ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ครูบาอภิชัยขาวปี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
| จังหวัด = [[ลำพูน]]
}}
'''ครูบาอภิชัย''' นามเดิม '''จำปี''' เป็นพระ[[ภิกษุ]]สัทธิวิหาริกของ[[ครูบาศรีวิชัย]] ภายหลังถูกบังคับให้ลาสิกขาบท จึงเปลี่ยนมาครองจีวรสีขาว ประชาชนจึงเรียกว่า '''ครูบาขาวปี'''<ref>''ครูบาเจ้าศรีวิชัย เล่ม ๑'', หน้า 405</ref>
 
== ประวัติ ==
=== ชาติกำเนิด ===
'''ครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี''' เดิมชื่อ "จำปี" เกิดเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2443 เป็นบุตรของพ่อเม่า และแม่จันตา ท่านกำพร้าบิดาตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ต่อมาเมื่ออายุได้ 16 ปี มารดาได้นำไปฝากให้เป็นศิษย์ของ[[ครูบาศรีวิชัย]]<ref>[https://www.tnews.co.th/contents/369595 เปิดประวัติ "ครูบาอภิชัยขาวปี" ศิษย์เอก "ครูบาศรีวิชัย" !!! ครูบาต้องมลทิน ที่ "จอมพลสฤษดิ์" นับถือเป็นที่สุด]</ref> ณ วัดบ้านปาง ท่านจึงได้เริ่มเรียนหนังสือ โดยท่านเป็นผู้มีนิสัยขยัน เล่าเรียนอย่างจริงจัง อ่อนโยน ว่านอนสอนง่าย นอบน้อม ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยจึงมักใช้เวลาที่ท่านรับใช้ใกล้ชิดอบรมกล่อมเกลา ถ่ายทอดความรู้ให้ด้วยความเมตตา จนท่านครูบาอภิชัยมีความรู้เป็นลำดับ สามารถอ่านออกเขียนได้ และมีทักษะในการสวดมนต์ได้ดี
 
นอกจากนี้ในงานก่อสร้าง ท่านก็มิได้นิ่งดูดาย ได้หมั่นสังเกตพิจารณาในการช่างและเข้าไปช่วยทำงานนั้นๆ อย่างตั้งอกตั้งใจ จนมีความรู้ ความชำนาญในการช่าง
 
เมื่อถึงเวลาอันสมควร ท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุได้ 22 ปี ได้รับฉายาว่า "อภิชโย”ชโย"
 
=== ต้องอธิกรณ์ ===
เมื่อถึงพรรษาที่ 13 ท่านถูกกลั่นแกล้ง และถูกจับดำเนินคดีในข้อหาหลบเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร จนต้องถูกบังคับให้สึกและครองผ้าขาวเป็นครั้งแรก ในขณะที่ท่านติดคุกท่านได้ริเริ่มสร้างโรงพยาบาลลำพูนจนแล้วเสร็จ เมื่อออกจากคุกแล้ว ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้ทำการอุปสมบทให้แก่ท่านเป็นครั้งที่สอง เมื่อบวชแล้วท่านได้กราบลาพระอุปัชฌาย์ไปบูรณะวัดวาอารามต่างๆต่าง ๆ ต่อมาท่านได้ถูกกลั่นแกล้งกล่าวหาว่าเรี่ยไรเงินสร้างโบสถ์ จนถูกจับสึกนุ่งผ้าขาวอีกเป็นครั้งที่สอง
 
=== ช่วยครูบาเจ้าศรีวิชัยสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ ===
เมื่อครูบาเจ้าศรีวิชัยได้สร้างถนนขึ้น[[วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร]] ท่านได้พาชาวกะเหรี่ยง 500 คน ไปช่วยทำถนนจนแล้วเสร็จ และได้กลับมาพำนักกับครูบาเจ้าศรีวิชัย ณ วัดพระสิงห์ ต่อมาได้มีผู้ขอร้องให้[[ครูบาเจ้าศรีวิชัย]]ทำการอุปสมบทให้แก่ท่านเพื่อเป็นภิกษุอีกครั้งหนึ่ง [[ครูบาเจ้าศรีวิชัย]]จึงยินยอมอุปสมบทให้ ณ วัดศรีโสดา ซึ่งในการอุปสมบทครั้งนี้เป็นเหตุให้ครูบาเจ้าศรีวิชัยต้องอธิกรณ์อีกครั้ง ครูบาเจ้าอภิชัยจึงต้องสึกนุ่งผ้าขาวอีกครั้ง และได้กลับไปที่[[วัดพระพุทธบาทตะเมาะ]] ถึงแม้ครูบาเจ้าอภิชัยจะนุ่งผ้าขาว แต่ท่านก็มีวัตรปฏิบัติและถือศีลเหมือนพระภิกษุทุกประการ วัตรปฏิบัติอันเคร่งครัดของท่านทำให้มีศรัทธาสาธุชนเลื่อมใส เมื่อครูบาเจ้าศรีวิชัยมรณภาพแล้ว ท่านจึงเปรียบเสมือนทายาทธรรมที่มีผู้มาขอความเมตตาไปเป็นประธานในการบูรณะวัดวาอารามต่างๆ
 
ต่อมาครูบาเจ้าอภิชัยได้ไปบูรณะ[[วัดพระพุทธบาทผาหนาม]] อำเภอลี้ [[จังหวัดลำพูน]] และได้จำพรรษาอยู่ที่นั่นมาโดยตลอด ขณะเดียวกันท่านก็ได้เป็นประธานในการบูรณะวัดวาอารามสร้างโรงเรียน และโรงพยาบาล อีกหลายแห่ง อาทิเช่น โรงเรียนบ้านสามหลัง(อภิชัยบูรณะ) อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่
เส้น 44 ⟶ 45:
 
== อ้างอิง ==
; เชิงอรรถ
{{รายการอ้างอิง|2}}
 
; บรรณานุกรม
{{เริ่มอ้างอิง}}
* {{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง = สมาคมชาวลำพูน|ชื่อหนังสือ = ครูบาเจ้าศรีวิชัย เล่ม ๑ : สิริชีวประวัติ วัตรปฏิบัติ หลักธรรมคำสอน และมงคลบารมี|จังหวัด = กรุงเทพฯ|พิมพ์ที่ = พี.พี.เค.การพิมพ์|ปี = 2561|ISBN = 978-616-93082-0-1|จำนวนหน้า = 470}}
* {{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง = สุธานี จันทร์รัตนสิริ|ชื่อหนังสือ = ชีวประวัติครูบาเจ้าอภิชัย (ขาวปี)|จังหวัด = พิมพ์ครั้งที่ 5, ลำพูน|พิมพ์ที่ = ณัฐพลการพิมพ์|ปี = 2552|จำนวนหน้า = 35}}
{{จบอ้างอิง}}
 
{{อายุขัย|2443|2520}}
[[หมวดหมู่:ครูบา]]
[[หมวดหมู่:ภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดลำพูน]]