ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คัมภีร์ไบเบิล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Worrawit suphadee (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับไอโอเอส
Worrawit suphadee (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับไอโอเอส
บรรทัด 8:
 
== สารบบของคัมภีร์ ==
คัมภีร์ไบเบิลไม่ใช่หนังสือเล่มเดียว แต่เป็นชุดหนังสือหลายเล่มที่เขียนโดยผู้เขียนหลายคนและหลายช่วงเวลา แล้วได้รวมกันเป็นสารบบจึงเรียกว่า'''สารบบของคัมภีร์''' (Canon of Scripture) ในปัจจุบันคริสตชนนิกาย[[โรมันคาทอลิก]]และ[[โปรเตสแตนต์]]ยึดคัมภีร์ฮีบรูต่างสารบบกัน ทำให้คัมภีร์ไบเบิลของทั้งสองนิกายมีเนื้อหาไม่เท่ากัน คริสตจักรโรมันคาทอลิกยึดคัมภีร์ฮีบรูสารบบ[[เซปตัวจินต์]]ที่มีมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ซึ่งกำหนดให้คัมภีร์ภาค[[พันธสัญญาเดิม]]มีหนังสือทั้งหมด 46 เล่ม แต่คริสตจักรฝ่ายโปรเตสแตนต์ยึดสารบบตาม[[สภาแจมเนีย]]ที่เกิดขึ้นช่วงปลาย[[คริสต์ศตวรรษที่ 1]] ซึ่งกำหนดให้[[คัมภีร์ฮีบรู]]ประกอบด้วยหนังสือ 39 เล่ม (เพราะตัด[[คัมภีร์อธิกธรรม]] 7 เล่ม ออกไป)<ref name="พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน"/>
 
คริสต์ศาสนิกชนใช้[[คัมภีร์ฮีบรู]]ของ[[ศาสนายูดาห์]]รวมเข้าในสารบบคัมภีร์ไบเบิลด้วยโดยเรียกว่า[[พันธสัญญาเดิม]] แต่สารบบของคัมภีร์ฮีบรูเสร็จสมบูรณ์เมื่อไรกลับไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด มีปรากฏเป็นหลักฐานครั้งแรกใน[[หนังสือบุตรสิรา]]<ref>Broderick S. Pabillo, พระคัมภีร์ ฝีพระหัตถ์พระเจ้า ฝีมือมนุษย์, แปลโดย [[ประธาน ศรีดารุณศีล]] และมนต์สิงห์ ไกรสมสุข, 2550, หน้า 121</ref> ซึ่งเขียนขึ้นราว 130 ปีก่อนคริสตกาล ว่า[[คัมภีร์ฮีบรู]]ประกอบด้วย[[โทราห์|ธรรมบัญญัติ]] [[ผู้เผยพระวจนะ]] และข้อเขียนอื่น ๆ เมื่อคริสต์ศาสนาเกิดขึ้นแล้วหนังสือในสารบบพันธสัญญาเดิมก็ยังไม่ลงตัว เพราะภายในคริสตจักรเห็นไม่ตรงกันว่าควรรับคัมภีร์อธิกธรรมเข้าในสารบบพันธสัญญาเดิมหรือไม่ จนกระทั่งเกิดสภา[[สังคายนาแห่งฟลอเรนซ์]]ในปี ค.ศ. 1442 จึงได้ข้อสรุปในคริสตจักรโรมันคาทอลิกว่าให้รวมคัมภีร์อธิกธรรมเข้าในสารบบด้วย<ref> Broderick S. Pabillo, หน้า 123</ref> เมื่อเกิด[[การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์]] ชาวโปรเตสแตนต์ได้คัดค้านการรวมคัมภีร์อธิกธรรมในสารบบคัมภีร์ไบเบิล คริสตจักรโรมันคาทอลิกจึงตั้งสภา[[สังคายนาแห่งเทรนต์]] (ค.ศ. 1545-63) และสภามีประกาศยืนยันให้ยอมรับคัมภีร์อธิกธรรมว่าเป็นพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ด้วย ผู้ใดไม่ยอมรับให้ผู้นั้นต้องถูก[[การตัดขาดจากศาสนา|ตัดออกจากศาสนจักร]]<ref> Broderick S. Pabillo, หน้า 124</ref> ส่วนโปรเตสแตนต์ยังยืนยันไม่รับคัมภีร์อธิกธรรมเพราะยืนยันว่าคริสตจักรโรมันคาทอลิกเพิ่มเติมขี้นมาเอง ซึ่งต่างไปจากเนื้อหาใน[[คัมภีร์ฮีบรู]]ทำให้คัมภีร์ไบเบิลของทั้งสองนิกายต่างสารบบกันมาจนถึงปัจจุบัน
 
ส่วนสารบบของพันธสัญญาใหม่ก็ได้ข้อสรุปล่าช้าเช่นกัน เพราะหนังสือทุกเล่มในพันธสัญญาใหม่เขียนขึ้นหลังการเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ของพระเยซู ในระยะแรกเอกสารเหล่านี้ใช้เป็นบทอ่านที่เผยแพร่กันในคริสตจักร<ref>คณะผู้เชี่ยวชาญสำนักพิมพ์ไลออน, เจาะโลกพระคัมภีร์, กรุงเทพฯ : กนกบรรณสาร, 2548, หน้า 74</ref> บางเอกสารเช่น [[จดหมายของเปาโล]]ได้รับการยอมรับจาก[[อัครทูต]][[ซีโมนเปโตร]]ว่าเป็นเอกสารที่เขียนโดยการดลใจจากพระเจ้า หนังสือที่เป็น[[พระวรสาร]]ก็ได้รับการยอมรับตั้งแต่[[ศาสนาคริสต์ยุคแรก]]<ref> Broderick S. Pabillo, หน้า 125</ref> แต่รายชื่อของหนังสือในสารบบพันธสัญญาใหม่ก็ยังไม่ปรากฏชัดเจน แต่ละเล่มยังได้รับการยอมรับไม่พร้อมกัน เช่น พระวรสารทั้ง 4 เล่มและจดหมายของเปาโลได้รับการยอมรับตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 3 และมีการยอมรับหนังสือ[[วิวรณ์]]ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 หนังสือฮีบรูได้รับการยอมรับในคริสต์ศตวรรษที่ 4 นอกจากนี้หนังสือบางเล่มเป็นที่ยอมรับเข้าสารบบพันธสัญญาใหม่โดยคริสตจักรในท้องถิ่นหนึ่งแต่ไม่ได้รับการยอมรับในท้องถิ่นอื่น เช่น จดหมายของนักบุญบารนาบัส หนังสือของเคลเมนต์ เป็นต้น จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 5 คริสตชนทุกกลุ่มจึงมีคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่เป็นสารบบเดียวกัน<ref> Broderick S. Pabillo, หน้า 126</ref>
 
== ภาคพันธสัญญาเดิม ==