ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
P.Liam (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''ค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทย''' เป็นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ร...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:16, 6 กรกฎาคม 2563

ค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทย เป็นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่รัฐกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง กำหนดในอัตราต่อวัน กำหนดขึ้นครั้งแรกตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 ปัจจุบันค่าจ้างขั้นต่ำเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง กระทรวงแรงงาน เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่่า (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ความเป็นมา

ประเทศไทยได้กำหนดให้มีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นครั้งแรกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ ได้กำหนดให้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ[1] โดยมีคณะกรรมการค่าจ้างเพื่อพิจารณาและกำหนด โดยคณะกรรมการประกอบด้วยประธานและกรรมการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้ง และได้กำหนดให้ค่าจ้างขั้นต่ำต้องสามารถใช้ยังชีพแต่ลูกจ้างและคนในครอบครัว 2 คนได้อย่างปกติ[2] ต่อมาได้ปรับนิยามของค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นใหม่ โดยพิจารณาลดเป็นเงินที่ลูกจ้างคนเดียวสามารถควรจะได้รับและดำรงชีพได้[3] และคงใช้นิยามนี้จนถึงปัจจุบัน[4]

ในช่วงปี พ.ศ. 2516 - 2536 กระทรวงมหาดไทย โดยกองแรงงานเป็นผู้ดำเนินการหลักในการพิจารณาและประกาศบังคับใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ กระทั่งมีการจัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมขึ้นมาในปี พ.ศ. 2536 (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงแรงงาน) กองแรงงาน กระทรวงมหาดไทยจึงโอนย้ายไปยังกระทรวงดังกล่าว ทำให้คณะกรรมการค่าจ้างจึงสังกัดกับกระทรวงนี้จนถึงปัจจุบัน โดยในช่วงปี พ.ศ. 2536 - 2551 กำหนดในรูปของประกาศกระทรวง และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นไปกำหนดเป็นประกาศของคณะกรรมการค่าจ้าง โดยมีการออกประกาศกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำไปแล้ว 48 ฉบับ[5]

ค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบัน

ตารางค่าจ้างขั้นต่ำ ตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง (ฉบับที่ 10)
บังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป[6]
ค่าจ้างขั้นต่ำ (บาท/วัน) จังหวัด
336 ชลบุรี และภูเก็ต
335 ระยอง
331 กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
330 ฉะเชิงเทรา
325 กระบี่ ขอนแก่น เชียงใหม่ ตราด นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา พังงา ลพบุรี สงขลา สระบุรี สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี หนองคาย และอุบลราชธานี
324 ปราจีนบุรี
323 กาฬสินธุ์ จันทบุรี นครนายก มุกดาหาร สกลนคร และสมุทรสงคราม
320 กาญจนบุรี ชัยนาท นครพนม นครสวรรค์ น่าน บึงกาฬ บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พัทลุง พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ พะเยา ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย สระแก้ว สุรินทร์ อ่างทอง อุดรธานี และอุตรดิตถ์
315 กำแพงเพชร ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย ตรัง ตาก นครศรีธรรมราช พิจิตร แพร่ มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ระนอง ราชบุรี ลำปาง ลำพูน ศรีสะเกษ สตูล สิงห์บุรี สุโขทัย หนองบัวลำภู อุทัยธานี และอำนาจเจริญ
313 นราธิวาส ปัตตานี และยะลา

อ้างอิง

  1. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. Vol. 89 no. 41. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 16 มีนาคม 2515. p. 1. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563. {{cite magazine}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. Vol. 89 no. 41. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 16 มีนาคม 2515. p. 1. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563. {{cite magazine}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. Vol. 89 no. 41. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 1 มกราคม 2519. p. 6. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563. {{cite magazine}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "นานาทัศนะกับการกำหนดค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ" (PDF). ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเพื่อเงินทุนหมุนเวียน. วารสารส่งเสริมการลงทุน. Vol. 22 no. 9. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. กันยายน 2554. p. 11. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563. {{cite magazine}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ". กระทรวงแรงงาน. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  6. "ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง (ฉบับที่ 10) เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. Vol. 136 no. 316 ง พิเศษ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา สำนักนายกรัฐมนตรี. 27 ธันวาคม 2562. p. 65. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563. {{cite magazine}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)