ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การรับน้อง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 9:
 
== ประวัติ ==
{{แยก|เฮซซิง}}
ประเพณีการรับน้องเป็นประเพณีที่มีมานานแล้วทั่วโลก ทั้งในรูปแบบของ[[แฟกกิง]] [[แรกกิง]] หรือ [[เฮซซิง]] ส่วนการรับน้องในสถาบันการศึกษานั้นเพิ่งจะเริ่มมีขึ้นประมาณ 700 ปีมาแล้วในทวีปยุโรป ต่อมาเมื่อชาวยุโรปไปตั้งถิ่นฐานในทวีปอเมริกาเหนือหรือเข้าไปยึดครองดินแดนต่างๆทั่วโลกเป็นอาณานิคม ก็นำเอาประเพณีการรับน้องเข้าสู่สถาบันการศึกษาติดตัวไปตามดินแดนต่างๆทั่วโลก เมื่อเวลาผ่านไปประเพณีรับน้องที่มาจากยุโรปนี้แม้ว่าจะเลือนหายไปจากทวีปยุโรปจนหมดสิ้นในยุคปัจจุบันแต่ประเพณีนี้กลับเบ่งบานในทวีปอเมริกาหนือและเอเชียจนสร้างปัญหาความรุนแรงให้เกิดขึ้นตามสถาบันการศึกษาจนเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ในประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ แคนาดา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย ศรีลังกา รวมทั้งประเทศไทยด้วย จนกระทั่งสหประชาชาติเองต้องเอาประเด็นในเรื่องประเพณีรับน้องที่มีความรุนแรงมาใส่ในเรื่อง สิทธิมนุษยชนในเรื่องการศึกษาด้วย ผู้เขียนบทความ History of Greek Hazing ซึ่งเป็นชาวอเมริกันเชื่อว่าประเพณีการรับน้องมีรากเหง้ามาจากทวีปยุโรปโดยมาจากระบบ Penalism ในภาคพื้นยุโรป และระบบ[[แฟกกิง]]ในอังกฤษ ระบบ Penalism เกิดขึ้นในสมัยกลางประมาณ 700 ปีก่อน เนื่องจากเชื่อว่าน้องใหม่ที่เข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยยังขาดการศึกษาไม่เป็นอารยชนจึงต้องผ่านการขัดเกลาด้วยความลำบากก่อนที่จะได้รับชีวิตใหม่ที่ดีในมหาวิทยาลัย เพื่อให้รู้จักประพฤติตัวให้เหมาะสมก็ จะถูกมีการบังคับให้ใส่ชุดแปลกๆแปลก ๆ ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกเล่นตลกที่หยาบคายหรือถูกพวกว๊ากเกอร์รีดไถเงินหรืออาหารมื้อเย็น สองร้อยปีต่อมาระบบนี้ก็ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการตามมหาวิทยาลัยต่างๆต่าง ๆ ทั่วยุโรป แต่ว่าเป็นระบบที่อันตราย มีการบันทึกในเรื่องคนเจ็บและคนตายจนผู้ปกครองนักศึกษาหวาดกลัวประเพณีนี้ เมื่อสิ้นสุดสมัยกลางใน 100 ปีถัดมาระบบนี้จึงถูกยกเลิกไป<ref name="Agarwal">http://www.kappasigma.org/ideabank/historyhazing.htm; Agarwal, 2005; Llaneta, 2009</ref>
 
ในอังกฤษใช้ระบบ[[แฟกกิง]]โดยเริ่มเป็นรูปเป็นร่างในประมาณปี พ.ศ. 2310 และได้ถูกนำไปใช้ในมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดและเคมบริดจ์ และโรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิร์ส ระบบนี้จำกัดอำนาจของครูโดยให้นักเรียนปกครองกันเอง โดยนักเรียนอาวุโสที่เรียกว่า Fag-master หรือ Prefect จะเลือกนักเรียนใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่รับใช้ส่วนตัวหรือ Fag โดยรุ่นพี่ (Fag-master) สามารถใช้งานรุ่นน้อง (Fag)ได้ตามใจชอบ สามารถลงโทษรุ่นน้องที่รุนแรงและใช้วาจาหยาบคายได้ โดยให้รุ่นน้องเรียนรู้เรื่องความอัปยศก่อนที่จะประพฤติตนให้เหมาะสม ซึ่งระบบนี้เสี่ยงกับการใช้อำนาจในทางที่ผิดหรือล่วงละเมิดทางเพศได้ ซึ่งมีสถิติผู้บาดเจ็บ เสียชีวิตและฆ่าตัวตายเกิดขึ้นเช่นกัน และระบบนี้ได้ถึงจุดจุดอิ่มตัวประมาณ 200 ปีก่อน และเลือนหายไปประมาณเมื่อ 100 ปีก่อน เนื่องจากค่านิยมในเรื่องคนรับใช้เปลี่ยนไป แม้จะได้รับการต่อต้านจากรุ่นพี่ที่เคยได้รับประโยชน์จากระบบนี้โรงเรียนกินนอนของอังกฤษได้ตัดสินใจยกเลิกระบบนี้ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา โดยเปลี่ยนให้น้องใหม่ทำประโยชน์ต่อสังคมแทนที่จะคอยรับใช้รุ่นพี่ [[แฟกกิง]]ต่างจาก Penalism คือ รุ่นพี่จะแกล้งรุ่นน้องได้ตลอด แต่ Penalism รุ่นพี่แกล้งน้องในช่วงการรับน้องได้เพียงครั้งเดียว ระบบ[[แฟกกิง]]นี้ได้ยังคงมีอยู่ตามโรงเรียนกินนอนของประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกาใต้ ซึ่งย่นระยะเวลาการเป็นน้องใหม่ให้สั้นลงและเพี้ยนไปเป็น Ragging ซึ่งประเทศไทยเองก็มีโรงเรียนมหาดเล็กซึ่งต่อมาวิวัฒนาการเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยและภปร.ราชวิทยาลัยซึ่งถอดแบบมาจากโรงเรียนกินนอนในอังกฤษและได้ยกเลิกระบบนี้เมื่อประมาณ 10 ปีก่อน