ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำเนียง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 17:
==ปัจจัยทางสังคม==
เมื่อกลุ่มหนึ่ง ๆ ได้กำหนดการออกเสียงมาตรฐานในภาษา ผู้พูดที่ออกเสียงต่างออกไปมักถูกเรียกว่า "พูดติดสำเนียง"<ref name="Mahdi" /> อย่างไรก็ตาม ทุกคนย่อมพูดติดสำเนียงใดสำเนียงหนึ่ง<ref name=Lippi-Green/><ref name=Matsuda>Matsuda, M. J. (1991). "Voices of America: Accent, antidiscrimination law, and a jurisprudence for the last reconstruction." ''Yale Law Journal'', 100, 1329–1407.</ref> [[ชาวอเมริกัน]]พูด "ติดสำเนียง" ในสายตาของ[[ชาวออสเตรเลีย]] และชาวออสเตรเลียก็ "พูดติดสำเนียง" ในสายตาของชาวอเมริกัน สำเนียงอย่าง[[Received Pronunciation|สำเนียงบีบีซีอังกฤษ]]หรือ[[General American|สำเนียงมาตรฐานอเมริกัน]]บางครั้งอาจถูกระบุอย่างผิดพลาดในประเทศต้นกำเนิดว่า "ไม่มีสำเนียง" เพื่อบ่งชี้ว่าสำเนียงเหล่านี้ไม่ได้ให้เงื่อนงำที่ชัดเจนเกี่ยวกับภูมิหลังทางภูมิภาคหรือสังคมของผู้พูด<ref name=Lippi-Green/>
 
===การเหยียดสำเนียงในภาษาไทยกลาง===
{{ต้นฉบับ}}
ในภาษาหนึ่งๆที่มีพูดจำนวนมากมักมีสำเนียงถิ่นหลายแบบและเป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไปใน[[ภาษาไทย|ภาษาไทยกลาง]]และสำเนียงที่คุ้นหูคนไทยมากที่สุดมีสามสำเนียงถิ่นได้แก่สำเนียงมาตรฐาน, สำเนียงสุพรรณบุรีและสำเนียงกรุงเทพ โดยต้นกำเนิดของสำเนียงมาตรฐานซึ่งได้รับรองจาก[[ราชบัณฑิตยสถาน]]เกิดจาก[[ชาวมอญ|ชาวรามันอพยพ]]ที่อาศัยอยู่ในเขตปริมณฑลผสมผสานกับชาว[[ไทยสยาม]]ที่แตกระส่ำระสายหลัง[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง|เสียกรุงศรีอยุธยา]]เป็นเวลาหลายร้อยปี ในขณะที่สำเนียงสุพรรณบุรีคือสำเนียงของชาวไทยสยามที่รอดจากการถูกกวาดต้อนของ[[ราชวงศ์โก้นบอง|รัฐบาลโก้นบอง]]หลังเสียกรุงศรี ซึ่งทั้งสองสำเนียงถิ่นมีความต่างเพียงแค่วรรณยุกต์เป็นหลัก
 
ในขณะที่สำเนียงกรุงเทพคือผลพวงจาก[[การแผลงเป็นไทย|การบังคับกลืนวัฒนธรรม]]และ[[:en:Language shift|การเปลี่ยนภาษา]]ที่รัฐบาลสยามทำกับคน[[ไทยเชื้อสายจีน]]ในกรุงเทพ (ส่วนใหญ่เป็นชาวแต้จิ๋วและแคะ) ช่วงสงครามโลกและช่วงสงครามเย็น จึงเห็นได้ว่าสำเนียงของคนกรุงเทพมี[[หน่วยเสียงย่อย]]แตกต่างจากสำเนียงกลางถิ่นอื่นอย่างโดดเด่นเพราะนำหน่วยเสียงส่วนใหญ่จาก[[ภาษาแต้จิ๋ว]]มาอ่านเป็นคำไทยเช่นในสระเดี่ยว สระอะ จากเสียง[[:en:Open front unrounded vowel|สระเปิดไม่ม้วนปากหน้า [a]]] เป็น[[:en:Open central unrounded vowel|สระเปิดไม่ม้วนปากกลาง [ä]]] สระแอ จากเสียง[[:en:Near-open front unrounded vowel|สระกึ่งเปิดไม่ม้วนปากหน้า [ɛ]]] จะถูกเปลี่ยนเป็น[[:en:Near-open front unrounded vowel|เสียงเปิดเกือบสุด [æ]]] สระอือ จากเสียง[[:en:Close back unrounded vowel|สระปิดไม่ม้วนปากหลัง [ɯ]]] เปลี่ยนเป็น[[:en:Close central unrounded vowel|สระปิดไม่ม้วนปากกลาง [ɨ]]] สระเออจาก[[:en:Close-mid back unrounded vowel|สระกึ่งปิดไม่ม้วนปากหลัง [ɤ]]] ถูกเปลี่ยนเป็น [[:en:Close-mid central unrounded vowel|สระกึ่งปิดไม่ม้วนปากกลาง [ɘ]]] ไม่ก็เสียง[[:en:Mid central vowel|ชวาส [ə]]] ในสระประกอบทั้ง สระเอียะ, เอือะ, อัวะ สามสระเปลี่ยนจาก อี+อะ [ia], อือ+อะ [ɯa], อู+อะ [ua] เปลี่ยนเป็น อี+เออ [iə], อี+เออ [ɨə], อู+เออ [uə] ส่วนพยัญชนะอีกหลายตัวโดยเฉพาะ "จ","ฉ","ช","ฌ" ในสำเนียงมาตรฐานคือ[[เสียงกักเสียดแทรก เพดานแข็งปุ่มเหงือก ไม่ก้อง|เสียงเพดานแข็ง [ʨ] และทั้งพ่นลม [ʨʰ]]] แต่สำเนียงถิ่นกรุงเทพ "จ" และ "ฉ" จะออกเสียงเป็น[[เสียงกักเสียดแทรก อุสุม ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง|เสียงอุสุม [ʦ] และพ่นลม [ʦʰ]]] เสียงตัว "ช" และ "ฌ" คือเสียงที่คนไทยเชื้อสายจีนพยายามเลียนแบบเจ้าของสำเนียงเดิมแต่เป็นได้เพียง[[เสียงเสียดแทรก หลังปุ่มเหงือก ไม่ก้อง|ปุ่มเหงือกบนทั้งไม่กัก [ʃ]]] และ[[เสียงกักเสียดแทรก หลังปุ่มเหงือก ไม่ก้อง|กักพ่นลม [ʧʰ]]] ซึ่งเป็นหน่วยเสียงของ[[ภาษาแคะ]]ทั้งบังเอิญตรงกับตัวอักษร ​"sh" และ "ch" ใน[[ภาษาอังกฤษ]] เสียง "ร" มักเปลี่ยนจาก[[เสียงรัว ปุ่มเหงือก|เสียงรัวลิ้น [r]]] เป็น[[เสียงเปิด ปุ่มเหงือกและหลังปุ่มเหงือก|เสียงกึ่งม้วนลิ้น [ɹ̠]]] ซึ่งบังเอิญตรงกับอักษร "r" ในภาษาอังกฤษ และตัว "ย" คนไทยเชื้อสายแคะในกรุงเทพเปลี่ยนจาก[[เสียงเปิด เพดานแข็ง|เสียงเปิดเพดานแข็ง [j]]] ได้เป็นทั้ง[[เสียงเสียดแทรก หลังปุ่มเหงือก ก้อง|เสียงสั่นปุ่มเหงือกบน [ɹ̠˔] และเสียดแทรกปุ่มเหงือกบน [ʒ]]] ส่วนแต้จิ๋วเป็นเสียงสั่น [ɹ̠˔] อย่างเดียวเป็นต้น
 
แม้สำเนียงกรุงเทพจะได้ชื่อว่าสำเนียงของชาวจีนอพยพ และสำเนียงของคนรอบนอกกรุงเทพจะยังคงสถานะสำเนียงมาตรฐาน แต่ด้วยความที่เศรษฐกิจในประเทศไทยส่วนใหญ่ถูกควบคุมโดยคนไทยเชื้อสายจีน สื่อในประเทศไทยจึงถูกนำเสนอเป็นสำเนียงกรุงเทพแทบทั้งสิ้น ปัจจุบันเหลือแค่[[ข่าวในพระราชสำนัก]]และรายการ[[กระจกหกด้าน]]ที่มีนโยบายในการพูดสำเนียงมาตรฐาน และด้วยความที่สำเนียงถิ่นของคนไทยเชื้อสายจีน มีเสียงสระหลายตัวย้ายไปที่กลางคอและเสียงพยัญชนะไม่มีเสียงเพดานแข็ง ทำให้เนื้อเสียงฟังดูสุขุมและเย็นชากว่าสำเนียงคนไทยแต่เดิมที่ฟังดูเจื่อยแจ๊ว สำเนียงไทยแต่เดิมถูกเรียกว่าสำเนียง"เหน่อ" หรือดูเป็นบ้านนอกไป และในมุมกลับคือชุมชนคนไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ตามหัวเมืองใหญ่นอกภาคกลางเช่น[[อำเภอเบตง]], [[อำเภอหาดใหญ่]], [[อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี]], [[อำเภอนางรอง]] และบางส่วนของ[[อำเภอเมืองขอนแก่น]] ฯลฯ เมื่อเข้ามาทำงานหรืออาศัยอยู่ในกรุงเทพจึงมักมีสถานะทางสังคมแบบเดียวกับคนกรุงเทพเพราะพูดสำเนียงใกล้เคียงกับคนกรุงเทพมากกว่าคนไทยภาคกลาง
 
==อ้างอิง==