ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไอแซก นิวตัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 29:
ไอแซก นิวตัน ได้รับยกย่องจากปราชญ์และสมาชิกสมาคมต่างๆ ว่าเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
 
== ประวัติเซอร์ไอแซก นิวตัน ==
 
=== วัยเด็ก ===
ไอแซก นิวตัน เกิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2186 <small>(หรือ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2185 ตามปฏิทินเก่าจูเลียน)</small>{{fn|1}} ที่วูลส์ธอร์พแมนเนอร์ ท้องถิ่นชนบทแห่งหนึ่งใน[[ลินคอล์นเชียร์]] ตอนที่นิวตันเกิดนั้นประเทศอังกฤษยังไม่ยอมรับ[[ปฏิทินเกรกอเรียน]] ดังนั้นวันเกิดของเขาจึงบันทึกเอาไว้ว่าเป็นวันที่ 25 ธันวาคม 2185 บิดาของนิวตัน ซึ่งเป็นชาวนาผู้มั่งคั่งเสียชีวิตก่อนเขาเกิด 3 เดือน เมื่อแรกเกิดนิวตันตัวเล็กมาก เขาเป็นทารกคลอดก่อนกำหนดที่ไม่มีผู้ใดคาดว่าจะรอดชีวิตได้ มารดาของเขาคือ นางฮานนาห์ อายสคัฟ บอกว่าเอานิวตันใส่ในเหยือกควอร์ทยังได้ (ขนาดประมาณ 1.1 ลิตร) เมื่อนิวตันอายุได้ 3 ขวบ มารดาของเขาแต่งงานใหม่กับสาธุคุณบาร์นาบัส สมิธ และได้ทิ้งนิวตันไว้ให้มาร์เกรี อายส์คัฟ ยายของนิวตันเลี้ยง นิวตันไม่ชอบพ่อเลี้ยง และเป็นอริกับมารดาไปด้วยฐานแต่งงานกับเขา ความรู้สึกนี้ปรากฏในงานเขียนสารภาพบาปที่เขาเขียนเมื่ออายุ 19: "ขอให้พ่อกับแม่สมิธรวมทั้งบ้านของพวกเขาถูกไฟผลาญ"<ref>Cohen, I.B. (1970). Dictionary of Scientific Biography, Vol. 11, p.43. New York: Charles Scribner's Sons</ref> นิวตันเคยหมั้นครั้งหนึ่งในช่วงปลายวัยรุ่น แต่เขาไม่เคยแต่งงานเลย เพราะอุทิศเวลาทั้งหมดให้กับการศึกษาและการทำงาน<ref name="nomarry">{{cite web|url=http://www.newton.ac.uk/newtlife.html|title=Isaac Newton's Life|year=1998|publisher=Isaac Newton Institute for Mathematical Sciences|accessdate=2010-03-28}}</ref><ref name="bellevue">{{cite web|url=http://scidiv.bellevuecollege.edu/MATH/Newton.html|title=Isaac Newton|publisher=Bellevue College|accessdate=2010-03-28}}</ref><ref name="newtonbook">{{Cite book|last=Newton|first=Isaac|coauthors=Derek Thomas Whiteside|title=The Mathematical Papers of Isaac Newton: 1664-1666 |publisher=Cambridge University Press|location=Cambridge|year=1967|page=8|isbn=9780521058179|url=http://books.google.com/?id=1ZcYsNBptfYC&pg=PA8&lpg=PA8&dq=isaac+newton+miss+storey&q=miss%20storey|accessdate=2010-03-28}}</ref>
 
นับแต่อายุ 12 จนถึง 17 นิวตันเข้าเรียนที่[[คิงส์สกูล แกรนแธม]] [http://www.flickr.com/photos/kingsschoollibrary/3645251382/in/photostream/ (มีลายเซ็นที่เชื่อว่าเป็นของเขาปรากฏอยู่บนหน้าต่างห้องสมุดโรงเรียนจนถึงทุกวันนี้)] ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2202 เขากลับไปบ้านเกิดเมื่อมารดาที่เป็นหม้ายครั้งที่ 2 พยายามบังคับให้เขาเป็นชาวนา แต่เขาเกลียดการทำนา<ref>Westfall 1994, pp 16-19</ref> ครูใหญ่ที่คิงส์สกูล เฮนรี สโตกส์ พยายามโน้มน้าวให้มารดาของเขายอมส่งเขากลับมาเรียนให้จบ จากแรงผลักดันในการแก้แค้นครั้งนี้ นิวตันจึงเป็นนักเรียนที่มีผลการเรียนสูงที่สุด<ref>White 1997, p. 22</ref>
บรรทัด 41:
 
=== ชีวิตการงาน ===
[[ไฟล์:Newton-Principia-Mathematica 1-500x700.jpg|thumbnail|145px|left|''Philosophiæ Naturalis Principia Mathematica'' งานตีพิมพ์สำคัญชิ้นแรกของไอแซก นิวตัน]]
 
การหล่นของผล[[แอปเปิล]]ทำให้เกิดคำถามอยู่ในใจของนิวตันว่าแรงของโลกที่ทำให้ผลแอปเปิลหล่นน่าจะเป็นแรงเดียวกันกับแรงที่ “ดึง” ดวงจันทร์เอาไว้ไม่ไปที่อื่นและทำให้เกิดโคจรรอบโลกเป็นวงรี ผลการคำนวณเป็นสิ่งยืนยันความคิดนี้แต่ก็ยังไม่แน่ชัดจนกระทั่งการการเขียนจดหมายโต้ตอบระหว่างนิวตันและ[[โรเบิร์ต ฮุก]] ที่ทำให้นิวตันมีความมั่นใจและยืนยันหลักการ[[กลศาสตร์]]เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ได้เต็มที่ ในปีเดียวกันนั้น [[เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์]]ได้มาเยี่ยมนิวตันเพื่อถกเถียงเกี่ยวกับคำถามเรื่องดาวเคราะห์ ฮัลลเลย์ต้องประหลาดใจที่นิวตันกล่าวว่าแรงกระทำระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ที่ทำให้การวงโคจรรูปวงรีได้นั้นเป็นไปตามกฎกำลังสองที่นิวตันได้พิสูจน์ไว้แล้วนั่นเอง ซึ่งนิวตันได้ส่งเอกสารในเรื่องนี้ไปให้ฮัลเลย์ดูในภายหลังและฮัลเลย์ก็ได้ชักชวนขอให้นิวตันเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้น และหลังการเป็นศัตรูคู่ปรปักษ์ระหว่างนิวตันและฮุกมาเป็นเวลานานเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์ในการเป็นผู้ค้นพบ “กฎกำลังสอง” แห่งการดึงดูด หนังสือเรื่อง "หลักการคณิตศาสตร์ว่าด้วยปรัชญาธรรมชาติ” (''Philosophiae naturalist principia mathematica'' หรือ ''The Mathematical Principles of Natural Philosophy'') ก็ได้รับการตีพิมพ์ เนื้อหาในเล่มอธิบายเรื่อง[[ความโน้มถ่วงสากล]] และเป็นการวางรากฐานของ[[กลศาสตร์ดั้งเดิม]] (กลศาสตร์คลาสสิก) ผ่าน[[กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน|กฎการเคลื่อนที่]] ซึ่งนิวตันตั้งขึ้น นอกจากนี้ นิวตันยังมีชื่อเสียงร่วมกับ [[กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ]] ในฐานะที่ต่างเป็นผู้พัฒนา[[แคลคูลัส]]เชิง[[อนุพันธ์]]อีกด้วย