ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กะละปังหา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tchaianunporn (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขข้อมูลการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และรูปภาพ
Tchaianunporn (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16:
}}
 
'''กัลปังหา''' หรือ '''กะละปังหา''' (CoralineSea algaefan) (ยืมมาจาก[[ภาษามลายู]]คำว่า "kalam pangha") เป็น[[สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง|สัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง]] แต่ละตัวมีขนาดเล็กมาก รูปร่างคล้าย[[ทรงกระบอก]]หรือรูปถ้วย<ref>ความหมายของคำว่า "กะละปังหา". พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542</ref> จัดอยู่ในพวกเดียวกับ[[ปะการัง]] กะละปังหาประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ตัวกะละปังหา ([[โพลิป]]) ตัวของกะละปังหานี้มีลักษณะคล้าย[[ดอกไม้ทะเล]]ขนาดเล็ก มีเนื้อเยื่ออ่อนนุ่ม และมีหนวดรอบปากจำนวนแปดเส้น ฝังและกระจายตัวอยู่ตามโครงสร้างกะละปังหา และอีกส่วนเป็นส่วนโครงสร้างที่เป็นกิ่งแตกกิ่งก้านคล้าย[[พัด]]และซี่[[หวี]] แล้วแต่ชนิดกิ่งโครงสร้างนี้ตัวกะละปังหาสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับตัวเองและเป็น[[สารเขาจำพวกสัตว์]]<ref name = "btms">[http://www.bims.buu.ac.th/j1/index.php?option=com_fireboard&Itemid=138&func=view&id=160&catid=8 กัลปังหา]. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลับบูรพา</ref>
 
กะละปังหาชอบอาศัยอยู่ตามที่มีกระแสน้ำไหล เนื่องจากกระแสน้ำจะช่วยพัดพาอาหารมาให้และจะช่วยพัดพาของเสียที่ถูกปล่อยออกจากกะละปังหาออกไป โดยกะละปังหาจะใช้หนวดในการดักจับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเพื่อนำมาเป็นอาหารส่วนเข็มพิษที่หนวดจะช่วยในการจับพวก[[แพลงก์ตอน]] กะละปังหามีประโยชน์โดยเป็นแหล่งที่อาศัยของสัตว์ทะเลขนาดเล็กหลายชนิดโดยสัตว์เหล่านี้จะเกาะตามกิ่งก้าน และนอกจากนี้กะละปังหาสามารถใช้เป็น[[สมุนไพร]]ตามความเชื่อของ[[ชาวจีน]]โบราณ<ref>[http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/1202-gorgonians กัลปังหา สัตว์ทะเลชนิดหนึ่ง]. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)</ref>