ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สาธารณรัฐ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ระบอบการปกครอง}}
'''สาธารณรัฐ''' หรือบ้างเรียก '''มหาชนรัฐ''' ({{lang-en|Republicrepublic}}) เป็นระบอบการปกครองที่ประเทศถูกพิจารณาว่าเป็น "กิจสาธารณะ" ({{lang-la|res publica}}) มิใช่ธุระหรือทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ปกครอง และที่ตำแหน่งหน้าที่ของรัฐได้รับเลือกตั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือได้รับแต่งตั้ง มิใช่ได้รับทอด ในสมัยใหม่ นิยามทั่วไปที่เข้าใจง่ายของสาธารณรัฐ คือ ระบอบการปกครองที่[[ประมุขแห่งรัฐ]]อันมิใช่[[พระมหากษัตริย์]]<ref name="WordNet">{{citation |title=republic |journal=WordNet 3.0 |publisher=Dictionary.com |accessdate=20 March 2009 |url=http://dictionary.reference.com/browse/republic}}</ref><ref name="M-W">{{cite encyclopedia|title=Republic|encyclopedia=Merriam-Webster|url=http://www.merriam-webster.com/dictionary/republic|accessdate=August 14, 2010}}</ref> ปัจจุบัน รัฐเอกราช 135 จาก 206 รัฐใช้คำว่า "สาธารณรัฐ" เป็นส่วนหนึ่งชื่ออย่างเป็นทางการ
 
ทั้งสาธารณรัฐสมัยใหม่และสมัยโบราณแตกต่างกันอย่างมากทั้งในอุดมการณ์และองค์ประกอบ ในสมัยคลาสสิกและสมัยกลาง ต้นแบบของทุกสาธารณรัฐ คือ [[สาธารณรัฐโรมัน]] ซึ่งหมายถึงกรุงโรมยุคสาธารณรัฐ ในระหว่างสมัยที่ไม่มีกษัตริย์กับจักรพรรดิปกครองอยู่ช่วงหนึ่ง แต่หากปกครองโดยบุคคลที่มาจากการเลือกจากคณะผู้เลือกตั้ง ในประเพณีการเมืองสมัยกลางและ[[สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา]]อิตาลีปัจจุบันที่เรียกว่า "มนุษยนิยมพลเมือง" (civic humanism) นั้น บางครั้งถูกมองว่าได้รับมาจากนักสาธารณรัฐนิยมโรมันโดยตรง อย่างไรก็ดี นักประพันธ์โรมันที่ได้รับอิทธิพลจากกรีก อย่าง[[พอลิเบียส]]และ[[คิเคโร]] บางครั้งใช้คำดังกล่าวเป็นคำแปลของคำภาษากรีกว่า politeia ซึ่งอาจหมายถึงระบอบโดยทั่วไป แต่ยังสามารถใช้กับระบอบบางประเภทโดยเจาะจงซึ่งมิได้สอดคล้องพอดีกับสาธารณรัฐโรมัน สาธารณรัฐมิได้เทียบเท่ากับประชาธิปไตยในยุคคลาสสิก อย่างเช่น เอเธนส์ ซึ่งก็มีความเป็นประชาธิปไตยแตกต่างไปจากยุคศตวรรษที่ 19 อีอีกเช่นกัน
 
ในสาธารณรัฐสมัยใหม่ เช่น [[สหรัฐ]] [[ฝรั่งเศส]] [[รัสเซีย]] และ[[อินเดีย]] ฝ่ายบริหารมีความชอบธรรมจากทั้งโดย[[รัฐธรรมนูญ]]และการออกเสียงเลือกตั้งของประชาชน เป็นอิทธิพลจาก [[มงแต็สกีเยอ]] ซึ่งรวมประชาธิปไตยมาจากระบบทั้งสองแบบ ที่ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการปกครอง ส่วนการปกครองแบบ[[อภิชนาธิปไตย]]หรือ[[คณาธิปไตย]] ซึ่งมีคนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ปกครอง เป็นระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ<ref>Montesquieu, ''Spirit of the Laws'', Bk. II, ch. 2–3.</ref>