ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 9:
แต่เดิมพิธีนี้มิได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี หากแต่จัดเป็นครั้งคราวตามที่[[กระทรวงกลาโหม]]หรือ[[กองทัพบก]]จะกำหนด ปรากฏมีบันทึกว่า พิธีนี้เริ่มขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่ 9 ในปี พ.ศ. 2496 สมัยที่[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพลแปลก พิบูลสงคราม]]เป็น[[รายชื่อนายกรัฐมนตรีของไทย|นายกรัฐมนตรี]] โดยจัดให้มีขึ้น เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา[[กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์|กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์]] (ร.1 รอ.) ซึ่งตรงกับวันที่ 11 พฤศจิกายน และเพื่อตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณที่[[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทาน[[ธงไชยเฉลิมพล]] เพื่อใช้แทนธงไชยเฉลิมพลของเดิม โดยมี[[กฤษณ์ สีวะรา|พลเอก กฤษณ์ สีวะรา]] ผู้บังคับการ ร.1 รอ.ในขณะนั้น เป็นผู้บังคับการขบวนสวนสนาม และทหารสังกัด ร.1 รอ. เป็นพลสวนสนาม
 
หลังจากพิธีในครั้งนั้นก็ได้ว่างเว้นมาอีกเป็นเวลาหลายปี จนถึงสมัยที่[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์]]เป็นนายกรัฐมนตรี ได้กำหนดให้มีการถวายพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่[[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระบาทสมเด็จพระภัทรมหาราชเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และ [[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] เสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนคร หลังจากทรงเสร็จสิ้นพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศใน[[ทวีปยุโรป]]และ[[สหรัฐอเมริกา]] โดยได้จัดพิธีสวนสนามของบรรดา[[ทหารบก]] [[ทหารเรือ]] และ [[ทหารอากาศ]] เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2504 ซึ่ง[[รัฐบาล]]ในขณะนั้นประกาศให้เป็น "วันพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม" แต่ทหารทั้งสามเหล่าแต่งกายด้วยเครื่องแบบของแต่ละเหล่าทัพ มิได้แต่งเครื่องแบบเต็มยศ
 
ต่อมาในวันที่ 5 ธันวาคม ปีเดียวกัน จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีบัญชาให้ [[กองพลที่ 1 รักษาพระองค์]] (พล.1 รอ.) จัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ เนื่องในโอกาส [[พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาในรัชกาลที่ 9|วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรภัทรมหาราชเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยใช้หน่วยทหารรักษาพระองค์ใน[[กรุงเทพมหานคร]]เข้าร่วมพิธี จำนวนทั้งหมด 8 กองพัน จัดเป็น 2 กรมสวนสนาม มีรายละเอียดดังนี้
* '''กรมสวนสนามที่ 1''' จำนวน 4 กองพัน
** กรมนักเรียนนายร้อย [[โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า]] (กรม นนร. รอ. รร.จปร.) จำนวน 1 กองพัน
บรรทัด 21:
**[[กองพันทหารช่างที่ 1 กองพลที่ 1 รักษาพระองค์|กองพันทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์]] (ช.พัน 1 รอ.) จำนวน 1 กองพัน
 
นับจากนั้นเป็นต้นมา พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามฯ ที่จัดขึ้นในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ นี้ ก็ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ [[พระลานพระราชวังดุสิต]] หลังจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม กำหนดให้วันที่ [[3 ธันวาคม]] ของทุกปี เป็นวันพิธีฯ เนื่องจากต้องการให้ได้ทรงพักผ่อนพระวรกายในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งในช่วงระหว่างนั้น ([[4 ธันวาคม|4]] และ [[6 ธันวาคม]]) มีพระราชกรณียกิจหลายประการอันเกี่ยวเนื่องกับพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรภัทรมหาราชเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2525 หน่วยทหารรักษาพระองค์ในส่วนภูมิภาคและเหล่าทัพอื่นๆ คือ [[กองทัพเรือ]] และ [[กองทัพอากาศ]] ได้เข้ามาร่วมพิธีด้วย จึงกำหนดการจัดหน่วยเข้าร่วมพิธีเพิ่มขึ้น จาก 8 กองพัน เป็น 12 กองพัน แบ่งออกเป็น 4 กรมสวนสนาม กรมละ 3 กองพัน แต่ละกองพันสวนสนามประกอบด้วยพลสวนสนาม 144 นาย (จัดแถวแบบ 12x12) หมู่แตรเดี่ยว 8 นาย หมู่เชิญธงชัยเฉลิมพล 4 นาย และผู้บังคับกองพัน 1 นาย โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา [[กองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์]] ได้จัดให้กำลังพลขี่ม้าเข้าร่วมพิธีด้วย จำนวนกองพันที่เข้าร่วมพิธีจึงเพิ่มเป็น 12+1 กองพัน โดยกองพันทหารม้าดังกล่าวจะเป็นกองพันสุดท้ายในขบวนสวนสนาม
บรรทัด 58:
# [[ทหารปืนใหญ่]]ยิงพลุสัญญาณ ทหารทั้ง 12 กองพันเริ่มเดินสวนสนามมาตามแนว[[ถนนราชดำเนิน]]มาจนถึง[[ลานพระราชวังดุสิต]] แล้วจัดแถวรอรับการเสด็จพระราชดำเนิน
# [[พระบรมวงศานุวงศ์]]เสด็จพระราชดำเนินมาถึงพลับพลาที่ประทับ<!--หากอยากใส่ข้อมูลเรื่องรถยนต์พระที่นั่งก็ให้ไปใส่ที่บทความเรื่องรถยนต์พระที่นั่งโดยเฉพาะ ไม่ใช่ที่บทความนี้ เพราะที่นี่กล่าวถึงเรื่องพิธีการเป็นสาระสำคัญ-->
# เมื่อใกล้ถึงเวลาเสด็จพระราชดำเนินของ[[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรภัทรมหาราชเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ผู้บังคับกองผสมสั่งทหารติดดาบ นายทหารชั้นผู้ใหญ่ออกจากพลับพลาที่ประทับไปยังหัวแถวกองผสมเพื่อรอรับเสด็จ
#[[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระบาทสมเด็จพระภัทรมหาราชเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พร้อมด้วย[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]] และ [[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร]] เสด็จพระราชดำเนินออกทางประตูทวยเทพสโมสรด้วยรถยนต์พระที่นั่ง ผู้บังคับกองผสมสั่งวันทยาวุธถวายความเคารพ ดุริยางค์บรรเลง[[เพลงสรรเสริญพระบารมี]] แตรเดี่ยวเป่าสัญญาณถวายคำนับ 3 จบ ผู้บังคับกองผสมออกวิ่งไปยังหัวแถวทหารเพื่อไปถวายรายงาน
# เมื่อสิ้นสุดการบรรเลง[[เพลงสรรเสริญพระบารมี]] ผู้บังคับกองผสมกราบบังคมทูลถวายรายงานและกราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินทรงตรวจพลสวนสนาม