ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยายมราช (บุนนาค ยมนาค)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้า
 
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล ไดเมียว
| name = เจ้าพระยายมราช<br> (บุนนาค)
| image =
| caption =
|succession = เจ้าพระยายมราช
|ดำรงตำแหน่ง = ? – 4 ธันวาคม พ.ศ. 2389
|กษัตริย์ = [[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
|ก่อนหน้า = เจ้าพระยายมราช (แสง)
|ถัดไป = [[เจ้าพระยายมราช (ศุข สินศุข)]]
| death_type = ถึงแก่กรรม
|death2 = 4 ธันวาคม พ.ศ. 2389
|สถานที่ = พระนคร {{flag|Siam}}
}}
'''เจ้าพระยายมราช''' นามเดิม '''บุนนาค''' หรือ "เจ้าพระยายมราชตะเฆ่ทับ" (? - 4 ธันวาคม พ.ศ. 2389) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพระยายมราชในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เป็นแม่ทัพผู้มีบทบาทสำคัญในสงคราม[[อานัมสยามยุทธ]] เป็นแม่กองกำกับการสร้าง[[วัดราชนัดดารามวรวิหาร|วัดราชนัดดาราม]] และเป็นต้นสกุล"ยมนาค"
 
เส้น 11 ⟶ 24:
โรม บุนนาค. '''พระพุทธรูปที่งดงามอย่างประหลาด คร่าชีวิตเจ้าพระยายมราช! ทรงยิ้มและทักทายผู้มากราบไหว้!!'''.</ref>เป็นสถานที่สร้างวัด เจ้าพระยายมราชเป็นแม่กองกำกับการสร้างพระอุโบสถพระวิหารและศาลาการเปรียญ<ref name=":1" /> ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2389 มีการชักพระพุทธรูปจากพระบรมมหาราชวังอัญเชิญไปประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดราชนัดดาราม เจ้าพระยายมราช (บุนนาค) ประกาศแก่ราษฎรให้มาช่วยกันชักพระ ราษฎรเข้ามาช่วยกันชักพระเป็นจำนวนมาก โดยใช้ตะเฆ่ผูกกับเชือกชักลากไปและเจ้าพระยายมราชขึ้นอยู่บนตะเฆ่นั้น เมื่อถึงหัวมุมถนนเลี้ยวเจ้าพระยายมราชลงจากตะเฆ่มาควบคุมการจัดตะเฆ่เพื่อเลี้ยว เมื่อตะเฆ่เลี้ยวสำเร็จแล้ว เจ้าพระยายมราชและพนักงานกำลังผูกเชือกตะเฆ่อยู่ ราษฎรได้ยินเสียงม้าร้องเข้าใจว่าให้ลากแล้วจึงฉุดลากไป ตะเฆ่จึงแล่นมาทับเจ้าพระยายมราชและพนักงาน "''เจ้าพระยายมราชมิทันจะกระโดดขึ้นตะเฆ่ ด้วยชะราถึง ๗๐ ปีเศษแล้ว ไม่ว่องไว ได้ยินเสียงเขาโห่เกรียวขึ้นก็วิ่งหลบออกมาข้างถนน พอตะเฆ่มาถึงตัวสะดุดเอาล้มลง ตะเฆ่ก็ทับต้นขาขาดข้างหนึ่งเพียงตะโพก ทนายสองคนเข้าช่วย ตะเฆ่ก็ทับเอาทนายสองคนนั้นด้วย''"<ref name=":0" /> เป็นเหตุให้เจ้าพระยายมราช (บุนนาค) ถึงแก่กรรม และเป็นที่มาของสมยานาม"เจ้าพระยายมราชตะเฆ่ทับ" ซึ่งต่อมาพระพุทธรูปองค์นี้ ได้รับพระราชทานนามว่า "พระเสฏฐตมมุนินทร์"
 
ต่อมา[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ได้พระราชทานนามสกุลแก่นายร้อยเวรตรีจีน ซึ่งเป็นเหลนของเจ้าพระยายมราช (บุนนาค) ว่า "ยมนาค" โดยคำว่า ยม มาจาก "ยมราช" ซึ่งเป็นราชทินนามของเจ้าพระยายมราช และ นาค มาจาก "บุนนาค" ซึ่งเป็นชื่อตัวของเจ้าพระยายมราช
 
== อ้างอิง ==
 
{{เรียงลำดับ|ยมราช บุนนาค}}
{{ตายปี|2389}}
[[หมวดหมู่:บรรดาศักดิ์ชั้นเจ้าพระยา|ยมราช (บุนนาค)]]
[[หมวดหมู่:รัชกาลที่ 3]]