ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระโคตมพุทธเจ้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Worrawit suphadee (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับไอโอเอส
ย้อน, ไร้สาระ
บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล บุคคลในพระพุทธประวัติ รักนะจุ๊บๆ
| name = พระโคตมพุทธเจ้า
| img = Buddha meditating.jpg
บรรทัด 48:
=== พระประสูติกาล ===
[[ไฟล์:Wat Tha Thanon 05.jpg|thumb|left|เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ]]
ในคืนที่พระโพธิสัตว์เสด็จปฏิสนธิในครรภ์พระนางสิริมหามายา พระนางทรงพระสุบินนิมิตว่า มี[[ช้างเผือก]]มีงาสามคู่ ได้เข้ามาสู่พระครรภ์ ณ ที่บรรทม สิบเดือนหลังจากนั้น ขณะทรงพระครรภ์แก่ ได้ทรงขอพระราชานุญาตจากพระสวามีเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุง[[เทวทหะ]]อันเป็นพระมาตุภูมิ เพื่อให้การประสูติเป็นไปตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ระหว่างเสด็จกลับพระมาตุภูมิ พระนางได้ทรงพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้น[[สาละ]]ในสวนป่า[[ลุมพินี]]<ref>Buddhist Studies. (2008). ''Lumbini: Birth Place of the Buddha.'' [Online]. Available: < http://www.buddhanet.net/e-learning/buddhistworld/lumbini.htm >. (Accessed: 18 October 2008).</ref> ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี เมื่อประสูติแล้ว พระราชกุมารนั้นทรงพระดำเนินได้ 7 ก้าวทันที พร้อมทั้งเปล่งอาสภิวาจา ว่า "เราเป็นผู้เลิศ เป็นผู้เจริญ เป็นผู้ประเสริฐที่สุดแห่งโลก การเกิดของเราครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว"<ref>[http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=5090&Z=5281&pagebreak=0 อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร], พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์</ref> อนึ่ง ทั้งสวนป่าลุมพินีและกรุงกบิลพัสดุ์ในปัจจุบันอยู่ในเขต[[ประเทศเนปาล]]<ref>UNESCO World Heritage Centre. (2006). ''Lumbini, the birthplace of the Lord Buddha.'' Available: < http://whc.unesco.org/pg.cfm?cid=31&id_site=666 >. (Accessed: 18 October 2008).</ref>
 
หลังจากมีพระประสูติกาลแล้ว 3 วัน มีฤๅษีตนหนึ่งนามว่า "อสิตะ" ได้เข้าเยี่ยมพระราชกุมาร เมื่อพิจารณาดูก็พยากรณ์ว่าพระราชกุมารนี้จะได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณอย่างแน่นอน<ref>[http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=9556&Z=9695 นาลกสูตร], พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต</ref>
 
เมื่อพระชนมายุ 5 วัน พระเจ้าสุทโธทนะโปรดให้เชิญพราหมณ์มา 108 คนเพื่อถวายพระนามพระราชกุมาร จึงได้พระนามว่า "สิทธัตถะ" จากนั้น พระเจ้าสุทโธทนะได้เชิญพราหมณ์ 8 คนเข้าพิจารณาพระลักษณะของพระกุมารเพื่อถวายคำพยากรณ์ พราหมณ์ 7 คนในจำนวนนั้นทำนายเป็น 2 สถาน คือหากพระราชกุมารครองราชย์จะได้เป็น[[พระเจ้าจักรพรรดิ]] หากผนวชจะได้ตรัสรู้เป็น[[พระพุทธเจ้า]] เว้นแต่พราหมณ์อายุน้อยสุดชื่อ "[[พระอัญญาโกณฑัญญะ|โกณฑัญญะ]]" พยากรณ์ว่า พระราชกุมารจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน<ref>[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=9 พรรณนาอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน], อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน</ref>
 
หลังจากที่มีพระประสูติกาลแล้ว 7 วัน พระพุทธมารดาก็เสด็จสวรรคต ใน[[ปฐมสมโพธิกถา]] พระนิพนธ์ใน[[สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส]]กล่าวว่า เป็นเพราะพระครรภ์ของพระพุทธมารดาไม่ควรจะเป็นที่เกิดของสัตว์ใดอีก และจึงจักต้องเสด็จสู่สวรรคาลัย จึงต้องอยู่ในการดูเแลของพระนางปชาบดีโคตมี หรือ[[พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี]]ในเวลาต่อมา
บรรทัด 65:
==== ตามนัยอรรถกถา ====
[[ไฟล์:Four Heavenly Messengers.jpg|thumb|left|เทวทูตทั้ง 4]]
เหตุการณ์การออกผนวชจากหลักฐานชั้น[[อรรถกถา]]กล่าวว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเจริญวัยจนมีพระชนมายุได้ 29 พรรษาแล้ว ทรงเสพสุขอยู่บนปราสาท 3 ฤดู มีความสุขทางโลกบริบูรณ์<ref>สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. ''มาคณฺฑิยสุตฺต ปริพาชกวคฺค'' ม. ม. 13/247/281</ref> จนวันหนึ่งได้เสด็จประพาสอุทยาน ครั้งนั้นเทวดาได้เนรมิต[[เทวทูต]] 4 อันได้แก่ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้ง 4 ก็ทรงบังเกิดความสังเวชในพระทัย และใคร่เสด็จออกผนวชเป็น[[สมณะ]]
 
วันที่[[พระราหุล|เจ้าชายราหุล]]ประสูตินั้น เป็นวันที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา ด้วยทรงเบื่อในเพศ[[ฆราวาส]]อันเต็มไปด้วย[[กิเลส]] จึงทรงเห็นว่าเพศบรรพชิตเท่านั้นที่ประเสริฐ และเป็นสามารถจะหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้ เมื่อตัดสินพระทัยจะออกผนวช จึงตรัสให้[[พระฉันนะ|นายฉันนะ]]เตรียมม้าพระที่นั่ง แล้วเสด็จไปเยี่ยมพระโอรสและพระชายา เมื่อพระองค์เห็นพระนางพิมพาบรรทมหลับสนิทพระกรกอดโอรสอยู่ ทรงพระดำริจะอุ้มพระโอรสขึ้นชมเชยเป็นครั้งสุดท้าย แต่ก็เกรงว่าพระนางพิมพาจะตื่นบรรทม เป็นอุปสรรคขัดขวางการเสด็จออกบรรพชา จึงตัดพระทัยระงับความเสน่หาในพระโอรสเสด็จออกจากห้อง เสด็จลงจากปราสาทพบนายฉันนะซึ่งเตรียม[[ม้ากัณฐกะ]]เป็นม้าพระที่นั่งไว้แล้ว เสด็จออกจากพระนครในเวลาเที่ยงคืน<ref>[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=402&p=1 อรรถกถาอัญญตราเถรีคาถา], อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรีคาถา เอกกนิบาต</ref> เข้าเขตแดน[[แคว้นโกศล]]และ[[แคว้นวัชชี]] จนถึงฝั่ง[[แม่น้ำอโนมา]]ในคืนนั้น เมื่ออาทิตย์ขึ้นแล้วจึงทรงครองบาตรและจีวรที่[[ฆฏิการพรหม]]นำมาถวาย<ref>[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=81 อรรถกถากัณฐกวิมาน], อรรถกถา ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ สุนิกขิตวรรคที่ ๗</ref> ขณะนั้นตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 จากนั้น ทรงส่งนายฉันนะให้นำเครื่องทรงกษัตริย์กลับนคร แล้วเสด็จลำพังโดยพระองค์เดียว มุ่งพระพักตร์ไปยัง[[แคว้นมคธ]]
 
==== ตามนัยพระบาลี (พระไตรปิฎก) ====
เหตุการณ์การออกผนวชจากหลักฐานชั้นต้นคือพระไตรปิฎกกล่าวว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะอายุได้ 29 พรรษา ทรงพระดำริว่า
 
{{คำพูด|<center>...มนุษย์ทั้งหลายมีความทุกข์เกิดขึ้นครอบงำอยู่ตลอดเวลาก็จริง เกลียดความทุกข์อยู่ตลอดเวลาก็จริง<br />แต่ทำไมมนุษย์ทั้งหลายยังมัวแสวงหาทุกข์ร้อนใส่ตัวอยู่ตลอดเวลา แล้วทำไม เราต้องมามัวนั่งแสวงหาทุกข์ใส่ตัวอยู่อีกเล่า!</center>|''สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี''. ปาสราสิสุตฺต โอปทฺทมวคฺค'' อุปริ. ม. มู. ม. 12/316/316''}}
 
ความคิดเช่นนี้ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะถึงกับตั้งพระทัยออกผนวชด้วยดำริว่า
บรรทัด 99:
 
=== พระสุบินนิมิต ===
ขณะที่พระบรมโพธิสัตว์บรรทมหลับในยามราตรีของคืนวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 จนเวลาใกล้รุ่ง ทรงสุบินนิมิต 5 ประการ<ref>[http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=5583&Z=5634 สุบินสูตร], พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต</ref> คือ
 
# นอนหงายบนพื้นปฐพี มี[[ป่าหิมพานต์|เขาหิมพานต์]]เป็นเขนย ([[หมอน]]) พระพาหาซ้ายจมลงไปใน[[มหาสมุทร]]ทิศบูรพา พระพาหาขวาหยั่งลงไปในมหาสมุทรด้านทิศปัจฉิม และพระบาท ([[เท้า]]) ทั้งสองหยั่งลงไปในมหาสมุทรด้านทิศทักษิณ
บรรทัด 237:
หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าจึงเสด็จดับขันธ์ปรินิพาน ระหว่างใต้[[ต้นสาละ]]คู่ ณ กรุงกุสินารา ณ ปัจฉิมยามแห่งราตรีวิสาขปรุณมีเพ็ญเดือน 6 ขณะมีพระชนมายุ 80 พรรษา ประเทศ[[ประเทศกัมพูชา|กัมพูชา]]และ[[ประเทศพม่า|พม่า]]นับปีนี้เป็น [[พ.ศ. 1]] แต่ในประเทศไทยนับ พ.ศ. 1 หนึ่งปีหลังจากการปรินิพพาน ซึ่งแตกต่างเพียงเล็กน้อย
 
[[มโน เลาหวณิช]] สันนิษฐานว่าพระอาการประชวรมีสาเหตุมาจากการอุดตันของเส้นเลือดใหญ่ในลำไส้เล็กส่วนกลาง (superior mesenteric artery) เมื่อกล้ามเนื้อลำไส้ของพระองค์ตายจากการอุดตันของเส้นเลือด ทำให้เลือดจำนวนมากไหลเข้าสู่ลำไส้ เกิดการถ่ายเป็นเลือด นอกจากนี้ แบคทีเรียจำนวนมากได้เข้าสู่ช่องท้องทำให้เกิดการอักเสบของช่องท้อง แบคทีเรียส่วนหนึ่งเข้าสู่กระแสพระโลหิต ทำให้เกิดพระอาการช็อกและหนาวสั่น อาการช็อกทำให้พระองค์เกิดการกระหายน้ำ เนื่องจากไม่สามารถพระดำเนินได้เองจึงทรงรับสั่งให้พระอานนท์ไปตักน้ำมาถวาย และรับสั่งให้นำผ้า[[สังฆาฏิ]]ปูบริเวณลานหนา 4 ชั้นเพื่อให้ทรงประทับ เมื่อพระอาการดูท่าไม่ดี เหล่าภิกษุได้ช่วยกันนำพระองค์เข้าไปในเมืองเพื่อรักษาแต่ไม่สำเร็จ จึงเสด็จปรินิพพานในกรุงกุสินารา หลังวันวิสาขบูชาราว 5-6 เดือนในช่วงออกพรรษา หลังจากปรินิพพานแล้ว มัลลกษัตริย์ทั้งหลายมีมติที่จะเคลื่อนพระพุทธสรีระออกจากเมืองไปประตูทางทิศใต้<ref name =<"Havard">{{cite web | url = https://www.silpa-mag.com/club/article_10377 | title = พระพุทธเจ้าปรินิพพานด้วยโรคอะไร? | date = 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560 | publisher = ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ กรกฎาคม 2543 | author = พระมโน เมตฺตานนฺโท}}</ref> แต่ก็ไม่สามารถอัญเชิญพระพุทธสรีระไปได้ แม้แต่จะขยับเขยื้อนให้เคลื่อนจากสถานที่สักน้อยหนึ่ง มัลลกษัตริย์พากันตกตลึงในเหตุอัศจรรย์ที่ไม่เคยประสบเช่นนั้น จึงได้พร้อมกันไปเรียนถามพระอนุรุทธะเถระซึ่งเป็นประธานสงฆ์อยู่ พระอนุรุทธะเถระได้กล่าวว่า เหล่าเทวดามีความประสงค์ที่จะเคลื่อนพระพุทธสรีระให้เข้าเมืองจากทิศเหนือแล้วออกไปยังประตูทางทิศตะวันออก มัลลกษัตริย์ทั้งหลายต่างได้ทำตามความประสงค์ของเหล่าเทวดา หลังจากนั้นพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพได้ถูกจัดขึ้นในวันที่ 8 หลังพุทธปรินิพพาน เมื่อหลังจากที่พระเพลิงเผาซึ่งเผาไหม้พระพุทธสรีระดับมอดลงแล้ว บรรดากษัตริย์มัลละทั้งหลายจึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมด ใส่ลงในหีบทองแล้วนำไปรักษาไว้ภายในนครกุสินารา ส่วนเครื่องบริขารต่างๆ ของพระพุทธเจ้าได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานตามที่ต่างๆ อาทิ ผ้าไตรจีวร อัญเชิญไปประดิษฐานที่แคว้นคันธาระ บาตรอัญเชิญไปประดิษฐานที่เมืองปาตลีบุตร เป็นต้น และเมื่อบรรดากษัตริย์จากแคว้นต่างๆ ได้ทราบว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานที่นครกุสินารา จึงได้ส่งตัวแทนไปขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อนำกลับมาสักการะยังแคว้นของตนแต่ก็ถูกกษัตริย์มัลละปฏิเสธ จึงทำให้ทั้งสองฝ่ายขัดแย้งและเตรียมทำสงครามกัน แต่ในสุดเหตุการณ์ก็มิได้บานปลาย เนื่องจากโทณพราหมณ์ได้เข้ามาเป็นตัวกลางเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อยุติความขัดแย้งโดยเสนอให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 8 ส่วนเท่าๆ กัน ซึ่งกษัตริย์แต่ละเมืองทรงสร้างเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุตามเมืองต่างๆ
 
== หลักธรรมคำสอน ==