จัดรูปแบบ +เก็บกวาดด้วยสจห.
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
(จัดรูปแบบ +เก็บกวาดด้วยสจห.) |
||
ในครั้งนั้นพระนครฝั่งตะวันออก มีภูมิประเทศเป็นแหลมโค้ง มีลำน้ำโอบอยู่สามด้าน ส่วนด้านในซึ่งติดกับผืนแผ่นดิน ได้ขุดเป็นคูเมืองไว้ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี จึงมีสัณฐานคล้ายเกาะ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อซากป้อมบางกอกเดิมกับกำแพงเมืองครั้งกรุงธนบุรี เพื่อขยายกำแพงและคูพระนครใหม่ให้กว้างออกไป คูพระนครใหม่นี้โปรดเกล้าฯ ให้ขุดขนานไปกับแนวคูเมืองเดิม เริ่มจากริมแม่น้ำตอน[[บางลำพู]] วกไปออกแม่น้ำข้างใต้ บริเวณเหนือ[[วัดจักรวรรดิราชาวาส|วัดสามปลื้ม]] ยาว 85 เส้น 13 วา กว้าง 10 วา ลึก 5 ศอก พระราชทานนามว่า "คลองรอบกรุง"
ประชาชนโดยมากมักเรียกชื่อคลองแตกต่างตามสถานที่ที่คลองผ่าน เช่น ตอนต้นเรียก "คลองบางลำพู" ตามชื่อตำบล เมื่อผ่าน[[สะพานหัน]]เรียก "คลองสะพานหัน" เมื่อผ่าน[[วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร|วัดเชิงเลน]] เรียก "คลองวัดเชิงเลน" และช่วงสุดท้ายเรียก "คลองโอ่งอ่าง" เพราะเคยเป็นแหล่งค้าขายเครื่องดินเผาของชาวมอญและชาวจีน เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์
== ดูเพิ่ม ==
* [[คลองคูเมืองเดิม]] คลองรอบกรุงชั้นแรก ขุดขึ้นในรัชสมัย[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]]
* [[คลองผดุงกรุงเกษม]] คลองรอบกรุงชั้นที่สาม ขุดขึ้นในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{geolinks-bldg|13.745858|100.503702}}
{{commons|Category:Khlong Rop Krung|คลองรอบกรุง}}
|