ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประสิทธิศักย์ของวัคซีน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tikmok (คุย | ส่วนร่วม)
แปลจากวิกีอังกฤษ
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:25, 30 มิถุนายน 2563

ประสิทธิศักย์ของวัคซีน (อังกฤษ: vaccine efficacy) เป็นอัตราลดการติดโรคภายในกลุ่มคนที่ได้วัคซีนเทียบกับคนที่ไม่ได้ โดยจัดให้มีสถานการณ์ดีสุดเพื่ออำนวยให้เกิดผล เป็นค่าวัดประสิทธิภาพของวัคซีนที่เริ่มใช้ในปี 1915 สำหรับวัคซีนอหิวาตกโรคและไข้รากสาดน้อย ค่าวัดที่ดีสุดมาจากการทดลองทางคลินิกอย่างสุ่มและมีกลุ่มควบคุม โดยอำพรางทั้งผู้ได้วัคซีนและแพทย์พยาบาลว่าใครได้วัคซีนจริง ๆ และทำในสถานการณ์ที่จัดให้ดีสุด[1] ดังนั้น ประสิทธิภาพของวัคซีน (vaccine effectiveness) จึงต่างกับประสิทธิศักย์ของวัคซีน เพราะค่าประสิทธิภาพแสดงว่าวัคซีนมีผลดีแค่ไหนในสถานการณ์ทุกอย่างและในกลุ่มประชากรที่ใหญ่กว่า เทียบกับค่าประสิทธิศักย์ที่แสดงว่าวัคซีนได้ผลดีแค่ไหนในสถานการณ์โดยเฉพาะ ๆ และมักเป็นสถานการณ์ที่ควบคุม ประสิทธิศักย์ของวัคซีนใช้ประเมินผลที่อาจเกิดขึ้นหลายอย่างรวมทั้งอัตราการเกิดโรค (disease attack rate ตัวย่อ AR), การเข้า รพ., การไปหาแพทย์ และค่าใช้จ่าย/ภาระทางเศรษฐกิจ

วัคซีนไข้หวัดใหญ่

สูตร

ประสิทธิศักย์ของวัคซีนทั่วไปจะแสดงเป็นค่าลดอัตราการเกิดโรค (AR) ระหว่างผู้ที่ไม่ได้วัคซีนเทียบกับผู้ที่ได้วัคซีน หรือสามารถคำนวณจากค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ของกลุ่มที่ได้วัคซีน

สูตรพื้นฐานคือ[2]

  โดยที่
  •   = ประสิทธิศักย์ของวัคซีน
  •   = อัตราการเกิดโรค (AR) ของผู้ไม่ได้วัคซีน
  •   = อัตราการเกิดโรค (AR) ของผู้ได้วัคซีน

หรือสามารถเขียนเป็นสูตรที่สมมูล/เสมอกันคือ

  โดยที่

การตรวจค่า

กรณีศึกษา

มีงานศึกษาประสิทธิศักย์ของวัคซีนไข้หวัดใหญ่แบบ A ที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ มีอาสาสมัคร 1,952 คนที่ได้รับวัคซีนในฤดูใบไม้ตกปี 2007 หลังจากนั้น ไข้หวัดใหญ่ก็ได้ระบาดในระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2008 โดยมีชนิดต่าง ๆ คือ

  • A (H3N2) (ประมาณร้อยละ 90)
  • B (ประมาณร้อยละ 9)

ค่าประสิทธิศักย์สัมบูรณ์ต่อต้านไข้หวัดใหญ่ทั้งสองประเภท วัดโดยแยกไวรัสที่ได้จากการเพาะ หรือโดยระบุด้วยการวิเคราะห์ทางปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสเวลาจริง (real-time PCR) หรือโดยวิธีทั้งสอง อยู่ที่ร้อยละ 68 (ช่วงความเชื่อมั่น [CI] ที่ 95%, 46-81) สำหรับวัคซีนที่ฆ่าเชื้อแล้ว (inactivated) หรือร้อยละ 36 (95% CI, 0-59) สำหรับวัคซีนที่เชื้อยังเป็นแต่ลดฤทธิ์แล้ว (live attenuated) ถ้าระบุเป็นค่าประสิทธิศักย์สัมพัทธ์ อาสาสมัครเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ที่ยืนยันโดยแล็บน้อยลงร้อยละ 50 (95% CI, 20-69) เมื่อได้รับวัคซีนที่ฆ่าเชื้อแล้วเทียบกับวัคซีนที่เชื้อยังเป็นแต่ลดฤทธิ์แล้ว อาสาสมัครเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี ส่วนค่าประสิทธิศักย์สัมบูรณ์ต่อต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A อยู่ที่ร้อยละ 72 สำหรับวัคซีนที่ฆ่าเชื้อแล้วและร้อยละ 29 สำหรับวัคซีนที่เชื้อยังเป็นแต่ลดฤทธิ์แล้ว โดยมีค่าประสิทธิศักย์สัมพัทธ์ที่ร้อยละ 60 ดังนั้น วัคซีนไข้หวัดใหญ่จึงไม่มีประสิทธิศักย์เต็มร้อยในการป้องกันโรค แต่ก็ปลอดภัยเกือบเต็มร้อย และการได้วัคซีนก็ปลอดภัยกว่าการไม่ได้[3]

มีงานศึกษาที่ให้วัคซีนแก่อาสาสมัคร 2,058 คนระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2005 การระบาดของไข้หวัดใหญ่ต่อมามีระยะยาวแต่รุนแรงน้อย ไวรัสประเภท A (H3N2) ที่กำลังเวียนไปในกลุ่มประชากรทั่วไปช่วงนั้นก็คล้ายกับที่พบในวัคซีนมาก ประสิทธิศักย์ของวัคซีนที่ฆ่าเชื้อแล้วสำหรับไวรัสที่แยกได้จากการเพาะหรือการระบุผ่าน PCR อยู่ที่ร้อยละ 16 (95% CI, -171%-70%) และที่ร้อยละ 54 (95% CI, 4%-77%) สำหรับไวรัสที่แยกได้จากเลือดหรือระดับสารภูมิต้านทานโดยเฉพาะ ๆ (antibody titer) ที่สูงขึ้น ประสิทธิศักย์สัมบูรณ์ของวัคซีนที่เชื้อยังเป็นแต่ลดฤทธิ์แล้วสำหรับวิธีการวัดเชื้อทั้งสองอย่างที่ว่านี้อยู่ที่ร้อยละ 8 (95% CI, -194%-67%) และร้อยละ 43 (95% CI, -15%-71%)[3]

สรุป

เมื่อตรวจไวรัสที่ได้จากเลือด วัคซีนที่ฆ่าเชื้อแล้วจัดว่ามีประสิทธิศักย์คือทำให้ผู้ได้วัคซีนติดโรคไข้หวัดใหญ่น้อยในปีหนึ่ง วัคซีนไข้หวัดใหญ่มีประสิทธิภาพลดกรณีไข้หวัดใหญ่โดยเฉพาะเมื่อพยากรณ์สายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ที่จะเป็นได้ถูกต้องและเชื้อกระจายไปอย่างกว้างขวาง แต่ก็มีประสิทธิภาพน้อยกว่าเพื่อลดกรณีเจ็บป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ (influenza-like illness) และมีผลน้อยต่อเวลาการทำงานที่เสียไป และยังไม่มีหลักฐานพอเพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อน

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. Weinburg, G.; Szilagyi, P. (2010). "Vaccine Epidemiology: Efficacy, Effectiveness, and the Translational Research Roadmap". Journal of Infectious Diseases. 201 (11): 1607–1610.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  2. Orenstein, WA; Bernier, RH; Dondero, TJ; Hinman, AR; Marks, JS; Bart, KJ และคณะ (1985). "Field evaluation of vaccine efficacy" (PDF). Bull World Health Organ. 63 (6): 1055–68. PMID 3879673. {{cite journal}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |authors= (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 Crislip, M (2009-10-09). "Flu Vaccine Efficacy".{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)