ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชวลิต ประกอบสุข (คุย | ส่วนร่วม)
ชวลิต ประกอบสุข (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 52:
 
== ทูลเกล้าถวายช้างเผือก ==
พ.ศ. 2390 ในขณะที่พระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต) ได้ปกครองเมืองยศสุนทรอยู่นั้นก็ได้แต่งหมอช้างควาญช้างชาวจากบ้านเมืองไพร แขวงเมืองยศสุนทร ไปแทรกโพนช้างทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงได้ช้างพังเผือกโทช้างสีประหลาดมา 12 เชือกครา จากภูกะยอดงชะมาดชบาภายในระยะเวลา 2 ปีติดต่อกัน และได้นำฝึกหัดช้างนี้สีประหลาดจนชำนาญ จึงนำลงไปทูลเกล้าฯ ถวายที่กรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขึ้นระวางพระราชทานนามช้างว่า '''พระพิมลรัตนกิริณี''' และต่อได้แทรกโพนช้างได้ช้างพังเผือกโทอีก 1 เชือก จากภูถ้ำพระ แขวงเมืองอัตตะปือ (ปาระแค) พระราชทานนามช้างว่า '''พระวิสูตรรัตนกิริณี''' ดังปรากฎในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ความว่า
 
* พระวิมลรัตนกิริณี ได้ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลักษณะเป็นช้างพังลูกเถื่อนเผือกโท คล้องได้ที่เขากะยอดงชมาดชบา แขวงระแด พระสุนทรราชวงศา เจ้าเมืองยโสธร นำขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวาย โปรดเกล้าฯ ให้สมโภชขึ้นระวาง เมื่อวันพุธ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 9 ปีฉลู จุลศักราช 1215 ตรงกับวันที่ 10 สิงหาคม พุทธศักราช 2396 พระราชทานนามว่า '''พระวิมลรัตนกิริณี สุทธศรีสรรพางค์พิเศษ ทุติยเศวตวรรโณภาษ ​พงศ์กมลาศน์รังสฤษดิ ราชบุญฤทธิ์สมาหาร โสภาจารจุฬาหล้า มหาอุดมมงคล พรรษผลพิบูลย์ประสิทธิ์ ศุภสนิทพาหนนารถ ลักษณะวิลาศเลิศฟ้า'''