ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนวิภาวดีรังสิต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
V i P (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 30:
ถนนวิภาวดีรังสิตตั้งชื่อตามพระนามของ[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต]] (พระนามเดิม: หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต) พระธิดาใน[[พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์]] เป็นพระราชวงศ์ฝ่ายในที่บำเพ็ญพระกรณียกิจอันเป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง โดยเสด็จเยี่ยมราษฎรในเขตที่ผู้ก่อการร้ายปฏิบัติการอยู่ จนกระทั่ง[[เฮลิคอปเตอร์]]ที่เสด็จถูกผู้ก่อการร้ายระดมยิงจนสิ้นชีพตักษัยในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ [[พ.ศ. 2520]] จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต และ[[รัฐบาล]]ได้นำพระนามมาเป็นชื่อถนนซึ่งเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 ซึ่งเดิมคนทั่วไปมักเรียกว่า "ถนนซูเปอร์ไฮเวย์"<ref>[http://www.dailynews.co.th/Content/Article/69136/รำลึก+35+ปี+วันสิ้นพระชนม์+พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต รำลึก 35 ปี วันสิ้นพระชนม์ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต] เดลินิวส์</ref><ref>[http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=owl&month=09-2010&date=29&group=1&gblog=14 ก่อนที่จะมาเป็นถนนวิภาวดีรังสิต] BlogGang.com</ref><ref>นวลจันทร์ รัตนากร ชุติมา สัจจานันท์ มารศรี ศิวรักษ์. ว. ณ ประมวญมารค พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์, 2520.</ref>
 
ถนนวิภาวดีรังสิต ช่วงตั้งแต่แยกใต้ด่วนดินแดงถึงคลองบางซื่อ เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่าง[[เขตพญาไท]]กับ[[เขตดินแดง]] และถนนวิภาวดีรังสิตช่วงตั้งแต่[[ถนนแจ้งวัฒนะ]]ถึง[[ท่าอากาศยานดอนเมือง]]เดิมเป็นถนนท้องถิ่นมีชื่อว่า "[[ถนนศรีรับสุข]]"<ref name="gazette">[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2493/D/067/6377.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งชื่อทางหลวงแผ่นดินและสะพานขนาดใหญ่] - ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 67 ตอน 67 ง, 12 ธันวาคม พ.ศ. 2493</ref>
 
== เส้นทาง ==