ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พญาโศก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
เรียบเรียงเนื้อหาและการอ้างอิงใหม่
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:The Royal Great Victory Carriage with Princess Galyani's royal urn.jpg|thumb|300px|ในพิธีศพระดับต่างๆ ของประเทศไทยนั้น เพลงพญาโศก ทางบรรเลงแบบสากล จะใช้เป็นเพลงบรรเลงสำหรับการเชิญพระบรมศพ พระศพ ตลอดจนถึงศพของสามัญชนทั่วไป ในการเชิญศพไปยังสถานที่ประชุมเพลิงหรือฝังศพ และยังใช้บรรเลงเมื่อเวลาประชุมเพลิงหรือวางดินฝังศพอีกด้วย (ในภาพ เป็นการเคลื่อนริ้วกระบวนพระราชอิสริยยศ อัญเชิญพระโกศพระศพ [[สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์]] เมื่อ พ.ศ. 2551)]]
'''พญาโศก''' เป็นชื่อเพลงไทยเพลงหนึ่งที่ใช้ในการร้องหรือบรรเลงประกอบอารมณ์โศกเศร้า และเป็นเพลงที่นิยมใช้บรรเลงในพิธีศพของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของศพเกียรติยศชั้นต่างๆ
 
== ประวัติ ==
 
เพลงพญาโศก เป็น[[เพลงไทยเดิม]]ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยรวมอยู่ในเพลงเรื่องพญาโศก (ประกอบด้วยเพลงพญาฝัน, พญาโศก, ท้ายพญาโศก, พญาตรึก, พญารำพึง และพญาครวญ) ใช้ในการร้องหรือบรรเลงประกอบอารมณ์โศกเศร้า เพลงนี้มีทั้งเพลงอัตราจังหวะ 2 ชั้น และอัตราจังหวะ 3 ชั้น โดยเพลงพญาโศก 2 ชั้น นิยมบรรเลงเฉพาะเพลงพญาโศกเพียงเพลงเดียว แต่บางครั้งจะบรรเลงเป็นเพลงเรื่องทั้งชุด ส่วนเพลงพญาโศก 3 ชั้น นิยมบรรเลงแบบ "เดี่ยว" คือบรรเลงคนเดียวด้วยเครื่องดนตรีแต่ละชนิดตามแต่ถนัด เพื่ออวดฝีมือและทักษะการบรรเลงของนักดนตรีโดยเฉพาะ ซึ่ง[[พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร)]] หรือครูมีแขก นักดนตรีไทยในสมัย[[รัชกาลที่ 3]] แห่ง[[กรุงรัตนโกสินทร์]] ได้ริเริ่มประดิษฐ์เพลงพญาโศกทางบรรเลงเดี่ยวเป็นคนแรก
 
สำหรับการใช้เพลงพญาโศกร้องประกอบการแสดงโขนละคร จะใช้เพลงพญาโศก 2 ชั้น และต้องร้องในบทที่ตัวละครโศกเศร้าอยู่กับที่ เช่น ยืน นั่ง นอน เท่านั้น จะใช้ในบทที่เดินเคลื่อนที่ไปไม่ได้ นอกจากนี้ บทที่ร้องด้วยเพลงพญาโศกจะต้องเลือกฐานะของตัวละคร  โดยมากจะต้องใช้กับตัวละครที่เป็นกษัตริย์ เจ้านาย หรือผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นสูง
 
== เพลงพญาโศกทางดุริยางค์สากล ==
[[ไฟล์:Prince_Paribatra_Sukhumbhand.jpg|thumb|[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต]] ผู้ทรงเรียบเรียงทำนองเพลงพญาโศก 2 ชั้น ให้เป็นทางบรรเลงแบบดุริยางค์สากล]]
ในปี พ.ศ. 2462 [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต]] ดำริว่า สมัยนั้นประเทศไทยยังใช้เพลง[[สโลว์มาร์ช]]ของต่างชาติในการเคลื่อนพระบรมศพหรือพระศพพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง จึงทรงนำเพลงพญาโศก 2 ชั้น มาเรียบเรียงใหม่ตามแนวดุริยางค์สากล สำหรับให้วงโยธวาทิตใช้บรรเลงนำขบวน
 
[[พระบาทสมเด็จพระมงกฎมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 6 เมื่อได้ทรงฟังเพลงพญาโศกทางดุริยางค์สากลแล้ว ทรงโปรดเพลงนี้มาก และมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าเป็นเพลงที่มีลีลาสง่า ยิ่งใหญ่ อารมณ์เศร้า และที่สำคัญมีความหนักแน่นในตัวเอง จึงเหมาะสมแก่การอวมงคลเป็นอย่างยิ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เพลงนี้เป็นเพลงบรรเลงนำริ้วกระบวนเชิญพระบรมศพ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ [[สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] เป็นงานแรก นอกจากนี้ยังทรงพระรุณากรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศให้เพลงพญาโศกเป็น "เพลงโศกประจำชาติ" ให้ใช้ในงานศพได้ได้ตั้งแต่การพระราชพิธีพระบรมศพ พระศพเจ้านาย ลงไปจนถึงงานศพของสามัญชน
 
== อ้างอิง ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/พญาโศก"