เกล็ดเลือดเข้มข้นที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำ (Leukocyte-Poor Platelet Concentrates- LPPC) สามารถลด ปฏิกิริยาจากการให้เลือดที่เกิดจากเม็ดเลือดขาวได้ ใช้กับผู้ป่วยที่เกล็ดเลือดผิดปกติ
::1.7 ไครโอปริซิพิเตท (Cryoprecipitate) เตรียมจากพลาสมาสดแช่แข็ง ประกอบด้วย แฟคเตอร์ VIII รักษา โรคฮีโมฟีเลีย เอ แฟคเตอร์ 1 รักษาภาวะขาดไฟบริโนเจน
::1.8 พลาสมาที่แยกไครโอปริซิพิเตทออกแล้ว (Cryo-Removed Plasma – CRP) ใช้ในผู้ป่วยโลหิตออก เนื่องจาก โรคตับแข็ง ฮีโมฟีเลีย บี เป็นต้น
::1.9 พลาสมาสดแห้ง (Fresh Dried Plasma - FDP) เป็นการนำพลาสมาสดทำให้แห้งโดยวิธีการระเหิด มีคุณสมบัติ ทางชีวภาพ และปัจจัยการแข็งตัวของเลือดเหมือนเดิม ใช้กับผู้ป่วยฮีโมฟีเลีย
::1.10 พลาสมาแห้งที่ไม่มีไครโอปริซิพิเตท (Dried Cryo-Removed Plasma – DCRP) มีคุณสมบัติเหมือน พลาสมาธรรมดา เตรียมด้วยการนำ CRP มาถ่ายลงขวดที่ปราศจากเชื้อ นำไปผ่านขั้นตอนการทำให้แห้ง ใช้สำหรับผู้ป่วย โรคฮีโมฟีเลีย บี
::1.11 ไครโอปริซิพิเตทแห้งโดยผ่านความร้อน (Heat Treated Freeze Dried Cryoprecipitate – HTFDC) นำไครโอปริซิพิเตทมาลงขวดทำให้แห้งนำไปฆ่าเชื้อไวรัสด้วยความร้อน ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย เอ และผู้ป่วยที่ขาด ไฟบริโนเจน
::1.12 20% Human Albumin Solution ใช้รักษาผู้ป่วยในกรณีถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โรคขาดอาหาร และโรคตับ เป็นต้น
::1.13 เซรุ่มต้านโรคพิษสุนัขบ้า (Human Rabies Immunoglobulin – HRIG) แยกส่วนประกอบของพลาสมา ของผู้ที่เข้าโครงการ เพื่อจัดทำเซรุ่ม ใช้สำหรับป้องกันและรักษาโรคหลังจากถูกสุนัขบ้ากัด
::1.14 เซรุ่มต้านโรคไวรัสตับอักเสบ บี (Hepatitis B Immunoglobulin – HBIG) ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป ใช้ป้องกัน ไวรัสตับอักเสบ บี
::1.15 กาวไฟบริน (Fibrin Glue) มีคุณสมบัติพิเศษในการปิดแผลที่มีเลือดออกให้เลือดหยุดอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้กับผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัด ไม่บอบช้ำ จากการผ่าตัด ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียเลือดออกง่ายหยุดยาก การถอนฟัน เป็นต้น
 
2. ส่วนประกอบโลหิตพิเศษเพื่อการรักษาทางการแพทย์
::2.1 เม็ดเลือดขาวจากผู้บริจาครายเดียว (Single Donor Granulocytes) ใช้กับผู้ป่วยภาวะติดเชื้ออย่างรุนแรง หรือที่ให้ยาปฏิชีวนะแล้วไม่ได้ผล
::2.2 เกล็ดเลือดชนิดผู้บริจาครายเดียว (Single Donor Platelet Concentrates – SDP) ใช้กับผู้ป่วยที่มีเลือด ออกง่ายเพราะเกล็ดเลือดต่ำ จากสาเหตุโรคไขกระดูกฝ่อ มะเร็งเม็ดเลือดขาว ภาวะติดเชื้อรุนแรง และเกล็ดเลือดทำหน้าที่ ผิดปกติ
::2.3 พลาสมาสดแช่แข็งที่รับจากผู้บริจาครายเดียว (Single Donor Fresh Frozen Plasma – SD-FFP) ใช้ใน กรณีเช่นเดียวกับ FFP
::2.4 เม็ดเลือดแดงเข้มข้น 2 ถุง จากผู้บริจาครายเดียว (Single Donor Red Cells – SDR) ใช้กับผู้ป่วยที่มี ภาวะโลหิตจาง จากสาเหตุต่างๆแล้ว ยังเหมาะกับผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย หรือผู้ป่วยที่มีแอนติบอดีย์ต่อต้านเม็ดเลือดขาว หรือใช้ในผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ
 
::การนำโลหิตมาแยกส่วนประกอบนั้น เป็นการใช้โลหิตที่เหมาะสมและใช้ได้ตรงตามความต้องการของผู้ป่วยได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
 
== ความภาคภูมิใจ ==
'''• เข็มที่ระลึกผู้บริจาคโลหิต'''
 
::เข็มที่ระลึก ครั้งที่ 108
 
::เข็มที่ระลึก ครั้งที่ 96
 
::เข็มที่ระลึก ครั้งที่ 84
 
::เข็มที่ระลึก ครั้งที่ 72
 
::เข็มที่ระลึก ครั้งที่ 60
 
::เข็มที่ระลึก ครั้งที่ 48
 
::เข็มที่ระลึก ครั้งที่ 36
 
::เข็มที่ระลึก ครั้งที่ 24
 
::เข็มที่ระลึก ครั้งที่ 16
 
::เข็มที่ระลึก ครั้งที่ 7
 
::เข็มที่ระลึก ครั้งที่ 1
 
'''• เหรียญกาชาดสมนาคุณ'''
 
::เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้น 1 (บริจาคโลหิต 100 ครั้ง)
::เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้น 2 (บริจาคโลหิต 75 ครั้ง)
 
::เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้น 3 (บริจาคโลหิต 50 ครั้ง)
 
::พัดกาชาดสมนาคุณสำหรับพระสงฆ์
 
::พัดกาชาดสมนาคุณ ชั้น 1 (พระภิกษุบริจาคโลหิต 100 ครั้ง)
 
::พัดกาชาดสมนาคุณ ชั้น 2 (พระภิกษุบริจาคโลหิต 75 ครั้ง)
 
::พัดกาชาดสมนาคุณ ชั้น 3 (พระภิกษุบริจาคโลหิต 50 ครั้ง)
 
== เชิงอรรถ ==
* รายการเชิงอรรถ (เชิงอรรถและอ้างอิงอาจใช้ร่วมกันได้ถ้าเชิงอรรถมีไม่มาก)
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[บทความอื่น]] (ในวิกิพีเดีย)
 
== แหล่งอ้างอิงข้อมูล ==
:• www.blooddonationthai.com
 
:• หนังสือ 5 ทศวรรษ ให้ชีวิต...เพื่อชีวิต
 
:• รายงานประจำปี 2559 ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
 
:• รายงานประจำปี 2560 ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
 
:• คู่มือสำหรับผู้ประสานงานการจัดหาผู้บริจาคโลหิต
 
 
{{กล่องท้ายเรื่อง}}
 
{{เรียงลำดับ|___}}
[[หมวดหมู่:___]]
{{โครง___}}