ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอื้อ สุนทรสนาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 8933972 โดย 2405:9800:BA00:7B35:1432:C577:D72A:CB5Cด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 60:
 
===กรมโฆษณาการ===
ปีต่อมาทางราชการได้ปรับปรุงสำนักงานโฆษณาการ เชิงสะพานเสี้ยว และยกฐานะขึ้นเป็น[[กรมโฆษณาการ]] นายวิลาศ โอสถานนท์ อธิบดี นายวิลาศ เห็นว่า เมื่อมีสถานีวิทยุของรัฐบาลแล้ว ก็ควรจะมีวงดนตรีประจำอยู่ จึงได้นำความคิดไปปรึกษา[[หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์]] คุณหลวงตระหนักถึงฝีไม้ลายมือของเอื้อและคณะอยู่แล้ว จึงได้แนะนำว่า ควรจะยกวงของเอื้อมาอยู่[[กรมโฆษณาการ]] โดยการโอนอัตรามาจาก[[กรมศิลปากร]] อันเป็นที่มาของวงดนตรีกรมโฆษณาการ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น [[วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์]] เอื้อ สุนทรสนาน เป็นหัวหน้าวง เมื่อวันที่ [[20 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2482]] (ในรัชสมัย'''สมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร'''รัชกาลที่ 8)
 
== ครอบครัว ==
บรรทัด 70:
พ.ศ. 2495 ได้เป็นหัวหน้าแผนกบันเทิงต่างประเทศจนกระทั่ง[[เกษียณ]]ในปี [[พ.ศ. 2514]] และทางกรมประชาสัมพันธ์ได้จ้างพิเศษให้ดำเนินตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญการดนตรีต่ออีก 2 ปี จนออกจากงานอย่างถาวรในปี [[พ.ศ. 2516]] ในปีนี้ ยังได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกคนหนึ่งในสมัชชาแห่งชาติ (เมื่อวันที่ [[10 ธันวาคม]] พ.ศ. 2516)
 
ถึงแม้ไม่ได้รับความก้าวหน้าในวงการราชการเท่าที่ควร แต่สิ่งสูงสุดที่บำรุงจิตใจอยู่ตลอดมาคือ พระมหากรุณาธิคุณจาก'''[[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช]] บรมนาถบพิตร'''และ [[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] กล่าวคือ '''วันแห่งความปลาบปลื้มที่สุดวันหนึ่งในชีวิตนักดนตรีคือการได้รับพระราชทานเหรียญรูปเสมาทองคำที่มีพระปรมาภิไธยย่อ [[ภ.ป.ร.]] จากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ในโอกาสครบรอบ 30 ปี วงดนตรีสุนทราภรณ์ ในวันที่ 20 พฤศจิกายน [[พ.ศ. 2512]]'''
 
== ปัจฉิมวัย ==
ตลอดระยะเวลา 42 ปีของการทำงาน ครูเอื้อไม่เคยพักผ่อนเลย ปกติเป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง ทำงานหนักและอดนอนเก่ง จนกระทั่งถึงปลายปี [[พ.ศ. 2521]] เริ่มมีอาการไข้สูงเป็นระยะ ๆ แพทย์ได้เอกซเรย์ตรวจพบก้อนเนื้อร้ายขนาดเท่า[[ลูกเทนนิส]]ที่บริเวณ[[ปอด]]ด้านขวา จึงได้เริ่มรักษา แต่ก็ยังคงทำงานตามปกติ จนถึงปลายปี [[พ.ศ. 2522]] มีอาการทรุดหนัก จึงเข้าไปรักษาที่โรงพยาบาล แล้วก็กลับไปรักษาที่บ้านต่อ
 
ในช่วงปี [[พ.ศ. 2523]] ได้เดินทางพร้อมกับนายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น และคณะกรรมการ[[สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์]] เพื่อเข้าเฝ้า '''[[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร''' ]] ณ [[พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์]] [[จังหวัดสกลนคร]] และได้ขับร้องเพลงถวายเป็นครั้งสุดท้าย คือ ''เพลง[[พรานทะเล (เพลง)|พรานทะเล]]''
 
ตั้งแต่เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา สุขภาพทรุดลงเป็นลำดับ จนเมื่อถึงวันที่ [[1 เมษายน]] [[พ.ศ. 2524]] ถึงแก่กรรม รวมอายุได้ 71 ปี 2 เดือน 11 วัน
 
'''[[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร''' ]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน น้ำหลวงอาบศพ หีบทองทราย ฉัตรเบญจา ปี่ไฉนกลองชนะประโคม และ รับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2525 by Supatpong
 
==เกียรติยศ==