ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การคว่ำบาตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
FutureLifePlus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัด 2:
'''การคว่ำบาตร''' ({{lang-en|boycott}}) หมายถึง การยุติการติดต่อกันในมิติใดมิติหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในการลงโทษ ต่อรอง หรือเพื่อตักเตือน โดยที่มาของคำว่าคว่ำบาตรในภาษาไทยมาจากศัพท์ใน[[พระไตรปิฎก]][[เถรวาท]] แต่ส่วนใหญ่คำว่าคว่ำบาตรในประเทศไทยนั้นมักถูกใช้แทนความหมายของคำว่า boycott ใน[[ภาษาอังกฤษ]] ที่เป็นความหมายในด้าน[[การค้า]]หรือ[[การเมือง]]
 
การคว่ำบาตร (boycott หรือ บอยคอตบอยคอตต์) ในทางการค้า มักจะใช้ในระดับ[[การค้าระหว่างประเทศ]] โดยกลไกการคว่ำบาตรอาจจะมีทั้ง การไม่ยอมขาย[[สินค้า]]หรือ[[บริการ]]ให้ประเทศคู่ค้า หรือไม่ซื้อสินค้าหรือบริการจากประเทศคู่ค้า หรืออาจจะทั้งสองกรณีก็ได้ การคว่ำบาตรในความหมายทางการค้าจึงถือได้ว่าเป็นอาวุธทาง[[เศรษฐกิจ]]ที่ร้ายกาจอย่างหนึ่ง เพื่อใช้ต่อรองให้คู่กรณีจำยอมในข้อตกลงด้านอื่น ๆ เช่น ด้าน[[การทูต]] [[การเมือง]] [[วัฒนธรรม]] [[การทหาร]] หรือแม้แต่ด้านการค้า เนื่องเพราะทุก[[ประเทศ]]ใน[[โลก]]ต้องค้าขายกัน เพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการที่ตนเองไม่สามารถผลิตเองได้ หรือผลิตได้ไม่พอกับความต้องการในประเทศ
 
== ศัพทมูลวิทยา ==
คว่ำบาตร ที่ใช้ในเชิงเศรษฐกิจ มาจากคำว่า ''Boycott'' ในภาษาอังกฤษ โดยเดิมนั้นเป็นนามสกุลของ กัปตันชาร์ลส์ คันนิ่งแฮม บอยคอตบอยคอตต์ ซึ่งเป็นคนแรกที่ถูกคว่ำบาตร ไม่คบหาสมาคมด้วย สาเหตุของการที่กัปตันบอยคอตบอยคอตต์ เป็นคนแรกในโลกที่ถูกคว่ำบาตร เนื่องมาจากว่าเขาเป็นเจ้าของที่ดินให้เช่ารายใหญ่ในไอร์แลนด์ แต่ว่ากันว่า กัปตันบอยคอตบอยคอตต์ไล่ผู้เช่าที่ดินทำกินออกจากที่อย่างไร้เมตตา ชาวบ้านจึงรวมตัวกันประท้วงไม่ยอมทำงานให้ ไม่ให้ความร่วมมือใด ๆ ทั้งสิ้นและไม่คบหาสมาคมกับครอบครัวนี้ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1880 แล้ว แต่ชื่อของเขาก็ยังถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่องยาวนานจนกลายเป็นศัพท์เฉพาะจนถึงปัจจุบัน
 
== ดูเพิ่ม ==