ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วรรณกรรม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Pphongpan355 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 6397187 โดย 49.49.11.8: ขอย้อนกลับเนื่องจากถูกตัดข้อความเป็นจำนวนมาก (รุ่นที่ย้อนกลับอาจมีเนื้อหาที่ล้าสมัย) ด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''วรรณกรรม''' คือ เรื่องที่แต่งขึ้นมาเหมือนนิทาน แต่ว่า ''<u>ไม่ได้ถูกยกย่อง</u>''ให้เป็นวรรณคดีเพราะ ยังไม่มี'''ความสละสลวยของถ่อยคำ''' และอื่นๆอีกมากมาย
 
[[ไฟล์:Old book bindings.jpg|thumb|300px|หนังสือเก่าในห้องสมุด]]
 
'''วรรณกรรม''' ({{lang-en|Literature}}) หมายถึง งานเขียนที่แต่งขึ้นหรืองานศิลปะ ที่เป็นผลงานอันเกิดจากการคิด และจินตนาการ แล้วเรียบเรียง นำมาบอกเล่า บันทึก ขับร้อง หรือสื่อออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งวรรณกรรมเป็น 2 ประเภท คือ '''วรรณกรรมลายลักษณ์''' คือวรรณกรรมที่บันทึกเป็นตัวหนังสือ และ'''วรรณกรรมมุขปาฐะ''' อันได้แก่วรรณกรรมที่เล่าด้วยปาก ไม่ได้จดบันทึก
 
ด้วยเหตุนี้ วรรณกรรมจึงมีความหมายครอบคลุมกว้าง ถึงประวัติ [[นิทาน]] [[ตำนาน]] [[เรื่องเล่า]] [[ขำขัน]] [[เรื่องสั้น]] [[นวนิยาย]] บทเพลง [[คำคม]] เป็นต้น
 
วรรณกรรมเป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารเรื่องราวให้เข้าใจระหว่างมนุษย์ ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดค้น และสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้สื่อความหมาย เรื่องราวต่าง ๆ ภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารได้แก่
# ภาษาพูด โดยการใช้เสียง
# ภาษาเขียน โดยการใช้ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ และภาพ
# ภาษาท่าทาง โดยการใช้กิริยาท่าทาง หรือประกอบวัสดุอย่างอื่น
 
ความงามหรือศิลปะในการใช้ภาษาขึ้นอยู่กับ การใช้ภาษาให้ถูกต้อง ชัดเจน และ เหมาะสมกับเวลา โอกาส และบุคคล นอกจากนี้ ภาษาแต่ละภาษายังสามารถปรุงแต่ง ให้เกิดความเหมาะสม ไพเราะ หรือสวยงามได้ นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติคำราชาศัพท์ คำสุภาพ ขึ้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แสดงให้เห็นวัฒนธรรมที่เป็นเลิศทางการใช้ภาษาที่ควรดำรงและยึดถือต่อไป ผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรม เรียกว่า [[นักเขียน]] นักประพันธ์ หรือ [[กวี]] (Writer or Poet)
 
วรรณกรรมไทย แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
# [[ร้อยแก้ว]] เป็นข้อความเรียงที่แสดงเนื้อหา เรื่องราวต่าง ๆ
# [[ร้อยกรอง]] เป็นข้อความที่มีการใช้คำที่สัมผัส คล้องจอง ทำให้สัมผัสได้ถึงความงามของภาษาไทย ร้อยกรองมีหลายแบบ คือ [[โคลง]] [[ฉันท์]] [[กาพย์]] [[กลอน]] และ[[ร่าย]]
 
== วรรณกรรม ==
มีความหมายตามนัยยะ หมายถึง กรรม ที่เกิดขึ้นต่างคน ต่างวรรณะ หมายความว่า วรรณะหรือชนชั้นต่างกันก็จะใช้คำต่างกัน คำคำนี้ มีปรากฏขึ้นครั้งแรกใน[[พระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2475]] คำว่า ''วรรณกรรม'' อาจเทียบเคียงได้กับคำภาษาอังกฤษว่า Literary work หรือ general literature ความหมายแปลตามรูปศัพท์ว่า ทำให้เป็นหนังสือ ซึ่งดูตามความหมายนี้แล้วจะเห็นว่ากว้างขวางมาก
นั่นก็คือการเขียนหนังสือจะเป็นข้อความสั้น ๆ หรือเรื่องราวสมบูรณ์ก็ได้ เช่น ข้อความที่เขียนตามใบปลิว ป้ายโฆษณาต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงบทความ หรือ [[หนังสือ]]ที่พิมพ์เป็นเล่มทุกชนิด เช่น ตำรับตำราต่าง ๆ [[นวนิยาย]] [[กาพย์]] [[กลอน]]ต่าง ๆ ก็ถือเป็นวรรณกรรมทั้งสิ้น จากลักษณะกว้าง ๆ ของวรรณกรรม สามารถทำให้ทราบถึงคุณค่ามากน้อยของวรรณกรรมได้โดยขึ้นอยู่กับ ''วรรณศิลป์'' คือ ศิลปะในการแต่งหนังสือนั้นเป็นสำคัญ ถ้าวรรณกรรมเรื่องใดมีคุณค่าทางวรรณศิลป์สูง เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นหนังสือดี วรรณกรรมก็อาจได้รับยกย่องว่าเป็น [[วรรณคดี]] อย่างไรก็ตามการที่จะกำหนดว่า วรรณกรรมเรื่องใดควรเป็นวรรณคดีหรือไม่นั้น ต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่แต่งหนังสือนั้นยาวนานพอควรด้วย เพื่อพิสูจน์ว่าคุณค่าของวรรณกรรมนั้นเป็นอมตะ เป็นที่ยอมรับกันทุกยุคทุกสมัยหรือไม่ เพราะอาจมีวรรณกรรมบางเรื่องที่ดีเหมาะสมกับระยะเวลาเพียงบางช่วงเท่านั้น ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า วรรณคดีนั้นก็คือวรรณกรรมชนิดหนึ่งนั่นเอง กล่าวคือ เป็นวรรณกรรมที่กลั่นกรองและตกแต่งให้ประณีต มีความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ อันเป็นคุณค่าของการประพันธ์ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง วรรณคดีนั้นเป็นวรรณกรรม วรรณกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นวรรณคดีเสมอไป
 
== ประเภทของวรรณกรรม ==